“เจน” หญิงเดียวในทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot แชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย World RoboCup Rescue 2024 ตำแหน่ง Mechanic

ข่าวบันเทิง Tuesday August 20, 2024 17:37 —ThaiPR.net

“เจน” หญิงเดียวในทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot แชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย World RoboCup Rescue 2024 ตำแหน่ง Mechanic

นางสาวเสาวลักษณ์ ณ คำพล ชื่อเล่น ?เจน? ชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นสมาชิกหญิงเดียวในทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย World RoboCup Rescue 2024 แชมป์โลกสมัยที่ 10 และอีก 2 รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมระดับโลก คือรางวัล Best in class mobility (รางวัลนวัตกรรมสมรรถนะการขับเคลื่อนยอดเยี่ยมระดับโลก) และรางวัล Best in class Dexterity (รางวัลสมรรถนะการทำงานแขนกลยอดเยี่ยมระดับโลก เมื่อวันที่ 16-21 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ เมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์

?เจน? จะอยู่ตำแหน่งที่เป็น Mechanic ของทีมหุ่ยนต์กู้ภัยจะช่วยดูส่วนของฐานการขับเคลื่อนของหุ่นยนต์ ที่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ เพราะการออกแบบหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot ต้องมีสมรรถนะการขับเคลื่อนที่ยอดเยี่ยม และทำงานได้อย่างรวดเร็ว เคลื่อนที่ได้หลายทิศทาง นอกเหนือจากนั้นก็ดูแลในส่วนของการติดต่อและประสานการขอสปอนเซอร์ และช่วยเหลืองานทั่วไปในทีมค่ะ สไตล์สาวลุคสดใส ร่าเริง เข้ากับคนอื่นได้ง่าย เป็นคนสบาย ๆ ชิลล์ ๆ สุดคลู สามารถพูดคุยได้กับทุกคน และผลการเรียนของ ?เจน? หญิงเดียวในทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot ก็ไม่ธรรมดาเรียนเก่งเรียนดีได้เกียรตินิยม อันดับที่ 2

?เจน? เล่าให้ฟังว่า เริ่มทำหุ่นยนต์ครั้งแรกตั้งแต่เข้ามาศึกษาที่โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล มจพ. จากการสมัครเข้าเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน โดยสอบตรงเข้าเรียน ปวช. โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน และยื่นโควตาหุ่นยนต์ ในระดับปริญญาตรี จุดเริ่มต้นที่เข้ามาอยู่ทีมหุ่นยนต์กู้ภัยและเริ่มทำหุ่นยนต์นั้น เกิดจากในตอนนั้นมีอาจารย์เข้ามาชวนไปดูการทำงานของทีมหุ่นยนต์ของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ เป็นช่วงที่พี่ ๆ เตรียมไปแข่งขันหุ่นยนต์ที่เวทีนานาชาติที่สิงค์โปร์กัน ?จึงได้โอกาสเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากตอนนั้นมาเรื่อย ๆ และเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในอีกหลายรายการหลังจากครั้งนั้น? ช่วงที่เข้าร่วมทีมแข่งขันหุ่นยนต์ก็ตอนเรียน ปวช. พอดีได้รับความช่วยเหลือหลายอย่างจากรุ่นพี่ในทีม iRAP Robot ทำให้ได้เห็นและได้ลองจากประสบการณ์จริง และทำงานในบางส่วนก็ตรงนั้น ๆ เลยตั้งแต่ตอนนั้น

จนกระทั่งเข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ก็ได้เริ่มเข้ามาทำอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกกับทีม iRAP Robot หลังจากนั้นก็เข้าร่วมการแข่งขันมาตลอดจนมาถึงการแข่งขัน World RoboCup Rescue 2024 ซึ่งขณะนั้นเรียนปี 4 ประสบการณ์การแข่งขันครั้งแรกตอนปี 1 เป็นเวทีการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2563 หรือ การแข่งขัน TPA ROBOT 2020 ก็จะคลุกคลีการแข่งขันหุ่นยนต์กับช่วยงานของชมรมหุ่นยนต์ iRAP มาโดยตลอด เช่น CRU robot TPA ABU ในปีต่อ ๆ มา ?เจน? บอกว่าทุก ๆ ผลงานที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมหุ่นยนต์ iRAP Robot ประทับใจและชื่นชอบทุกรายการที่ได้ทำมาตลอดค่ะ เพราะ ?พวกเรานั้นเต็มที่กับงานที่ได้ทำเสมอ? และสิ่งที่ประทับใจนั้นคงเป็นบรรยากาศทั้งในตอนที่ทำงานและตอนที่เราเห็นความสำเร็จตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ค่ะ ?เพราะคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดนั้นคือ ตัวเราเอง !!!?

จากหลายๆ เหตุการณ์ทำให้เราโตขึ้นทุกครั้งคงเป็นตอนที่เราทำงานพลาด ในสภาวะนั้นคือจุดที่ทำให้เรารับรู้ถึงความกดดันที่เกิดขึ้น และผลที่ตามมาถ้าหากว่าเราตัดสินใจช้าเกินไป และการยอมรับความผิดพลาดของตนเองก้าวต่อไปลงมือทำให้เยอะขึ้นจะเป็นคำพูดของทีมเราเสมอ ทุกคนเป็นคนที่เต็มที่และจริงจังกันเสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่นหรือเรื่องงาน คนเก่งนั้นก็สำคัญ แต่เชื่อว่าทุกคนสามารถเป็นคนที่เก่งและมีความสามารถได้เสมอ สิ่งที่เราต้องการ คือ การที่เราสามารถทำงานและพูดคุยกันได้อย่างเข้าใจกัน มีความรับผิดชอบในงานของตนเอง นี่เป็นสิ่งที่ได้จากการทำหุ่นยนต์และอยู่ในชมรมนี้มาตลอด 4 ปี iRAP ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นผู้คน ?เจน? กล่าวท้ายที่สุดขวัญฤทัย ข่าว-ภาพ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ