วว. โชว์โครงการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อการบริโภค ในงานแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567”

ข่าวทั่วไป Wednesday August 21, 2024 08:57 —ThaiPR.net

วว. โชว์โครงการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อการบริโภค ในงานแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567”

นางสาวศุภมาส  อิศรภักดี  รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567  ซึ่ง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กำหนดจัดขึ้นวันที่ 26-30 สิงหาคม 2567  ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิล์ด  เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยใช้ฐานความรู้ด้านวิจัยและนวัตกรรมอย่างครอบคลุมทุกด้าน  ตามเป้าหมายนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม

โอกาสนี้ ดร.ประทีป  วงศ์บัณฑิต  รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน ในฐานะผู้แทน วว. ร่วมเป็นเกียรติและนำผลงานโครงการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อการบริโภค  ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช.  โดยมี ดร.อนันต์  พิริยะภัทรกิจ  นักวิจัยอาวุโส   ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ  เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการด้วย ในวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ณ ห้อง World  ballroom ชั้น 23  โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ

ซึ่งการดำเนินงานก่อให้เกิด Impact จากผลงานวิจัย  ได้แก่  1) ข้อมูลคุณประโยชน์ของพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ สำหรับปรับใช้ในภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม  2) สร้างความยั่งยืนของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี  3) ตอบสนองนโยบายระดับโลก ในการบริโภคอาหารแบบยั่งยืน (SFS)  4) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ทำให้เกิดรายได้ในชุมชน   5) Food Waste ลดการสูญเสียอาหาร/ขยะอาหารที่เพิ่มขึ้น และ 6) สร้าง Soft Power เชื่อมโยงธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม การท่องเที่ยว โดยผลงานนี้จะร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติที่โซนไฮไลต์ผลงานเด่นประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ วว. ยังจะนำผลงาน ?นวัตกรรม วว. ขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ?  เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการด้วย  ได้แก่  1) การใช้ประโยชน์จาก CO2 เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในภาคอุตสาหกรรม   2) เทคโนโลยีการดักจับและใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อแปรรูปเป็นไบโอเมทานอล   และ 3) ฐานข้อมูลมวลชีวภาพการกักเก็บคาร์บอนและการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนิเวศป่าไม้สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ซึ่งเป็นแหล่งสงวนชีวมณฑลของโลก ณ บูธ AL 9  ที่โซนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ