Design Hero : OK ( E ) CIGARETTES? Wake Up and Understand the Hazards of Vaping and E - Cigarette
โครงการ Design Hero เป็นความร่วมมือระหว่าง art4d กับ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี วัตถุประสงค์สำคัญคือการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ความรู้ และทักษะในการออกแบบการสื่อสารเพื่อนำไปต่อยอดในการสื่อสารเรื่องประเด็นสุขภาวะต่อสาธารณชนในวงกว้าง โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการหลายคนเข้าสู่วงการออกแบบสร้างสรรค์สื่อ และมีผลงานเป็นที่ยอมรับ
สำหรับในปี 2567 นี้ art4d และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีความต้องการที่จะผลักดันให้โครงการก้าวสู่ขั้นตอนไป จึงมีแนวคิดที่จะผลักดันให้ผลงานสร้างสรรค์จากเยาวชนถูกนำไปผลิตเพื่อต่อยอดหรือขยายผลในเชิงธุรกิจ รวมไปถึงการนำไปใช้รณรงค์ในสังคมวงกว้าง ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของโครงการในปีนี้จึงมุ่งเน้นที่การผลักดันและสร้างโอกาสให้ผลงานสร้างสรรค์ถูกนำไปสู่ "การผลิต" หรือ "จัดจำหน่าย" ได้จริง โดยนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและการสนับสนุนด้านเงินทุน กิจกรรมในปีนี้จะจัดให้มีการร่วมคอลแล็ปผลงานกันระหว่างเยาวชนผู้สร้างผลงานสร้างสรรค์กับแบรนด์ต่างๆ ในภาคธุรกิจ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในการเผยแพร่ผลงานและเปิดโอกาสให้เกิดการนำไปสู่การต่อยอดและขยายผลในเชิงธุรกิจ สร้างให้เกิดการประกอบการในรูปแบบของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีส่วนช่วยรณรงค์เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้กับสังคมในวงกว้างต่อไป โดยโครงการในปีนี้จะเปิดรับผลงานจากเยาวชนไม่จำกัดสาขาวิชาชีพ ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 27 กันยายน 2567
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
หัวข้อที่เปิดรับสมัคร
ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถส่งไอเดียของโครงการที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารในเรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า การสร้างความเข้าใจหรือการให้ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า การให้ความรู้ด้านสุขภาวะหรือรณรงค์เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าให้กับกลุ่มเด็กมัธยม ภายใต้หัวข้อ Design Hero : OK ( E ) CIGARETTES ? Wake Up and Understand the Hazards of Vaping and E - Cigarettes ซึ่งผลงานที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับทุนสนับสนุนเพื่อร่วมผลิตผลงานกับแบรนด์สินค้าจริง โดยผู้ส่งโครงการเข้าประกวดสามารถเลือกประเภทของของผลงาน ได้ดังต่อไปนี้ (เลือกได้ 1 หัวข้อ)
เกณฑ์การตัดสิน
- กระบวนการคิดเชิงออกแบบ : Design Thinking
เป็นการทำให้มองเห็นวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมไปถึงการมองปัญหาตลอดจนโจทย์ของการทำงานต่าง ๆ ได้รอบทิศและรอบคอบขึ้นและฝึกให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีลำดับการบริหารจัดการที่ดีตั้งแต่เริ่มโครงการไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
- การสื่อสาร : Communication
การสื่อสารเป็นกระบวนการสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นตลอดจนถึงสังคมวงกว้าง การสื่อสารที่ดีจะต้องมีความชัดเจน ตรงโจทย์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและบรรลุจุดประสงค์ของโครงการ การขับเคลื่อนโครงการให้ประสบความสำเร็จได้จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการการสื่อสารให้ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ความเป็นไปได้ในการผลิต : Production Feasibility
คือ การประเมินองค์ประกอบของผลงานในแง่ความเป็นจริงของการผลิต โดยทั้งเจ้าของผลงาน คณะกรรมการและเจ้าของแบรนด์ ต้องสามารถเข้าใจถึงขั้นตอนการผลิตที่ระบุมาในโครงการได้อย่างตรงประเด็นและเห็นว่านำไปใช้งานได้จริง ซึ่งจะทำให้คณะกรรมการสามารถเห็นภาพรวมของโครงการเพื่อที่จะช่วยปรับจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็ง รวมไปถึงการปรับรายละเอียดในเชิงเทคนิคสำหรับการผลิตเพื่อช่วยผลักดันให้โครงการได้มีการพัฒนาต่อยอดจนสำเร็จลุล่วง
- ความงาม/สุนทรียภาพ : Aesthetic
คือ การประเมินความสวยงามที่ลงตัวของผลงานแบบองค์รวม ซึ่งอาจจะประกอบด้วยเรื่องของ รูปทรง สี ความไพเราะของเสียง ความงดงามของท่าทางการเคลื่อนไหว หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยขึ้นกับประเภทของผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่
ผู้ประสานงานโครงการ :
นายดุสิต บุตตะโยธี, นางสาวปราง ปิงเมืองเหล็ก และนายอาทิตย์ กมุลทะรา
โทรศัพท์ : 064 604 2891, 062 449 6651 และ 064 043 4186
อีเมลล์ : dusit.art4d@gmail.com, prangp@hotmail.com และ athitkamultara@gmail.com