ย้อนกลับไปเมื่อปี 2022 นวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยจับคู่ผู้ขอสินเชื่อและนักลงทุนผ่านแพลตฟอร์มทางการเงิน "P2P Lending" หรือ Peer-to-Peer Lending เจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทยที่เปิดตัวในประเทศไทยคือ "StockLend by NestiFly" ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง และอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เชื่อมต่อการขอสินเชื่อระหว่างบุคคล กับบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมี "แพลตฟอร์ม" เป็นตัวกลางทำหน้าที่จับคู่ระหว่างผู้ขอสินเชื่อและนักลงทุนที่มีความต้องการตรงกันถือเป็นการให้บริการสินเชื่อระยะสั้น ที่ใช้หุ้นที่คัดเลือกแล้ว เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
นายรัฐพล ลิมธงชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนสท์ติฟลาย จำกัด หรือ NestiFly เผยว่า "ในสภาวะตลาดทุนของไทยปัจจุบันค่อนข้างมีหลากหลายปัจจัยที่เข้ามาทำให้ราคาของหุ้นที่แม้กระทั่งหุ้นที่ถูกจัดอยู่อันดับ SET100 เกิดการผันผวนของราคาจนยากที่จะรับมือได้ ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้กู้และผู้ให้กู้ หรือลูกค้าของแพลตฟอร์ม ซึ่งทางบริษัทเองมิได้นิ่งนอนใจและได้เริ่มบังคับใช้ข้อบังคับตามสัญญาการกู้ยืมของคู่สัญญาแต่ละรายแล้วโดยปฏิบัติตามมาตรการและเกณฑ์การป้องกันความเสี่ยงภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังให้นักลงทุนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จากเกณฑ์การทดสอบใน Sandbox ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบความผันผวน (Volatility Test) ของราคาหุ้น โดยใช้ราคาปิดของหุ้นแต่ละตัว 5 ปีย้อนหลัง มาจำลองการปล่อยสินเชื่อ เพื่อตรวจสอบโอกาสที่ LTV จะสูงกว่าหรือเท่ากับ 75% หากแต่วิกฤตของหลายราคาหุ้นดังที่เป็นกระแสข่าวที่ผ่านมากลับมีค่า LTV ที่ผกผันกว่าการทดสอบที่เคยมีมา ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูล เป็นผลมาจากราคาที่ปรับลดอย่างรุนแรงประกอบกับการ call margin จากโบรคเกอร์ตามมาตรการความปลอดภัยทางการเงินของแต่ละแห่ง เป็นที่มาให้ผู้กู้ประสบปัญหาด้านหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งทาง NestiFly เองในฐานะผู้ดูแลแพลตฟอร์มได้เริ่มดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางด้านเอกสารการดำเนินการทางกฎหมายแก่ผู้ให้กู้ที่มีความประสงค์ร้องเรียนแล้ว เรายึดมั่นว่าทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้คือลูกค้าคนสำคัญของเรา ไม่ว่าท่านใดที่ได้รับผลกระทบจากสินทรัพย์ที่ราคาผันเปลี่ยน ทางบริษัทฯ จักต้องดำเนินการอย่างเต็มที่ในการดูแลประสานความเรียบร้อย"
NestiFly เป็นบริการที่ถูกต้องตามกฎหมายและดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกันความเสี่ยงในการบังคับขายหลักประกันอีก 2 ระดับ ดังนี้
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสัญญาเงินกู้ยืมระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยมีหลายหุ้นดังเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และเกิดการบังคับขายหลักประกันเกิดขึ้น เมื่อเทียบกับรายงานหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันการชำระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของหุ้น ทางบริษัทได้รับจำนำหุ้นเพียงสัดส่วนที่ไม่เกิน 1.5% ตามที่บริษัทกำหนด การบังคับขายหลักประกันของบริษัทจึงไม่เป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงด้านราคาของหุ้นแต่ละตัวแต่อย่างใด