NielsenIQ (NIQ) บริษัทวิจัยผู้บริโภคชั้นนำของโลกด้านข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค ได้เปิดเผยถึงรายงานแนวโน้มผู้บริโภคในประเทศไทยช่วงกลางปี พ.ศ. 2567 ชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภค ในขณะชาวไทยกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
ความเชื่อมั่นทางการเงินและความกังวลหลัก
รายงานได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่เป็นจุดเด่นว่า ผู้บริโภคถึง 84% กำลังแสวงหาแหล่งรายได้เสริมนอกเหนือจากงานประจำ การเพิ่มขึ้นในจุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการผลักดันให้ประเทศมีความมั่นคงทางการเงินท่ามกลางตัวเลขการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ 29% ของผู้บริโภคได้รายงานว่าสถานะทางการเงินของตนนั้นดีขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากจำนวน 24% แต่มีผู้บริโภคถึง 35% รู้สึกว่าสถานะทางการเงินของตนแย่ลง ถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นจาก 48% ในช่วงต้นปีก็ตาม อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ เนื่องจากผู้บริโภคถึง 36% ได้แสดงถึงความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 32% เมื่อปีที่แล้ว
การใช้จ่ายเชิงกลยุทธ์และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
แม้ว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้น แต่ผู้บริโภคชาวไทย 43% เชื่อว่าความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวยังคงไม่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้จะมีความระมัดระวังมากขึ้นในการใช้จ่าย ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
เพื่อรับมือกับแรงกดดันด้านต้นทุน ผู้บริโภคชาวไทย 45% เลือกที่จะซื้อของออนไลน์เพื่อรับข้อเสนอที่ดีกว่า ลดการเดินทาง และประหยัดค่าน้ำมัน การเปลี่ยนแปลงนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความสะดวกสบายและความสามารถในการตัดสินใจใช้จ่ายของผู้บริโภค
เนื่องจากงบประมาณครัวเรือนตึงตัว ผู้บริโภคชาวไทย 25% จึงเปลี่ยนมาซื้อสินค้าจำนวนมากเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากต้นทุนต่อการใช้งานที่ลดลง นอกจากนี้ 80% ของผู้บริโภคมีความชื่นชอบต่อผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้มีราคาจับต้องได้มากที่สุด ซึ่งบ่งชี้ถึงโอกาสที่ธุรกิจต่างๆ จะสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยโซลูชันที่คุ้มต้นทุน
สุขภาพและการเป็นอยู่ภายในบ้าน - Centric Lifestyles
รายงานได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางของมูลค่าระยะยาวอย่างเห็นได้ชัด โดยผู้บริโภค 76% ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ทนทานกว่า เพื่อลดความจำเป็นในการเปลี่ยนบ่อยครั้ง นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับประสบการณ์ภายในบ้านมากกว่าความบันเทิงภายนอก ซึ่งเน้นย้ำถึงความชอบในการทำกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจที่บ้านเพื่อลดต้นทุนโดยรวม
นอกจากนี้ การใช้จ่ายด้านสุขภาพก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีกลุ่มผู้บริโภคชาวไทย 74% ที่มีการเพิ่มการใช้จ่ายในวิตามินและอาหารเสริมเพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่โดยรวม แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางต้นทุนการดูแลสุขภาพและการตระหนักรู้เกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่เพิ่มขึ้นด้วย
อิทธิพลของโลกดิจิทัลและการบริโภคอย่างชาญฉลาด
อิทธิพลของโซเชียลมีเดียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคชาวไทย 76% ใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 46% อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผู้บริโภค 22% ชอบใช้อุปกรณ์อัจฉริยะ อาทิ ตู้เย็นที่มีเซ็นเซอร์ เพื่อช่วยจัดการและเติมสิ่งของในครัวเรือนโดยอัตโนมัติ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มของการบริโภคที่เน้นความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น
แนวโน้มที่ต้องจับตามองในอนาคต
การพาณิชย์ทางโซเชียล ประสบการณ์แบบ Omni-channel การผสานรวม AI และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผันผวน ทุกปัจจัยมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในปี พ.ศ. 2568 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการคาดการณ์ว่าผู้บริโภคชาวไทย 1 ใน 3 จะเลือกซื้อของทางโซเชียลมีเดียมากขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้แนวโน้มการค้าปลีกเปลี่ยนแปลงไปด้วย
สำหรับธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาดที่เปลี่ยนแปลงนี้ การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงให้แก่ผู้บริโภคและการเสนอข้อเสนอในหลายๆ วิธีถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เมื่อการฟื้นตัวของผู้บริโภคดำเนินไปอย่างช้าๆ ผลิตภัณฑ์ที่มอบทั้งความคุ้มราคาและนวัตกรรมจึงมีแนนโน้มที่จะสามารถดึงดูดความภักดีของผู้บริโภคในระยะยาวได้
สามารถดาวน์โหลดรายงานแนวโน้มผู้บริโภคกลางปี 2567 ฟรีได้ที่ http://h.nniq.co/XV0x50TtXeg.