"ศุภมาส" รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร เรื่องรับหลักการ (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ… ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบด้วยมติเอกฉันท์ ผู้ลงมติ 405 คน เห็นด้วย 401 คน ไม่เห็นด้วย 0

ข่าวทั่วไป Thursday September 26, 2024 10:33 —ThaiPR.net

(เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 ณ รัฐสภา) นางสาวศุภมาส  อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ?ได้รายงานต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้

ตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ปีที่สอง ครั้งที่ 3 สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1 เมื่อวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567 ที่ประชุมได้พิจารณา และลงมติรับหลักการแห่ง (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ? ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอและแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาโดยกำหนดการแปรญัตติภายใน 15 วันนั้น บัดนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว โดยได้ให้ความสำคัญ และนำคำอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่หนึ่งชั้นรับหลักการ พร้อมทั้งเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็นมาประกอบการพิจารณาโดยรอบคอบ ปรากฏผลการพิจารณาดังนี้

1.ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอคำแปรญัตติ จำนวน 1 คน

2.(ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่?) พ.ศ?คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอซึ่งใช้เป็นหลักในการพิจารณา จำนวน ทั้งสิ้น 6 มาตรานั้น คณะกรรมาธิการได้มีการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม 1 มาตรา คือ ร่างมาตรา 3 แก้ไขมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบันโดยเห็นควรให้เพิ่มเติมถ้อยคำว่า "?ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ" ท้ายมาตรา 6 (1) ทั้งนี้เพื่อให้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 มาตรา 3 ซึ่งกำหนดให้การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีหมายความว่า การดำเนินกิจการที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้และความสามารถทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อยกระดับความสามารถในการผลิตและการบริการ ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของสังคม โดยรวมถึงการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาขีดความสามารถในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน นอกจากนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญได้มีข้อสังเกต เพื่อให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ จึงได้บันทึกข้อสังเกตไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป? รมว.อว.ศุภมาส กล่าว

ต่อมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปราย โดยเสียงส่วนใหญ่ได้สนับสนุนให้มีการแก้ไขร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวซึ่งจะส่งผลให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีมติเห็นชอบ (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ? จำนวนผู้ลงมติ 405 คน เห็นด้วย 401 คน ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 1 คน ไม่ลงคะแนนเสียง 3 คน

".... ในนามกระทรวง อว. ขอขอบคุณกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ?. อาทิ ท่านศุภชัย ใจสมุทร รองประธานกรรมาธิการวิสามัญ คนที่ 1 ท่านดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ ท่านกรรมาธิการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง ที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอย่างหนัก ภายในกรอบระยะเวลาที่จำกัด เพื่อร่วมกันพิจารณา ให้ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรฯ ในวันนี้ ดิฉันขอขอบคุณที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีมติเห็นชอบด้วยมติเอกฉันท์ คาดว่าการแก้ไขพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยนี้ จะสามารถนำผลงานวิจัยไปขยายผลการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ไป กระทรวง อว. จะได้นำเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ? นำเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาในลำดับถัดไป ...." รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ