PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบบริการ หรือ BaaS จะเป็นส่วนสำคัญในการพลิกโฉมระบบนิเวศทางการเงินของไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินดิจิทัลที่แข่งขันได้ในเวทีโลก โดยช่วยเปลี่ยนรูปแบบบริการชำระเงินและสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ที่มีต้นทุนต่ำเพิ่มมากขึ้นทั้งบริการการเงินแบบฝังตัว ธุรกิจป้ายขาว และธนาคารระบบสมัครสมาชิก พร้อมระบุความท้าทายสำหรับการประยุกต์ใช้ BaaS ที่ผู้ประกอบการไทยควรต้องคำนึงถึง
นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง หัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจบริการทางการเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และหัวหน้าสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า โซลูชันการธนาคารในรูปแบบบริการ (Banking as a Service: BaaS) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศทางการเงินของประเทศโดยช่วยให้ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธนาคารและสถาบันการเงิน บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ สตาร์ทอัพฟินเทค และผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างและนำไปสู่บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ฝังตัวอยู่ในแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพิ่มมากขึ้นผ่านการผสมผสานระหว่างการธนาคารแบบดั้งเดิมและเทคโนโลยีที่ช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการทางการเงินและก่อให้เกิดโซลูชันทางการเงินใหม่ ๆ ที่มีต้นทุนต่ำลง
"โซลูชัน BaaS ได้เปลี่ยนการแข่งขันในตลาดบริการทางการเงินของไทยไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเราเห็นการขยายตัวของการใช้โซลูชัน BaaS แทบจะทุกประเภท นำโดยธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินที่นำ BaaS เข้ามาปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและนำเสนอบริการเฉพาะบุคคลได้ตรงจุดมากขึ้น ทำให้เกิดความสะดวกในการรับบริการทางการเงิน เช่น ธนาคารเชื่อมต่อกับบริษัทแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพื่อปล่อยกู้หรือให้บริการประกันภัยจากการสั่งซื้อที่มีมูลค่าสูง" นางสาว วิไลพร กล่าว
นางสาว วิไลพร กล่าวต่อว่า BaaS ยังเป็นรูปแบบธุรกิจที่สามารถก่อให้เกิดรูปแบบบริการทางการเงินใหม่ ๆ ด้วยการนำธุรกิจบางส่วนของธนาคารออกมาให้บริการเป็น 'as a Service'[1] เช่น การให้กู้ยืมในรูปแบบบริการ Lending as a Service (LaaS) ที่ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มบนคลาวด์ ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถปรับปรุงการดำเนินการให้กู้ยืมและเสนอสินเชื่อให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยส่งมอบบริการสำหรับหน่วยงานภายในองค์กร (back office) และหน่วยงานที่ควบคุมการปฏิบัติงาน (middle office) เช่น การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในรูปแบบบริการ Compliance as a Service และการต่อต้านการฟอกเงินในรูปแบบบริการ AML as a Service นอกจากนี้ ยังทำให้บริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) สามารถเชื่อมต่อกับธนาคารผ่าน API (Application Programming Interface)[2] เพื่อใช้บริการต่าง ๆ ได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของระบบนิเวศทางการเงินของประเทศ เนื่องจากช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ และเปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางการเงินดิจิทัลที่แข่งขันได้ในระดับโลก
ทั้งนี้ นางสาว วิไลพร ยังกล่าวว่า รูปแบบบริการทางการเงินใหม่ ๆ สำหรับธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิมที่สามารถเกิดขึ้นได้จากโซลูชัน BaaS มีดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ BaaS ยังช่วยให้ธนาคารสามารถนำเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นผ่านการขับเคลื่อนด้วย API อีกทั้งเพิ่มโอกาสในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ ๆ จากการเป็นพันธมิตรกับบริษัทฟินเทคและผู้ให้บริการบุคคลภายนอกรายอื่น ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบ (underserved) โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนสูง
"BaaS จะช่วยให้ธนาคารขยายธุรกรรมและบริการทางการเงินระหว่างประเทศได้มากขึ้นผ่านการร่วมมือกับผู้ให้บริการ BaaS ในประเทศเป้าหมาย จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับแบงก์ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดใหม่ และยังเป็นโซลูชันที่ส่งเสริมให้ระบบนิเวศทางการเงินโลกเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น" เธอ กล่าว
ความท้าทายของการประยุกต์ใช้ BaaS
นางสาว วิไลพร กล่าวว่า แม้ BaaS จะเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่สำหรับธนาคารแบบดั้งเดิมและบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน แต่สำหรับประเทศไทยยังมีประเด็นความท้าทายสี่ประการในการนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ดังต่อไปนี้
"ผู้นำธุรกิจควรเลือกผู้ให้บริการ BaaS ที่มีการเก็บข้อมูลที่ดี มีมาตรการรักษาความปลอดภัย และได้รับการรับรองด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดสากล?นอกจากนี้ ควรติดตั้ง API และใช้กลไกการตรวจสอบยืนยันสิทธิและการอนุญาตที่มีประสิทธิภาพ สุดท้าย ต้องมีการควบคุมการเข้าถึงที่เข้มงวด และทดสอบการเจาะเข้าระบบอยู่เป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตี และยังเป็นการยกระดับความไว้วางใจให้กับผู้ใช้บริการทางการเงินดิจิทัลอีกทางหนึ่งด้วย" นางสาว วิไลพร กล่าว
[1] What is XaaS (anything as a service)?, TechTarget
[2] API คืออะไร?, AWS