กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนควานเห็นระพื้นที่ในการบริหารจัดการลุ่มแม่น้ำโขง" ภายใต้การดำเนิน โครงการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชนพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านองค์ความรู้ที่ผ่านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ตลอดจนการสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรผลผลิตในพื้นที่ โดยมีเครือข่ายอาสาพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8 จังหวัดแม่น้ำโขง ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาชนริมแม่น้ำโขง เข้าร่วมกิจกรรม ในวันที่ 5 สิงหาคม 2567 ณ วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี
นายวินัย วังพิมูล ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวเปิดการประชุมว่า ปัจจุบันแม่น้ำโขงสายประธานมีการเปลี่ยนแปลงและมีแผนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายประธานทั้งโครงการที่แล้วเสร็จ โครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง และโครงการที่มีแผนดำเนินการในอนาคตของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สภาพลำน้ำ ระบบนิเวศ และชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยแม่น้ำโขงในการดำรงชีพ ได้รับผลกระทบข้ามพรมแดนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะประชาชน 8 จังหวัดริมน้ำโขง ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ที่ประกอบอาชีพการเกษตรริมฝั่งการประมง การค้าขาย และการท่องเที่ยว
ในการนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการดำเนินการตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 อย่างยั่งยืนและดูแลผลประโยชน์ของประเทศไทย จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญและมีความมุ่งมั่นที่จะดูแล ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนและส่งเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของประชาชนริมฝั่งโขงที่ได้รับผลกระทบข้ามพรมแดน เพื่อเป็นการเตรียมตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ขึ้นโดยร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ผ่านนวัตกรรมและการเรียนรู้เทคโนโลยี ให้สามารถตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านในการนำผลจากการเข้าร่วมโครงการฯ ไปประยุกต์ใช้และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับรองรับการประกอบอาชีพที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากอาชีพที่เคยประกอบอยู่เดิม โดยจะเป็นเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ยกระดับการประกอบอาชีพของภาคประชาชนได้ สร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจและชุมชนฐานรากและเกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้นำและภาคีเครือข่ายลุ่มน้ำโขง ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน อีกทั้งสามารถนำไปขยายผลในชุมชนได้ในอนาคต
ดร.โสภาพรรณ สัญญาณเสนาะ ผู้อำนวยการ สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม วว. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมว่า การจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็ง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากร วัตถุดิบ ตลอดจนผลผลิตในพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชนพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัดกรรม รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของภาคประชนเรื่องการนำผลผลิตมาพัฒนาแปรรูป อาทิ กลุ่มอาหาร กลุ่มสมุนไพรและเครื่องสำอาง รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ เพื่อยกระดับให้ได้รับรองมาตรฐานสินค้าผลผลิตทางการเกษตร
"...วว. เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีพันธกิจหลัก ในการวิจัยพัฒนา และบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศ ตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน วว. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ความรู้ความสามารถที่เป็นพันธกิจหลัก โดยร่วมมือกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในการนำองค์ความรู้ด้าน วทน.ไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร อาหาร สมุนไพร ภายใต้ Model BCG เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไทย กิจกรรมในวันนี้ จะเป็นจุดเริ่มดันที่ดีในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาชน 8 จังหวัดริมน้ำโขง เกิดการเรียนรู้ในการยกระดับผลผลิต พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรับรองมาตรฐานตามที่ตลาดกำหนด ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินโตต่อไปอย่างยื่น..." ผู้อำนวยการ สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม วว. กล่าว
ทั้งนี้ การประชุมฯ ดังกล่าวจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 4 - 6 สิงหาคม 2567 โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในหัวข้อต่างๆ อาทิ บทบาทการทำงานของ วว. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมการใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุเพาะเห็ดเศรษฐกิจ แนวทางการพัฒนาสมุนไพรเพื่อเพิ่มมูลค่า บริการวิเคราะห์ทดสอบ/สกัดสารสำคัญจากสมุนไพร/ผลิตเครื่องสำอางระดับอุตสาหกรรม รวมทั้งการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากนี้ยังจัดให้มีการศึกษาดูงานโครงสร้างพื้นฐานของ วว. ได้แก่ โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) และโรงงานต้นแบบการผลิตผักทอดกรอบ เป็นต้น