งาน CNH Thailand Media Day ครั้งแรกของซีเอ็นเอช ประเทศไทยที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำความคิดในภาคการเกษตร พูดคุยเกี่ยวกับอนาคตประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางเกษตรกรรม
ซีเอ็นเอช บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านอุปกรณ์และบริการทางการเกษตรและก่อสร้าง ประกาศเปิดตัวนวัตกรรมและโครงการด้านการศึกษาหลายโครงการ เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตรและความยั่งยืนของภาคการเกษตรในประเทศไทย ในงาน CNH Thailand Media Day ซึ่งถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ซีเอ็นเอช ให้การสนับสนุนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นครสวรรค์ ในการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกและสิ่งอำนวยความสะดวกขนาด 45 เฮกตาร์ (280 ไร่) ให้เป็นฟาร์มต้นแบบ เพื่อยกระดับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ การวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีในชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ ซีเอ็นเอช ยังสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาที่เน้นหัวข้อเรื่องเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่และ เทคโนโลยีการเกษตรแบบแม่นยำ
คุณมาร์ค บรินน์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น บริษัท ซีเอ็นเอช กล่าวว่า "จุดมุ่งหมายของเราคือการ 'บุกเบิก' ผ่านนวัตกรรม ความยั่งยืน และการสร้างผลผลิต ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของทุกสิ่งที่เราทำ เรามุ่งมั่นสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีอัจฉริยะในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เพื่อยกระดับงานอัน ทรงคุณค่าของเกษตรกร"
คุณมาร์ค บรินน์ ร่วมกับคุณชุน วอยเทร่า ประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกันในหลายภาคส่วนและการร่วมกันสร้างเพื่อบูรณาการ และนำโซลูชั่นการเกษตรแบบแม่นยำ เครื่องจักรกลสมัยใหม่ และการฝึกอบรมทักษะภาคปฏิบัติไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของไทยในการเป็นศูนย์กลางการเกษตรระดับโลก
ซีเอ็นเอช ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำภาคความคิดมาร่วมพูดคุยกันในงาน Media Day เพื่อร่วมกันแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับแนวโน้ม เทคโนโลยี และความท้าทายในภาคการเกษตรไทย โดยมีผู้เข้าร่วมงาน อาทิ คุณ สุมาลี ชิณวงศ์ ผู้อำนวยกลุ่มส่งเสริมพืชเส้นใยและพืชหัว กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คุณเบญจวรรณ ฤกษ์สมเด็จ ที่ปรึกษาฝ่ายบริหารการศึกษา บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด คุณทองอาบ บุญอาจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นครสวรรค์ และผู้นำภาคเหนือขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ดร. ธิติ มหบุญพาชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาภักดีพณิชยการและเทคโนโลยีและศาสตราจารย์ ดร.อุมา สีบุญเรือง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการระหว่างประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คุณมาร์ค บรินน์ กล่าวว่า "เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เครือข่ายของภาคการเกษตรเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เราจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมทักษะ"
ด้วยความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ซีเอ็นเอช ให้การสนับสนุนโครงการการศึกษาการเกษตรในประเทศไทย รวมถึงโครงการทุนการศึกษา ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อออกแบบหลักสูตรการฝึกภาคปฏิบัติ และโครงการฝึกงาน ซึ่งในปีนี้ ซีเอ็นเอช และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อขยายความร่วมมือไปสู่การวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร
ซีเอ็นเอช ได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานที่ทำงานยอดเยี่ยม มีพนักงานประมาณ 200 คนในประเทศไทย ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดำเนินธุรกิจในตลาดผ่านแบรนด์ เคส ไอเอช และนิว ฮอลแลนด์ สำหรับภาคธุรกิจการเกษตร และแบรนด์ CASE และ New Holland Construction สำหรับภาคธุรกิจก่อสร้าง เรามีโรงงานประกอบรถตัดอ้อยรุ่น Case IH Austoft ซึ่งเคส ไอเอชคือผู้นำตลาดรถตัดอ้อยในประเทศไทย และศูนย์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ทันสมัย สำหรับตรวจสอบเครื่องจักรกลที่เชื่อมต่ออยู่กับระบบ เพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด
ซีเอ็นเอช ได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานที่ทำงานยอดเยี่ยม มีพนักงานประมาณ 200 คนในประเทศไทย ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทฯ ให้การสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการก่อสร้างในตลาดด้วยแบรนด์ระดับโลก อาทิเช่น CASE IH New Holland CASE และ New Holland Construction