Inti Labs บุกเบิกนวัตกรรมการย้ายตัวอ่อนแบบไม่รุกล้ำครั้งแรกของโลก เพิ่มอัตราความสำเร็จการทำเด็กหลอดแก้วในไทย

ข่าวทั่วไป Wednesday October 30, 2024 15:15 —ThaiPR.net

Inti Labs บุกเบิกนวัตกรรมการย้ายตัวอ่อนแบบไม่รุกล้ำครั้งแรกของโลก เพิ่มอัตราความสำเร็จการทำเด็กหลอดแก้วในไทย

Inti Labs บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งมั่นในการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้ว (In vitro fertilization: IVF) เปิดตัวเทคโนโลยีการทดสอบทางพันธุกรรมใหม่ที่จะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จให้กลุ่มคนไข้ IVF ในประเทศไทย โดยเทคโนโลยีการทดสอบนี้จะช่วยกำหนดเวลาที่เหมาะสมและแม่นยำสำหรับย้ายตัวอ่อน ซึ่งนำไปสู่อัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น ลดความจำเป็นในการทำรอบทดสอบของการย้ายตัวอ่อน (Mock cycle) รวมถึงลดภาระค่าใช้จ่ายที่ครอบครัวต้องเผชิญ และกระบวนการอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น

อัตราการเกิดในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่เพียง 500,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 70 ปี ด้วยอัตรการเกิดลดลงทั่วทั้งเอเชียและทั่วโลก ประเทศไทยจึงกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายที่หน้าสนใจสำหรับการรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีอย่าง IVF

ถึงอย่างนั้น แม้จะมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ แต่กระบวนการ IVF ก็ยังคงเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ รวมไปถึงการระบุช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายตัวอ่อน ด้วยวิธีการอย่างการตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก (ERA) จำเป็นจะต้องเตรียมผนังมดลูกและตัดชิ้นเนื้อเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อนำไปตรวจหาช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการย้ายตัวอ่อน ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เวลานานและไม่สะดวกสบาย อาจทำให้เกิดความล่าช้าและมีค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับครอบครัว

ดร. เอริค ปก หยาง (Dr. Eric Pok Yang) ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของ Inti Labs กล่าวว่า "เป้าหมายของ Inti Labs คือการแก้ปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ โดยการระบุช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการย้ายตัวอ่อน (window of implantation: WOI) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การทำ IVF ประสบความสำเร็จ ด้วยเทคโนโลยี ORA(TM) ที่เป็นการตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกแบบไม่รุกล้ำร่างกายครั้งแรกของโลก โดยใช้เพียงตัวอย่างเลือด เรามีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การทำ IVF ด้วยวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์ และลดความเครียดทางอารมณ์และการเงินที่เกิดจากกระบวนการทำ IVF ซ้ำ ๆ หลายรอบ

ORA(TM) (Optimal Receptivity Analysis) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยในกระบวนการรักษาภาวะการมีบุตรยาก เนื่องจากมีหลายครอบครัวที่ต้องเผชิญกับความผิดหวังในการทำ IVF หลาย ๆ ครั้งจากการย้ายตัวอ่อนในเวลาที่ไม่เหมาะสม เพราะเหตุนี้ Inti Labs จึงอยากนำเสนอ ORA(TM) ให้เป็นหนึ่งในโซลูชันทางเลือกที่จะช่วยพัฒนาวิธีการรักษาของผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยาก

ด้วยผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ORA(TM) สามารถ

  • ตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพและรุกล้ำร่างกายน้อยผ่านการเจาะเลือดตรวจ โดยไม่จำเป็นต้องเก็บชิ้นเนื้อจากเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ระบุช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการย้ายตัวอ่อนได้อย่างแม่นยำถึง 95%
  • เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปวิเคราะห์ในอนาคต เพื่อแจ้งให้ผู้ป่วยและแพทย์ทราบระยะเวลาที่เหมาะสมในระหว่างรอบการย้ายตัวอ่อนที่เหมาะสมครั้งต่อไป ซึ่งช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง ORA(TM)

ORA(TM) เป็นการวิเคราะห์ไมโครอาร์เอ็นเอ (micro RNAs: miRNA) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่มีความเสถียรในเลือด และเป็นตัวบ่งชี้สภาพทางสรีรวิทยาที่เชื่อถือได้ รวมถึงสามารถระบุสถานะความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ORA(TM) ถูกพัฒนาโดยผ่านการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยสามารถประเมินความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกได้อย่างแม่นยำผ่านการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดเท่านั้น

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน 2 ท่าน ดร.วิกเตอร์ อัมโบรส และ ดร.แกรี รัฟกัน ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ จากผลงานการค้นพบว่า miRNA เป็นโมเลกุลที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมกิจกรรมของยีน และการทำงานของเซลล์ การวิจัยนี้ส่งผลกระทบต่อหลายด้านของชีววิทยาและทางการแพทย์ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ miRNA ในสาขาต่าง ๆ รวมถึงด้านการเจริญพันธุ์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ สนับสนุนแนวทางของเทคโนโลยี ORA(TM) และเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของ Inti Labs ในการพัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุนการดูแลผู้ป่วยภาวะมีบุตรยาก ผ่านการวิเคราะห์ miRNA ขั้นสูง

Inti Labs ได้ใช้ประโยชน์จากชีวสารสนเทศขั้นสูงและระบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์ ในการพัฒนา ORA(TM) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการทดสอบที่วิเคราะห์ระดับ miRNA เพื่อคาดการณ์เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน โดยการวิเคราะห์รูปแบบ miRNA ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์สามารถระบุช่วงเวลาที่เยื่อบุโพรงมดลูกตอบสนองต่อการฝังตัวของตัวอ่อนได้แม่นยำที่สุด ซึ่งช่วยให้สามารถย้ายตัวอ่อนได้ในเวลาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ

ORA(TM) เหมาะกับผู้ที่มีประวัติการฝังตัวอ่อนไม่สำเร็จหรือเคยแท้งบุตรมาก่อน ผู้ที่มีตัวอ่อนคุณภาพสูงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัว และรวมไปถึงผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

การก้าวข้ามภาวะมีบุตรยาก สู่การพัฒนาการดูแลภาวะมีบุตรยาก

ผู้ริเริ่มคิดค้นนวัตกรรมล้ำสมัยของ Inti Labs คือ ดร.เอริค ปก หยาง ซึ่งประสบการณ์ในการเป็นพ่อในวัย 41 ปี ทำให้เขาเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความท้าทายที่ผู้ป่วยและครอบครัวต้องเผชิญต่อปัญหาภาวะมีบุตรยาก ด้วยแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ส่วนตัวของเขาเอง ดร.หยาง จึงอุทิศเวลาหลายปีในการค้นคว้าและวิจัยสาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก และพัฒนาวิธีการวินิจฉัยเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ในระหว่างการศึกษาวิชาการที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส และโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ดร.หยาง มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไมโครอาร์เอ็นเอ โดยระบุถึงศักยภาพของไมโครอาร์เอ็นเอในฐานะไบโอมาร์กเกอร์ (Biomarker) หรือ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเฉพาะ ที่ไม่รุกล้ำร่างกายสำหรับการประยุกต์ใช้ในด้านสุขภาพสืบพันธุ์และมะเร็งวิทยา

ในระหว่างการวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการ IVF ดร.หยางได้ติดตามผลงานของ ดร.แบร์รี เบหร์ (Barry Behr) ผู้ร่วมก่อตั้ง Igenomix USA ซึ่งเป็นผู้นำด้านพันธุศาสตร์การเจริญพันธุ์ อย่างใกล้ชิด โดย ดร.เบหร์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นวิธีการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจำนวนมากที่ใช้ในปัจจุบัน และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบไทม์แลปส์ (Time-lapse machine) ที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA ระบบแรก เพื่อคาดการณ์ว่าตัวอ่อนในวันที่3 วัน จะสามารถเติบโตเป็นตัวอ่อนอายุ 5 วันได้สำเร็จหรือไม่

ดร.หยาง และ ดร.เบหร์ ได้ร่วมก่อตั้ง Inti Labs โดยทั้งคู่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการช่วยให้คนไข้ได้กลายเป็นพ่อแม่โดยเร็วที่สุดและลำบากน้อยที่สุด พวกเขาเล็งเห็นอนาคตของ IVF ว่าเป็น "IVF 2.0" โดยมุ่นเน้นไปที่ความก้าวหน้าสำคัญ 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การระบุช่วงเวลาการฝังตัวอ่อนเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย ORA(TM) 2) การจัดระดับไข่ตามคุณภาพ และ 3) การทำให้กระบวนการทำ IVF เป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนและทำให้คนไข้ทั่วโลกเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://intilabs.com/


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ