นายพัฒนเดช ศรีอนันต์ ชื่อเล่น "แพท" ฉายาในทีม โก๋แพท ชั้นปี 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) บุคลิกเป็นคนร่าเริง ยิ้มแย้ม มั่นใจ มีความเป็นผู้นำสูง กล้าพูดกล้าแสดงออก และเข้ากับคนได้ง่าย หากเป็นเรื่องานค่อนข้างมีความซีเรียส จริงจัง และอดทนจนงานสำเร็จ ความสามารถโดดเด่น สมกับเป็นหัวหน้าทีมหุ่นยนต์ iRAP_Let's go ล่าสุด คว้ารางวัลชนะเลิศ ได้ครองถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และคว้ารางวัลหุ่นยนต์อัตโนมัติยอดเยี่ยม จากการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ครั้งที่ 31 ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2567
หนุ่ม "แพท" เผยว่า "ชอบด้านหุ่นยนต์ และนักแข่งหุ่นยนต์ตอนผมเรียน ปวช. จึงมีประสบการณ์ทำกลไกของหุ่นยนต์ เมื่อจบการศึกษาสมัครเรียนที่วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มจพ. เพราะให้ความสนใจด้านนี้เป็นพิเศษ" และเมื่อมีโอกาสเข้าอยู่ชมรมหุ่นยนต์ จึงเรียนรู้ทุกอย่างจากรุ่นพี่ คอยถาม คอยดู คอยเรียนรู้อยู่เสมอก็ใช้เวลาเป็นปีนะครับ จึงรู้สึก "ว้าว" มันใช่เลย เพราะได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จนขึ้นปี 2 ผมได้เขียนหุ่นยนต์ของผมเองตัวแรกจาก Solidwork และเป็นรายการแรกที่ผมได้แชมป์ เพราะทุกคนในทีมทุกคนที่ร่วมกันพัฒนา ตั้งแต่นั้นลง แข่งในรายการต่าง ๆ และได้รับรางวัลมาจนถึงปัจจุบัน อาทิเช่น 1) ผลงานการแข่ง CRU Robot รางวัลชนะเลิศ 2) ผลงานการแข่งขัน Jinpao Automation Contest 2023 รางวัลชนะเลิศ 3)ผลงานการแข่งขัน Arduino Education Day Thailand 2023, Arduino Tiny ML ซึ่งมีโจทย์การแข่งขันให้พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อตรวจจับสถานะการทำงานของ มอเตอร์อุตสาหกรรมจากเซนเซอร์วัดความเร่งและไมโครคอนโทรเลอร์ (edge device) เช่นการสั่นทะเทือน หรือการขัดข้องของอุปกรณ์ เป็นต้น
ความประทับในรายการที่แข่งขัน ลีกการแข่งขัน TPA Robot เพราะทำให้ผม และทุกคนในทีมเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งด้านการทำงานเป็นทีมร่วมกัน ประสานแต่ละฝ่ายของตนเอง เช่น ฝ่ายสนามแข่ง ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม ตำแหน่งในทีม ฝ่ายแมคคาทรอนิกส์และระบบกลไก รวมพลังร่วมทำงานไปด้วยกัน นอกจากนั้นยังต้องช่วยเหลืองานของฝ่ายอื่น ๆ เช่น ฝ่ายไฟฟ้าทำให้เราค้นพบว่า เป๊นอีกหนึ่งงานที่ชื่นชอบ ได้พัฒนา skill ในด้านที่เราสนใจ อีกทั้งต้องเจอเหตุการณ์อุปสรรคที่ไม่คาดคิด ทำให้เราต้องแก้ปัญหาเหตุการณ์นั้น ๆ จากประสบการณ์หลายสนามทำให้เราทุกคนเติบโตและมีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญที่สุด คือ คิดแค่ได้ทำในสิ่งที่เราอยากทำเพียงเท่านั้น
ส่วนเทคนิคการออกแบบและกติกา จะทำความเข้าใจโดยศึกษากติกาก่อน แล้วค่อยวางแผนหาไอเดียที่เหมาะสมตามโจทย์ที่ได้รับ ซึ่งต้องคุยในทีม ปรึกษากันในแต่ละฝ่าย เช่น แมคคาทรอนิกส์ ทำกลไกแบบนี้มาจะมีปัญหาด้านไฟฟ้าหรือโปรแกรมไหม!! สำคัญสุดคือทำความเข้าใจเพื่อปฎิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน การแข่งขันหุ่นยนต์ ผมมองว่าเหตุการณ์ในการแข่งขันหุ่นยนต์เป็นประสบการณ์ตรงที่ทำให้โตขึ้น ต้องดูแลรุ่นน้องในทีมรวมถึงทุกคนคนในทีม ในบางครั้งมีความยากลำบากที่เรียนรู้ที่จะอดทนในบางสถานการณ์ และคอยสนับสนุนคนในทีม ใช้เหตุผล มีวิธีการ ให้คำปรึกษาคนในทีม ดูแลบริหารเวลาและควบคุมคนในทีมในเวลาที่ทีมไม่รู้จะไปเส้นทางใด เราต้องเป็นคนชี้แนะทางและนำทีมสู่ชัยชนะ
สุดท้ายฝากถึงให้ถึงเพื่อน ๆ ประสบการณ์การทำงานด้านหุ่นยนต์ มองว่า "มีบางคนเขาก็ยากลำบาก เดินทางไกล เราก็ได้เห็นถึงความพยายามที่อยากจะทำหุ่นยนต์ ก็ต้องเสียสละทั้งเวลาและความพยายาม เพื่ออยากทำในสิ่งที่รัก" โดยที่ว่าไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ใหน หรือไกลก็ตาม เพราะการที่เรามาอยู่ในทีม มีหน้าที่ดูแลหุ่นยนต์และสร้างบุคลากรจนประสบความสำเร็จคว้าแชมป์ในเวทีต่าง ๆ ทำได้ข้อคิดว่า "ถ้าคุณอยากชนะ คุณอยากเก่งขึ้น คุณก็แค่พยายามมากกว่าคนอื่น" เสียสละมากกว่าคนอื่น ทั้งเวลาส่วนตัว ทั้งสิ่งที่เราชอบหรือไม่ชอบเราก็ต้องทำ เราต้องทำตัวเป็นน้ำไม่เติมแก้วอยู่เสมอ มองหาโอกาสอยู่เสมอ และที่สำคัญคือ บุคคลตัวอย่างคนที่เก่งชำนาญ ต้องเรียนรู้จากเขา ศึกษาและเรียนรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ข้อคิดที่สำคัญที่เราได้คือ "ไม่มีอะไรที่เราได้มาง่ายๆ ถ้าเราไม่ทุ่มเทไม่พยายามมากพอ คุณก็ไม่คู่ควรที่จะได้รับชัยชนะ" นายนายพัฒน กล่าวท้ายที่สุด