5 สุดยอดงานศิลป์ครองแชมป์การประมูลศิลปะสุดพิเศษ "The Collector Club" สัมผัสโลกแห่งศิลปะผ่านสายตานักสะสม
คงไม่มีการประมูลศิลปะครั้งไหน จะดึงดูดใจนักสะสมและคนรักงานศิลปะได้ดีเท่ากับ "The Collector Club" การประมูลและนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะครั้งใหม่ของ The Art Auction Center บริษัทประมูลศิลปะอันดับ 1 ของไทย ที่พาผู้ชมร่วมดื่มด่ำไปกับผลงานศิลปะล้ำค่ากว่า 130 ชิ้น จากศิลปินระดับตำนานและผลงานมาแรงของศิลปินรุ่นใหม่ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยจัดแสดงอยู่ในคลังสะสมส่วนตัวของเหล่านักสะสมของไทย สู่สโมสรสุดเอ็กซ์คลูซีฟของผู้หลงใหลในงานศิลปะและนักสะสม ซึ่งจัดการประมูลขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567 ณ JWD Art Space ก่อนจะปิดยอดประมูลสูงถึง 51 ล้านบาท!
4 แรงบันดาลใจจากนักสะสมระดับโลกสู่ "The Collector Club"
ภายใน JWD Art Space คราคร่ำไปด้วยนักสะสมและผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลสุดพิเศษ ทั้งยังอบอวลไปด้วยบรรยากาศของความตื่นเต้นในการประมูล ด้วยเพราะผลงานศิลปะทุกชิ้นที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการและการประมูล The Collector Club เปรียบเสมือนโอกาสในการที่คุณจะได้ครอบครองผลงานที่เป็นที่ต้องการของนักสะสมคนอื่นๆ และโอกาสในการสร้างคอลเลคชันส่วนตัวที่สะท้อนรสนิยมและความหลงใหล ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้นักสะสมหลงใหลในการประมูลงานศิลปะ ทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กับนักสะสมคนอื่นๆ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากนักสะสมที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น
- The Visionary Valor: แรงบันดาลใจจากแนวทางการเก็บสะสมงานศิลป์ของสามี-ภรรยาชาวอเมริกัน Herbert และ Dorothy Vogel ที่พิสูจน์ให้โลกเห็นว่า การสะสมผลงานศิลปะเป็นสิ่งที่เราทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ต่อให้เงินเพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างหนึ่งในคอลเลกชันที่สำคัญที่สุดของโลก
- The Civilized Cosmopolite: แรงบันดาลใจจากนักธุรกิจคนสำคัญของอเมริกา ทั้งตระกูล Rockefeller และ J Paul Getty เหล่าผู้หลงใหลในเส้นทางประวัติศาสตร์อันอุดมด้วยพหุวัฒนธรรม และอารยธรรม ส่งผลให้คอลเลคชันของพวกเขามีความหลากหลาย เป็นแหล่งคลังความรู้และการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์อันน่าภูมิใจ
- The Legendary Lord: แรงบันดาลใจจากผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของวงการศิลปะโลก "House of Medici" ตระกูลนักสะสมชื่อดังผู้ครองฟลอเรนซ์ในอดีต ตระกูลเมดิชีได้ขับเคลื่อนฟลอเรนซ์กลายเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนยุคเรเนสซองส์ (Renaissance) หรือช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยา
- The Art Amour: แรงบันดาลใจจาก Peggy Guggenhiem Collection พิพิธภัณฑ์ศิลปะในเมืองเวนิส พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นบ้านพักส่วนตัวของ Peggy Guggenhiem สตรีชาวอเมริกันผู้มีรสนิยม ที่มองการสะสมผลงานศิลปะดั่งลมหายใจ ผลงานศิลปะทุกชิ้นได้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักของห้องต่างๆ ภายในบ้าน สร้างมนต์เสน่ห์ที่รื่นรมย์สอดประสานไปกับการใช้ชีวิตของเจ้าของบ้านได้อย่างงดงาม
5 สถิติการประมูลผลงานไฮไลต์ ที่ทำให้คนทั้งห้องประมูลแทบจะหยุดหายใจ!
เสียงเคาะไม้เริ่มต้นขึ้นอย่างช้าๆ ทว่าทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างการประมูล พร้อมกับราคาที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลงานศิลปะหลายชิ้นได้รับการประมูลไปด้วยราคาที่สูงกว่าที่คาดการณ์ ความเงียบสงบที่เกิดขึ้นหลังจากสิ้นเสียงเคาะไม้ บอกเล่าถึงความตื่นตะลึงของทุกคนในห้องได้เป็นอย่างดี ในฐานะผู้หลงใหลในงานศิลปะ ไม่มีอะไรเทียบได้กับความตื่นเต้นเร้าใจของการประมูลงานศิลป์ ดังเช่นที่ The Collector Club มอบประสบการณ์ที่ยากจะลืมเลือนให้กับผู้ร่วมงาน โดยเฉพาะ 5 สถิติการประมูลผลงานไฮไลต์ ที่ทำให้หลายคนในห้องประมูลตื่นเต้นจนแทบจะหยุดหายใจ!
"ถวัลย์ได้พัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานไปสู่การถ่ายทอดเรื่องราวผ่านสัญลักษณ์ของสัตว์และมนุษย์ การตีความเรื่องราวความเชื่อทางศาสนาเป็นโครงสร้างหลัก แล้วสื่อสารด้วยกระบวนการทางจิตรกรรมเป็นภาษาภาพ ผ่านรูปทรงสัญลักษณ์และตัวละครในรูปแบบเฉพาะตัวของศิลปิน เป็นหนึ่งในรูปแบบศิลปะประเพณีใหม่ที่สร้างชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง "มารผจญ" แสดงให้เห็นถึงแนวทางดังกล่าว ด้วยภาพพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าตามแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยอันเป็นประธานของภาพ สื่อถึงความนิ่งสงบไม่หวั่นเกรงต่อเหล่าสัตว์ร้ายที่ก่อกวนอยู่รายรอบ"
"ความแร้นแค้น บรรยากาศอึมครึม หดหู่เศร้าสร้อย นับเป็นวัสดุชั้นดีที่สุเชาว์ปาดป้ายลงบนภาพวาด ชั้นสีหนาอันเป็นเอกลักษณ์ที่เขามักถ่ายทอดความทุกข์ยากที่ประสบพบเจอในช่วงชีวิตลงไปในผลงาน แต่กลับกันผลงานภาพนี้เราได้เห็นโทนสีละมุนตา ภาพท้องนาที่ดูสงบเย็น เสมือนเป็นตัวแทนความสุข เพียงน้อยนิดในชีวิตอันแสนเศร้าของสุเชาว์"
"จิตรกรผู้ไม่เคยได้เข้าเรียนศิลปะในสถาบันการศึกษาที่ไหนเลย แต่กลับมีฝีมือสูงส่งจากพรสวรรค์และครูพักลักจำ เขาเริ่มต้นจากการทำงานเป็นช่างเขียนป้ายโฆษณาในโรงหนัง วันดีคืนดีเกิดไปประทับใจภาพยนตร์ชีวประวัติของวินเซนต์ แวนโก๊ะ เลยเลิกอาชีพรับจ้างมาเป็นศิลปินอิสระเต็มตัว ผลงานในยุคแรกของประเทืองเป็นแบบกึ่งนามธรรมเน้นโทนสีดำมืด กว่าจะค้นพบแนวทางศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ที่สาธารณชนให้ความนิยมก็อีกหลายปีให้หลัง โดยใน พ.ศ. 2510 ประเทืองเริ่มมองเห็นแสงสว่างแห่งความสำเร็จจากการคว้าเหรียญเงินในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 17 จากนั้นเขาก็ได้รับรางวัลอื่นๆ เรื่อยมาทำให้เริ่มมีชื่อเสียงและขายผลงานศิลปะได้ จากภาพวาดที่ดูอึมครึมในยุคที่ต้องอดมื้อกินมื้อก็เริ่มมีสีสันวิจิตรพิศดารซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ประเทืองจึงเริ่มหันไปหาแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ โดยเฉพาะแสงสีรุ้งที่ฉายเป็นประกายจากดวงอาทิตย์"
"ภาพผลงานสีชอล์กชิ้นแรก ๆ ของจักรพันธุ์ โปษยกฤต ที่พาเราหมุนย้อนทวนเข็มเวลาไปพบกับหญิงสาวที่งดงามราวกับหลุดออกมาจากปกรณัม อรชรอ่อนหวาน ตามอุดมคติสรรค์สร้าง ศิลปินได้บรรจงเขียนสตรีในภาพขึ้นมาจากห้วงอารมณ์แห่งการแสวงหาความแปลกใหม่ แหวกออกจากขนบวิถีปฏิบัติเดิม ภาพเปลือยฝีมือจักรพันธุ์หาชมได้ยากนี้เกิดจากความพยายามที่จะทดลองค้นหาแนวทางที่กลายขีดจำกัดเดิม ให้เชี่ยวชาญในทุกศาสตร์ทุกแขนง"
"เดินทางผจญภัยสู่ห้วงอวกาศที่ไม่มีใครรู้จัก ที่ซึ่งผืนผ้าใบของท้องฟ้าทอดยาวไกลเกินจินตนาการ อันเผยให้เห็นถึงความกว้างใหญ่ ซับซ้อน และสวยงามของจักรวาล การเปิดรับความหลากหลายเป็นการท้าทายต่ออุปาทานหรืออคติ เชื้อเชิญให้ชื่นชมและเคารพในทุกมุมมอง ดื่มด่ำในสเปกตรัมหลากหลายของมนุษย์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ โอบกอดสีสันของเพศที่แตกต่างและรับฟังการประสานเสียงของวัฒนธรรมที่เสริมสร้างการดำรงอยู่ร่วมกัน ขับเคลื่อนเราไปสู่อนาคตที่ซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพและการเห็นคุณค่าในทุกสิ่งที่จะเติบโต การมีส่วนร่วมกับผู้คนจาก เชื้อชาติ วัฒนธรรม และความเชื่อที่แตกต่างกันทำให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความกว้างใหญ่และงดงามของครอบครัวใหญ่ที่เรียกว่า มนุษย์"
นอกจากจะคัดสรรผลงานชิ้นเยี่ยมกว่า 130 ชิ้น ภายในการประมูลและนิทรรศการ The Collector Club ยังมี 3 สุดยอดผลงานไฮไลท์ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ไม่แพ้กัน เพราะไม่เพียงสะท้อนถึงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน หากแต่เป็นเครื่องหมายแห่งความพิเศษและคุณค่าในโลกศิลปะ นั่นคือ
- ศิลป์ พีระศรี ผลงาน พระพุทธรูปปางลีลา (ราวทศวรรษที่ 2500): มูลค่า 638,275 บาท "พระพุทธรูปปางลีลา อันมีพุทธลักษณะงดงาม ยกย่องพุทธศิลป์ไทยตามแบบฉบับสุโขทัยที่เน้นความงามตามอย่างอุดมคติผสมผสานกับประติมากรรมแบบร่วมสมัย ได้รับการออกแบบโดยอาศัยหลักสรีระศาสตร์ของมนุษย์ตามอย่างตะวันตก เน้นให้เห็นกล้ามเนื้อ สีหน้าท่าทางที่ดูสมจริงราวกับมีชีวิต ทั้งดูสงบและน่าเลื่อมใส ผลงานชิ้นนี้ถูกออกแบบขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลก้าวเข้าสู่สมัยปีกึ่งพุทธกาลในช่วงปี พ.ศ 2500 ตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา"
- หนังสือรวบรวมผลงานของ ถวัลย์ ดัชนี (DIE BUDDHISTISCHE KUNST THAWAN DATCHANIS): มูลค่า 197,285 บาท
"เคลาส์ เว้งค์ ได้เขียนรวบรวมผลงานชิ้นเอกในช่วงแรก ๆ ของ ถวัลย์ ดัชนี ผลงานที่นำเสนอเรื่องราวและวิธีคิดจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา ถ่ายทอดผ่านงานศิลปะด้วยวิธีคิดและมุมมองประสบการณ์ที่กลั่นออกมาจากความรู้สึกส่วนตัว ในเวลาต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็นหนังสือเกี่ยวกับศิลปะไทยที่มีมูลค่าสูงที่สุด ต้นฉบับแรกตีพิมพ์ในภาษาเยอรมัน โดยได้มีการให้ความหมายและอธิบายผลงานทั้งในรูปแบบจิตรกรรม และงานวาดเส้นอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งยังฝังแน่นด้วยจิตวิญญาณของซีกโลกตะวันออก และลักษณะกายภาพตามแนวคิดเซอร์เรียลลิสม์แบบตะวันตก"
- หนังสือรวบรวม 25 ผลงานจิตรกรรมไทยลายเส้นของ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ "DHAMA" มูลค่า 150,865 บาท
"ฑูตวัฒนธรรมเยอรมนีประจำประเทศไทย อูริช ซากอร์สกี้ ได้ซื้อภาพและลิขสิทธิ์การพิมพ์ของหนังสือเล่มนี้เพื่อจัดจำหน่ายในประเทศเยอรมนี นับได้ว่าเป็นหนังสือรวบรวมเล่มแรกในชีวิตของเฉลิมชัย และกลายเป็นหนังสือที่หายากมากในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ได้รับการพิมพ์ขึ้นก่อนที่ศิลปินจะเดินทางไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อเขียนภาพจิตรกรรมไทยบนฝาผนังอุโบสถวัดพุทธประทีป"
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักสะสมมากประสบการณ์ หรือมือใหม่ในโลกของศิลปะ The Art Auction Center พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจและมอบประสบการณ์พิเศษสำหรับคุณ ติดตามความเคลื่อนไหวของนิทรรศการและการประมูลผลงานศิลปะชิ้นเยี่ยมได้ที่ https://www.facebook.com/theartauctioncenter สอบถามเพิ่มเติมที่ Line @theartauction และ โทร. 065-097-9909