เอชเอสบีซี โกลบอล ไพรเวทแบงก์กิ้ง ("HSBC GPB") มองตราสารหนี้และหุ้นคุณภาพเป็นโอกาสการลงทุนครึ่งปีหลังปี 2567 จาก 3 ปัจจัยบวก "เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้น - ผลกำไรของภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น - การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง"
พร้อมคาดการณ์จีดีพีโลกและสหรัฐฯ ปีนี้ ยังเติบโตมั่นคงที่ร้อยละ 2.6 และ 2.4 ในขณะที่จีดีพีเอเชียโตร้อยละ 4.7 ระบุแม้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงร้อยละ 1.5 ในไตรมาส 1 ของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่การใช้จ่ายในประเทศยังแข็งแกร่ง เชื่อมาตรการทางการคลังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แม้จะยังมีความไม่แน่นอนด้านงบประมาณและกรอบระยะเวลาของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนการกลับมาของนักท่องเที่ยวเป็นอีกปัจจัยหนุนเศรษฐกิจโต
ทั้งนี้ HSBC GPB วางแผนการลงทุนด้วยกลยุทธ์ควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม และเลือกกระจายการลงทุนทั้งหมดในสินทรัพย์ลงทุนแทนการถือครองเงินสดในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเน้นกองทุนหุ้นโลก (Global Equities) พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (US Treasuries) และตราสารหนี้ระดับน่าลงทุน (Investment grade bonds) ที่มีเครดิตดีทั่วโลก ทั้งนี้ ธนาคารให้น้ำหนักในการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ สุดสุดสำหรับการลงทุนในกลุ่มหุ้นจากทั่วโลก แต่ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการลงทุนในกลุ่มหุ้นเอเชียด้วย โดยธนาคารฯ ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากเชื่อว่าจะยังมีแข็งแกร่งเนื่องจากปัจจัยสนับสนุน อาทิ มีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงสูง (real yield) มีความแตกต่างของทิศทางค่าเงินจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลาง และมีความต้องการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อลดความเสี่ยงท่ามกลางความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์
นางฟาน ชุค วาน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนประจำภูมิภาคเอเชีย เอชเอสบีซี โกลบอล ไพรเวทแบงก์กิ้งแอนด์เวลธ์ เผย "ธนาคารฯ มีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ และยังคงเน้นการลงทุนด้วยการลดสัดส่วนเงินสดไปเพิ่มการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ทั่วโลกเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเราเชื่อว่าปัจจุบันได้ผ่านจุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้และจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจโลกมาแล้ว ซึ่งหมายความว่าผลการดำเนินงานของพอร์ตการลงทุนต่อไปจะขับเคลื่อนด้วยสองปัจจัยหลัก ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่สูงดึงดูดนักลงทุนและการเติบโตของกำไรที่เพิ่มขึ้นในภาคธุรกิจ"
"ทั้งนี้ โอกาสเติบโตของกำไรของภาคธุรกิจได้รับแรงหนุนจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้นและแรงกดดันด้านต้นทุนที่เริ่มคลี่คลาย โดยอุปสงค์ภายในประเทศของสหรัฐฯ ยังมีความแข็งแกร่ง ในขณะที่เศรษฐกิจในยุโรป และสหราชอาณาจักรก็เริ่มฟื้นตัว ซึ่งเราคาดการณ์ว่าในปีนี้การเติบโตของจีดีพีโลกและสหรัฐฯ จะยังคงเติบโตได้อย่างมั่นคงที่ร้อยละ 2.6 และ 2.4 ตามลำดับ นอกจากนั้น มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ล่าสุดของจีนจะช่วยให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ในปีนี้ ส่วนเศรษฐกิจอินเดียจะยังคงเติบโตสูงกว่าคาดการณ์ในหลายด้าน ซึ่งสอดคล้องกับที่เราเคยประเมินเอาไว้ว่า เศรษฐกิจอินเดียจะเติบโตที่ร้อยละ 7.3 ด้านตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวได้ภายใต้แรงผลักดันจากหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ซึ่งขณะนี้เรากำลังขยายภาพการลงทุนไปยังภูมิภาคและอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้นในพอร์ตการลงทุนหุ้นทั่วโลกของเรา เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนและค้นหาหุ้นที่น่าสนใจในราคาที่สมเหตุสมผล" นางฟาน กล่าวเสริม
4 กลยุทธ์การลงทุนสำหรับครึ่งหลังของปี 2567
นางฟานไฮไลท์ 4 กลยุทธ์การลงทุนครึ่งปีหลัง ได้แก่
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย
นายเจมส์ เชียว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย เอชเอสบีซี โกลบอล ไพรเวทแบงก์กิ้งแอนด์เวลธ์ เผย เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงร้อยละ 1.5 ในไตรมาส 1 ของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 แต่อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในประเทศยังคงแข็งแกร่ง และการลงทุนในประเทศไทยก็ยังทรงตัว สำหรับช่วงครึ่งหลังของปี มาตรการทางการคลังอาจจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แม้จะยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับงบประมาณและกรอบระยะเวลาของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐก็ตาม ส่วนการกลับมาของนักท่องเที่ยวเป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงไฮซีซั่นในระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2567 และพฤศจิกายน - ธันวาคม 2567
"แม้ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นในช่วงหลังของปี 2567 แต่เรายังคงรักษาจุดยืนต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยว่าต้องใช้ความระมัดระวังโดยพิจารณาจากการประเมินศักยภาพในการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมหภาค ในขณะที่มองว่ามีโอกาสที่น่าสนใจมากกว่าในตลาดหุ้นอื่นๆ ของเอเชีย นอกจากนั้นเรายังมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน โดยคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.5 ต่อไป " นายเจมส์ กล่าว
4 ธีมการลงทุน เพื่อคว้าโอกาสทองสร้างการเติบโตและรายได้ในเอเชีย