SR.THREE โรงเรียนศิริราษฎร์สามัคคี อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีท่าน ผอ.ดร.ชาครีย์ คะนอง, รองผอ. นายฮาลีลี่ อิบราฮิม เป็นผู้ผลักดันและสนับสนุน และมีครูผู้ควบคุมทีมคือ คุณครูมัสสนา กาซอ สำหรับนักเรียนที่ร่วมทีมคือ 1. นายมูฮัมหมัดอิกรอม บราเห็ง และ 2. นายอาดีรัน สาอุ โชว์เทคนิคเก็บคะแนนผ่านด่านคว้ารางวัลชนะเลิศสนามนี้มาครองได้สำเร็จ
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เผยว่า "ขอชื่นชมผู้เข้าร่วมแข่งขันสนามนี้ทุกท่าน โดยเฉพาะทีมที่ได้รับรางวัล ทุกทีมมีการพัฒนาต่อยอดทั้งการเขียนโปรแกรม เทคนิคการบังคับโดรน และที่สำคัญกำลังใจและแรงสนับสนุนจากท่านผู้บริหารโรงเรียน ผมเชื่อว่าในสนามต่อไปเราจะได้เห็นพัฒนาการของเด็กไทย ที่ก้าวไกลขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้ายังได้รับการสนับสนุนและเล็งเห็นความสำคัญแบบนี้ ส่วนทางสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับเอง ก็จะเดินหน้าทั้งการจัดการแข่งขัน การส่งผลงานเข้าร่วมประกวดยังเวทีนานาชาติ และการใช้โดรนแปรอักษรติดพลุไฟ ฝีมือเยาวชนไทย ไปโชว์ตามจังหวัดต่าง ๆ ครับ ถือว่าเป็นสิ่งดีดีที่ไม่ต้องมีเงินจ้างเราก็ตั้งใจทำได้ครับ เพื่อในหลวงของเรา และแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนที่พบเห็น จะได้เป็นนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป"
นายวิริยะ ตันนุกูลกิจ ผู้ประกาศ ผู้สื่อข่าวกีฬา สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS กล่าวถึงการบรรยายสนามนี้ว่า "จบไปแล้วกับ "หนูน้อยจ้าวเวหา ไทยพีบีเอส โดรนยุทธวิธี" แชมป์ตกเป็นของ ทีมศิริราษฎร์สามัคคี ปัตตานี ที่เดินทางกว่า 1,600 กม. มาอุบลราชธานี เพื่อเอาแชมป์กลับใต้ ไม่น่าเชื่อว่า "เรา"อยู่กับโครงการแข่งขัน รายการนี้มา 15 ปีแล้ว กับ กีฬาทางเลือก ถ้วยรางวัล ใบประกาศ ของรายการนี้คือโอกาส ทางการศึกษาของเด็กๆ ที่ใช้ต่อยอดการศึกษาในระดับ มหาวิทยาลัย อย่างแท้จริง ช่วงหาข้อมูลก่อนไป พากย์ จะเป็นช่วงที่มีความสุข กับข้อมูลที่ ว้าว .. หลายทีมก็แข่งกับเรามาตั้งแต่ปี 2552 .. หลายทีมเดินทางมาแบบตัวแทนหมู่บ้าน ใครมีอะไรก็มาช่วยกันคนละไม้คนละมือ บางทีมจะไปกู้เงินเพื่อซื้อโดรน ฯลฯ ทำให้เรารับรู้ว่าครูดีๆในไทยยังมีอีกมากมาย เพราะอยากให้โอกาสเด็ก ได้เปิดโลกกว้าง ยอมรับเด็กยุคใหม่ที่มาแข่งขัน มีอะไรที่เรา "ว้าว" มากๆเหมือนกัน มีทั้งอยากเติบโต ไปเป็นวิศวะ ฯ อยากเป็นทนาย อยากเป็นหมอ อยากเป็นศิลปิน ? เพราะโดรนให้กระบวนการคิด การแก้ปัญหา การวางแผน การทำงานเป็นทีม การหาเทคนิคบ้านๆ555 (เข็ม ผ้ายันต์ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ มาสคอต เงินอัดฉีด) สุดท้ายต้องขอขอบคุณทุกฝ่าย ทั้งทีมเทคนิค ทีมถ่ายทอดสด ทีมรายการ ทีมข่าว ฯลฯ ของไทยพีบีเอส..ตลอด 15 ปีที่ทำกันมา มีทุกรสชาติ และ อยากให้ร่วมเห็นความสำเร็จของ หนูน้อยจ้าวเวหาไปด้วยกันครับ.. ขอบคุณจากใจ แล้วเจอกันใหม่สนามหน้า"
ด้าน ครูอิมรอน มามะ ร.ร.บ้านมูโนะ สุไหงโก-ลก นราธิวาส กล่าวชื่นชมทีมงานจากแดนใต้ครั้งนี้ว่า "โครงการหนูน้อยจ้าวเวหา Thai PBS Drone mission ภารกิจของเหล่าโปรแกรมเมอร์รุ่นเล็กกับ drone หนึ่งลำ พิชิต mission สุดท้าทาย ของโรงเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของเรา ได้รวมกลุ่มกัน และเดินไปด้วยกันตลอด มาสนามที่อุบลฯ นี้ถือว่าไกลมาก และเป็นการลำบาก ที่พานักเรียนเดินทางไปร่วมได้ครบ ดังนั้นเราจึงร่วมกันส่งแรงใจไปเชียร์และให้กำลังใจด้วยกันเสทม จะสังเกตุว่า เวลาแข่งขันทีมจากภาคใต้ของเราจะไม่ถือว่าทีมอื่น ๆ เป็นคู่แข่ง แต่จะร่วมให้กำลังใจและเชียร์พวกเขาอยู่เสมอ จึงขอแสดงความยินดีกับทีม SR.THREE โรงเรียนศิริราษฎร์สามัคคี อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ครั้งนั้ด้วยครับ และสนามหน้า การแข่งขันโดรน ประเภทยุทธวิธี ที่ ร.ร.มหาวชิราวุธ จ.สงขลา วันที่ 24-25 สิงหาคม 2567 ถ่ายทอดสดทางช่อง ไทย พีบีเอส