นักวิชาการไทย-เทศ ประสานเสียง ตอกย้ำบทบาทวิชาเคมีต่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN?s SDGs) ในงานเสวนาภายใต้หัวข้อ ?พลังแห่งวิชาเคมีต่อการผลักดันเป้าหมายด้านความยั่งยืน? ในประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิชาเคมี (International Conference on Chemistry Education: IUPAC) ครั้งที่ 27 ที่พัทยา โดยชูไทยเป็นตัวอย่างในการเผยแพร่ปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน ซึ่งเปิดโอกาสเด็กไทยลงมือทำการทดลองจริง สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนักเคมีรุ่นใหม่เพื่อนำพาประเทศไทยสู่เส้นทางความยั่งยืน พร้อมการฉลองครบรอบ 10 ปี โครงการ ?ห้องเรียนเคมีดาว?
ศาสตราจารย์แมรี่ การ์สัน รองประธานสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) และศาสตราจารย์กิตติคุณของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ?วิทยาศาสตร์เคมีเป็นแขนงวิชาที่มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก (SDGs) หลายด้าน เพราะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนในโลก เช่น ต้องการน้ำสะอาด ความปลอดภัยทางอาหาร รวมถึงนวัตกรรมและโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ?
?ที่ผ่านมา IUPAC ได้ดำเนินหลายโครงการเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่และสนับสนุนการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านเคมี และในปี 2568 IUPAC จะประกาศหลักการเพื่อการปฏิบัติการด้านเคมีอย่างมีความรับผิดชอบ (Principles for the Responsible Practice of Chemistry) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย?
?วิชาเคมีคือกุญแจสู่ความยั่งยืน เพราะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโซลูชันเพื่อให้โลกบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน Dow ในฐานะบริษัทด้านวัสดุศาสตร์จึงมุ่งมั่นที่จะใช้ความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ โดยสินค้าด้านนวัตกรรมของ Dow มากกว่า 89% เป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน ตัวอย่าง เช่น วัสดุความหนาแน่นต่ำเพื่อใช้ทดแทนชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักมากในรถยนต์ ช่วยให้รถมีน้ำหนักเบาลง ประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยมลพิษ ซึ่งตรงกับเป้าหมายความยั่งยืนที่ 7 ของสหประชาชาติ คือ ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา และเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ? นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) กล่าวในเวทีเดียวกัน
นอกจากนี้ Dow ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัสดุต่าง ๆ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ยังได้พัฒนานวัตกรรมอื่น ๆ เช่น โซลูชันการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ ซิลิโคนคุณภาพสูงที่ช่วยให้อาคารประหยัดพลังงานมากขึ้น วัสดุเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุแผงโซลาร์เซลล์ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้
ขณะเดียวกัน Dow ยังส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาเคมีของนักเรียนและนักวิจัยทั่วโลก รวมทั้งโครงการ ?ห้องเรียนเคมีดาว? (Dow Chemistry Classroom) ในประเทศไทยซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Dow กับสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และพันธมิตรต่าง ๆ ซึ่งได้มีการดำเนินการต่อเนื่องมาครบ 10 ปีแล้ว
?ตั้งแต่ปี 2546 Dow ได้ร่วมมือกับสมาคมเคมีฯ ยกระดับการเรียนเคมีในประเทศไทยด้วยเทคนิคการปฏิบัติการการทดลองเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้เรียนวิทยาศาสตร์อย่างสนุกและเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเทคนิคนี้ได้รับการยอมรับจากยูเนสโกว่าเป็นการทดลองเคมีที่ปลอดภัย ประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดอุปสรรคในการเรียนวิทยาศาสตร์ ช่วยบ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เพื่อมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาประเทศต่อไป?
การทดลองแบบย่อส่วนจะใช้สารเคมีน้อยกว่าการทดลองปกติ 100-1,000 เท่า จึงช่วยลดขยะที่เกิดจากการทดลองและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เป็นชุดทดลองขนาดเล็ก มีราคาถูก สามารถขนส่งได้ง่ายแม้แต่ในพื้นที่ห่างไกล ปัจจุบัน มีการใช้ชุดทดลองแบบนี้อย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี ออสเตรีย เม็กซิโก ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม และไทย
ทั้งนี้โครงการห้องเรียนเคมีดาว ยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทำให้สามารถขยายแนวทางการเรียนการสอนเคมีแบบย่อส่วนนี้ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยได้สำเร็จ โดยตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้รวมกว่า 1,197 แห่ง มีการอบรมเพิ่มพูนทักษะความสามารถการสอนวิชาเคมีแก่ครูทั่วประเทศไปแล้วมากกว่า 2,100 คน พร้อมปลุกปั้นครูวิทยาศาสตร์ต้นแบบกว่า 150 คน เพื่อให้ความรู้และสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่วงการการศึกษา โครงการนี้ส่งเสริมให้นักเรียนกว่า 470,000 คนได้เรียนวิชาเคมีอย่างมีคุณภาพด้วยการทำการทดลองจริง และกำลังขยายต่อไปเรื่อย ๆ
ด้าน ดร.เกศรา อมรวุฒิวร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการ ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงโครงการการศึกษาของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Teacher Education Program: SEA-TEP) ว่า เป็นการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนในภูมิภาคนี้ โดยปัจจุบันดำเนินโครงการใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย คาซัคสถาน อินโดนีเซีย กัมพูชา และมาเลเซีย และมีความร่วมมือกับแชมเปี้ยนในมหาวิทยาลัยในประเทศดังกล่าว
?นักการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบ 3 มิติ ที่ผู้เรียนเข้าใจแนวคิดหลักของวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ สามารถตั้งคำถาม ระบุปัญหา และอธิบายปรากฏการณ์ที่มีความซับซ้อนต่าง ๆ ได้?
นายลี ทาน เหวิน ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการโรงเรียนลอว์เรนซ์ เอส. ถิง (Lawrence S. Ting School) ประเทศเวียดนาม กล่าวถึงประโยชน์ของการทดลองเคมีแบบย่อส่วนว่า เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำการทดลองจริง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเรียนวิชาเคมี
?ครูไม่สามารถทำให้นักเรียนทุกคนทำการทดลองเคมีในขนาดปกติในห้องเรียนได้ เนื่องจากขาดเครื่องมืออุปกรณ์ แต่เมื่อใช้ชุดทดลองเคมีแบบย่อส่วน นักเรียนแต่ละคนสามารถทำการทดลองได้เอง ครูสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะกับลักษณะการเรียนรู้และระดับความรู้ความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้?
นอกจากนี้ การทดลองเคมีแบบย่อส่วนยังสามารถช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรักสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะชุดทดลองดังกล่าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยนอกจากช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ยังลดปริมาณสารอันตรายที่จะอาจจะเข้าสู่ร่างกายด้วย
นายเหวินกล่าวทิ้งท้ายว่า การฝึกอบรมครูผู้สอนเกี่ยวกับวิธีการสอนและการปรับหลักสูตรการเรียนวิทยาศาสตร์และวิชาเคมีเป็นสิ่งที่ดี และควรส่งเสริมความร่วมมือและแบ่งปันองค์ความรู้ที่ดีระหว่างครูผู้สอนทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติด้วย เนื่องจากความร่วมมือกันเป็นกุญแจสำคัญต่อการเดินหน้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
หลังจบการเสวนา โครงการห้องเรียนเคมีดาว ยังได้มีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนในประเทศไทย 2 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร. ศุภวรรณ ตันตยานนท์ ผู้อำนวยการโครงการห้องเรียนเคมีดาว และ รศ.ดร.สุภกร บุญยืน
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนตามแนวทางของ ?ห้องเรียนเคมีดาว? ได้ที่เว็บไซต์ www.DowChemistryClassroom.com