กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะ 5 ขั้นตอน คอนโดและอาคารพาณิชย์หมั่นตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา หลังพบผู้พักอาศัยในอาคารชุด เกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบจำนวนหลายราย เร่งส่งทีมและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำแล้ว
แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากกรณีมีผู้พักอาศัยภายในอาคารชุดแห่งหนึ่งย่านเขตจตุจักร เกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบจำนวนหลายราย จากการใช้น้ำภายในอาคาร เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งที่ต้องใช้โดยตรงกับร่างกาย หากมีการจัดการน้ำที่ไม่ถูกวิธีหรือมีสารหรือการปนเปื้อน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะคอนโด หอพัก อพาร์ทเม้นท์ อาคารสำนักงาน ที่จะมีการเก็บน้ำประปาไว้บนอาคารสูง โดยมากจะมีบ่อสำรองน้ำใต้ดินก่อนเพื่อเก็บน้ำประปาก่อนที่จะสูบน้ำขึ้นไปพักไว้ในถังพักชั้นบน แล้วจ่ายให้แก่ผู้พักอาศัยตามห้องต่างๆ กรมอนามัย จึงแนะนำให้นิติบุคคลหรือผู้ดูแลอาคารดูแลรักษาระบบเก็บน้ำหรือถังพักน้ำ ในอาคาร เพื่อให้คุณภาพน้ำสะอาดอยู่เสมอ ดังนี้
แพทย์หญิงอัจฉรา กล่าวในตอนท้ายว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองลงพื้นที่ ร่วมกับสำนักอนามัย สำนักงานเขตจตุจักร ศูนย์บริการสาธารณสุข 51 จตุจักร กรุงเทพมหานคร และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เก็บตัวอย่างน้ำอุปโภค จำนวน 7 ตัวอย่าง พบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ ระหว่าง 0.2-0.5 ppm 6 ตัวอย่าง และไม่พบคลอรีนอิสระในน้ำ 1 ตัวอย่าง และได้ให้คำแนะนำนิติบุคคลอาคารชุดให้ดำเนินการตรวจสอบรอยรั่วของระบบน้ำ ล้างถังพักน้ำ ท่อน้ำ และสระว่ายน้ำด้วยวิธี Chlorine shock การสื่อสารสร้างการรับรู้กับผู้อาศัย และการติดตามการตรวจทางห้องปฏิบัติการหลังดำเนินการตามมาตรการ ซึ่งทางสำนักงานเขตจตุจักรจะเร่งดำเนินการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) เพื่อกำกับติดตามให้นิติบุคคลอาคารชุดดำเนินการตามมาตรการต่อไป สำหรับเชื้อปรสิตสามารถที่พบในแหล่งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำทะเล และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่การได้รับเชื้อจะได้รับโดยบังเอิญ และหากมีการติดเชื้อในระบบหายใจ จะทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อทางบาดแผลทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ส่วนการติดเชื้อที่กระจกตาซึ่งมักพบในผู้ใส่คอนแทคเลนส์ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ตาแดง ปวดตา ถ้าเชื้อลุกลามอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ แต่หากเชื้ออะแคนทามีบาเข้าสู่ระบบเลือดอาจก่อเกิดโรคสมองอักเสบ
และอาจเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ยังมี ไมโครสปอริเดีย หรือปรสิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเช่นเดียวกับอะแคนทามีบา ผู้ติดเชื้อจะเกิดอาการท้องเสียเป็นน้ำ และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วง ดังนั้น หากมีอาการผิดปกติหลังจากสัมผัสน้ำหรือการใช้น้ำ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที