วิถีชีวิตแบบดิจิทัลและคอนเทนต์วัฒนธรรม: รูปแบบใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน

ข่าวบันเทิง Monday September 23, 2024 16:19 —ThaiPR.net

วิถีชีวิตแบบดิจิทัลและคอนเทนต์วัฒนธรรม: รูปแบบใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน

ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันให้กับชาวโลก ที่มีการใช้การชำระเงินแบบดิจิทัล และ การเข้าถึง คอนเทนต์วัฒนธรรมต่างๆในแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 นักวิชาการจากภูมิภาคนี้หลายท่านได้รวมตัวกันที่งานสัมมนาที่ประเทศมาเลเซีย และได้ชี้ให้เห็นว่า นอกจากที่ได้สร้างผลประโยชน์มากมายให้กับผู้ใช้แล้ว เทคโนโลยีดิจิทัลยังได้กลายเป็นสะพานสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่าง จีน และอาเซียน และได้เป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนในภูมิภาคนี้มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

ในวันดังกล่าวงานสัมมนา"วิถีชีวิตดิจิทัลและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน" ได้จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีสถาบันกวางโจวแห่ง อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GIG) สภาข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสำหรับเอเชียแปซิฟิก (BRICAP) และสถาบันศึกษาประเทศจีน มหาวิทยาลัยมาลายา (ICS-UM) เป็นผู้จัดงานร่วมกัน ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้แก่ นายเจิ้ง เสวฟาง (Zheng Xuefang) อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศมาเลเซีย และ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากมาเลเซีย จีน เวียดนาม ฯลฯ มาร่วมกันหารือเกี่ยวกับความสำเร็จและแนวโน้มของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดิจิทัลระหว่างจีนและอาเซียน

**บริษัทจีน-อาเซียนร่วมมือกัน ผลักดันให้การจ่ายผ่าน คิวอาร์โค้ดของแต่ละฝ่ายเชื่อมกันได้**

เมื่อวันที่ 13 กันยายน บริษัท Payments Network Malaysia ("PayNet") ประกาศว่าจะมีความร่วมมือด้านการชำระเงินผ่าน คิวอาร์โค้ด กับ วีแชทเพย์ ซึ่งเป็นวิธีชำระเงิน ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในจีน ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ การชำระเงินผ่าน คิวอาร์โค้ด ของ มาเลเซีย ก็คือ DuitNow QR และ วีแชทเพย์ สามารถเชื่อมโยงกันได้ หลังจากนี้ ร้านค้ากว่า 2 ล้านแห่งที่ร่วม DuitNow QR จะรับเงินจาก วีแชทเพย์โดยตรงได้ ซึ่งจะทำให้การชำระจ่ายของนักท่องเทียวชาวจีนในมาเลเซียง่ายขึ้น โดยไม่ต้องมีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินหรือโอนเงินแต่อย่างใด

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ มาเลเซีย และประเทศต่างๆของอาเซียนได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีการส่งเสริมการชำระเงินแบบดิจิทัลย่างจริงจัง และเปิดตัว อี-วอลเล็ท หลายโครงการ

นายหว่อง เส็ง ยวู (Wong Seng Yue) รองศาสตราจารย์คณะธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบัน มากกว่า 60% ของประชากร 32 ล้านคนในมาเลเซียได้ลงทะเบียนใช้ อี-วอลเล็ท ของ Touch'n Go แล้ว และวิถีชีวิตแบบดิจิทัลกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี 2566 เศรษฐกิจดิจิทัลทั่วอาเซียนมีมูลค่าถึง 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 55% จากปีที่แล้ว อาเซียนกำลังเร่งเจรจาในเรื่องกรอบข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัล

นายอ่อง ตี เกียด (Ong Tee Keat) ประธานสภาข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสำหรับเอเชียแปซิฟิก และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างจีน มาเลเซีย และอาเซียนโดยรวม วิสัยทัศน์และขอบเขตความร่วมมือระดับภูมิภาคได้ขยายออกไปจากการซื้อขายสินค้าไปสู่ นวัตกรรมดิจิทัลและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มีประชากรเกือบ 700 ล้านคน และคนหนุ่มมีสัดส่วนค่อนข้างสูง ประกอบกับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในทุกพื้นที่และตลาดผู้บริโภคที่กำลังเติบโต เอเชียอาคเนย์จึงมีศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สูง ประเทศจีน ซึ่งมีเทคโนโลยีดิจิทัลชั้นนำและวิถีชีวิตแบบดิจิทัลที่สะดวกสบายมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะการเจาะตลาดการชำระเงินผ่านมือถือสูงที่สุด รวมถึงนวัตกรรมดิจิทัลต่าง ๆ เช่น e-commerce และ mini-programs ก็เปิดโอกาสอันมหาศาลสำหรับการร่วมมือดิจิทัลกับอาเซียน

ในการสัมมนาในครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันว่าความร่วมมือทางด้านดิจิทัล ระหว่างบริษัทจีน กับบริษัทอาเซียนไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางและการค้าขายแต่ยังช่วยยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆในภูมิภาคนี้อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น Grab แอปพลิเคชันเรียกรถชั้นนำในอาเซียน ได้ร่วมมือกับ วีแชทเพย์ และ อาลีเพย์ ของจีน เพื่อผลักดันให้การใช้งานแอปพลิเคชันดิจิทัลมีรูปแบบมากขึ้น ปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถเข้าถึง Grab ได้โดยตรงผ่าน วีแชท mini-program ด้วย นอกจากนี้ผู้ให้บริการคลาวด์ เช่น Huawei, Alibaba และ Tencent กำลังนำเสนอโซลูชันดิจิทัลหลายๆอย่างเพื่อที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

"ไลฟ์สไตล์ดิจิทัลมันมากกว่าแอปพลิเคชัน มันเป็นหน้าต่างที่ ประเทศจีนและอาเซียนสามารถก้าวข้ามชายแดนทางภูมิศาสตร์และค้นหาเสน่ห์ทางวัฒนธรรมของกันและกัน ไลฟ์สไตล์ดิจิทัลยังทำให้เนื้อหาวัฒนธรรมที่ไม่ง่ายในการเข้าถึงในอดีตได้มีโอกาสในการแพร่กระจายมากขึ้น" นายหลี่ หมิงโป (Li Mingbo) รองผู้อำนวยการสถาบันกวางโจวแห่ง อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GIG) กล่าว

นายหลี กล่าวอีกว่า การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความร่ำรวยทางจิตใจให้เราเท่านั้น แต่ยังเป็นฐานที่มั่นในการสร้างอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ

**คอนเทนต์ดิจิทัลได้รับความนิยมในอาเซียนผลักดันการแลกเปลี่ยนระหว่างคนรุ่นใหม่**

ในเดือนเมษายน ปีนี้ รายการเซอร์ไววัล "ช่วง เอเชีย" ซึ่งเป็นรายการที่ทำโดย WeTV ของ บริษัท Tencent และ ช่องโทรทัศน์ของประเทศไทย ได้จบลงด้วยความสำเร็จ รายการนี้ ซึ่งมีคอนเทนต์ และ ไอเดียจากจีน และ ถ่ายทำในไทย ได้ดึงดูดผู้เข้าร่วมจาก 10 ประเทศ อาทิ จีน มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นอกจากรายการโชว์แบบนี้แล้ว ดิจิทัลยังผลักดันซีรีส์โทรทัศน์ วรรณกรรม และวิดีโอเกมให้กลายเป็น "สิ่งสามอย่างใหม่" ของการส่งออกทางวัฒนธรรมดิจิทัลของจีน ซึ่งเป็นสะพานสำหรับความเข้าใจกัน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและอาเซียน

ซีรีส์โทรทัศน์ "A Lifelong Journey" ซึ่งเล่าเรื่องการพัฒนาของจีนในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาได้ สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมในอาเซียน โดยได้รับความนิยมให้คะแนนสูง ซีรีส์แนวย้อนยุคเช่น "ยอดหญิงแกร่ง" และ "ปรมาจารย์ลัทธิมาร" ก็ได้สร้างกระแสในภูมิภาคนี้ ทำให้หลายคนสนใจเรียนภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน

ในขณะเดียวกัน บริษัทเทคโนโลยีจีนก็เพิ่มการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างเช่น WeTV ได้ร่วมมือกับโปรดิวเซอร์ นักแสดง และนักเขียนของอาเซียนเพื่อผลิตละครโทรทัศน์ เช่น "อุ่นไอในใจเธอ" ของไทย และ "Layangan Putus" ของอินโดนีเซีย บริการ OTT เช่น iQIYI, WeTV และ Youku รวมถึงสื่อสังคมออนไลน์อย่าง  ติ๊กต๊อก และ Xiaohongshu กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอาเซียนโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่

"เมื่อ 5-7 ปีที่แล้ว เว็บไซต์เถื่อนที่คนเข้าไปดูละครโทรทัศน์แบบไม่มีลิขสิทธิ์แพร่หลายมากในเวียดนาม แต่ตอนนี้มีแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งแบบถูกกฎหมายพร้อมบริการดี ๆ ที่เข้ามาให้บริการ ผู้ชมตอนนี้สามารถเพลิดเพลินกับรายการโทรทัศน์จากทั่วโลกได้ ในนี้ แพลตฟอร์มจากจีน เช่น WeTV และ Mango TV กำลังได้รับความนิยม" นาง หวาง ถี ทู ฮา (Hoang Thi Thu Ha) อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม ฮานอย กล่าว

ข้อมูลสถิติให้เราเห็นอย่างชัดว่า WeTV มีผู้ใช้งานมากกว่า 40 ล้านคนต่อเดือน โดยส่วนใหญ่อยู่ในอาเซียน และมากกว่า 60% ของผู้ชมในอาเซียนมีอายุต่ำกว่า 35 ปี

"สำหรับคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลและชีวิตประจำวันมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้ง แอปพลิเคชัน เช่น WeTV และ Xiaohongshu ได้ก้าวข้ามพรมแดนกลายเป็นสื่อกลางสำคัญในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม" นายซุน เจียซาน (Sun Jiashan) รองศาสตราจารย์จากสถาบันวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ซึ่งสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีนกล่าว

เขายังพูดต่อว่า คนรุ่นใหม่ในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังใช้แพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันดิจิทัลเหล่านี้และมีความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

**มองไปข้างหน้า: บริษัทดิจิทัลจะยิ่งเป็นแรงผลักดันการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียนให้มากขึ้น**

จีนและอาเซียน ซึ่งต่างก็มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีการฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแบบนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นการช่วยส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมข้ามพรมแดนในรูปแบบใหม่ต่างๆ

"ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการยกระดับความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างจีน-อาเซียน ทั้งสองฝ่ายจะมีความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และ การเชื่อมโยงระดับภูมิภาคมากขึ้นเรื่อยไป" นายเจิ้ง เสวฟาง(Zheng Xuefang) อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศมาเลเซียกล่าว

นายเจิ้ง เน้นย้ำว่า ปีนี้คือ "การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนจีน-อาเซียน" และหวังว่าจะมีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น

ในด้านการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน การนำเสนอนโยบายยกเว้นวีซ่า ซึ่งกัน และ กัน ระหว่าง จีนและประเทศต่างในอาเซียน ๆ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ทำให้กระบวนการเดินทางสะดวกขึ้น โดยแฮชแท็ก #Chinatravel กลายเป็นแฮชแท็กยอดนิยมบนโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 นี้ วีแชทเพย์ และ อาลีเพย์ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการชำระเงินแบบดิจิดัลในจีน ได้ปรับบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาจีนให้ดียิ่งขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมสัมมนาในครั้งนี้ได้ให้ความเห็นว่า เมื่อความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่างจีนและอาเซียนมีมากขึ้น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเชื่อมความเข้าใจกันระหว่างประชาชน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมก็จะมีมากขึ้น ในภูมิภาคนี้ อนาคตจะเต็มไปด้วยโอกาสสำหรับการร่วมมือการในทุกๆด้าน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ