โอเปร่า (opera) หรืออุปรากร ศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง ที่รวมศิลปะหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ ดนตรีซึ่งประกอบด้วยการขับร้องและการบรรเลงโดยวงดุริยางค์ วรรณกรรมที่ใช้เป็นเค้าโครงเรื่องของการแสดงรวมทั้งบทเนื้อร้องการแสดงและการเต้น การออกแบบเครื่องแต่งกายตลอดจนการแต่งหน้าให้เข้ากับท้องเรื่อง การออกแบบฉาก แสง เสียง เพื่อสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมตามท้องเรื่อง
ในวาระฉลองครบรอบ 120 ปี แห่งการก่อตั้งสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้จัดกิจกรรมการแสดงดนตรีพิเศษในชื่อชุด "1907: Rama V European Operatic Journey" ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 - 1 ธันวาคม 2567 ณ หอประชุมสยามสมาคมฯ ถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21)
คณะทำงานได้ศึกษาความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับโอเปร่าของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ค้นพบเรื่องราวการทอดพระเนตรโอเปร่า 7 เรื่องขณะเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2450 ยิ่งอ่านยิ่งพบ ยิ่งเจอยิ่งน่าค้นหา จนเกิดเป็นโชว์สุดพิเศษ "1907: Rama V European Operatic Journey" เพื่อเปิดประสบการณ์มนต์เสน่ห์ของศิลปะการแสดงและดนตรีสำหรับผู้ชมทุกผู้ทุกวัย โดยคณะศิลปินและนักดนตรีมากความสามารถ 50 กว่าชีวิต
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เปิด 5 เหตุผล ที่ควรค่าแก่การมาชมการแสดงดนตรีชุดพิเศษ "1907: Rama V European Operatic Journey" ครั้งนี้
นอกจากเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เผยให้เห็นวัฒนธรรมยุโรปในเวลานั้นแล้ว เนื้อหาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านยังปรากฏรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเสด็จเยือนโรงละครหลายแห่งเพื่อทอดพระเนตรโอเปร่าถึง 7 เรื่อง อันเป็นที่มาของการแสดงชุดพิเศษครั้งนี้
ดร.พีรพัฒน์ อ่วยสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการสร้าง เปิดเผยว่า สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งเสริมการศึกษา แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปะ รวมถึงการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติ โดยในวาระ 120 ปี สยามสมาคมฯ ได้เปิดโอกาสให้ศิลปินนักแสดงหน้าใหม่มากความสามารถ ที่ถือว่าเป็นดาวรุ่งของวงการมากมาย ให้มีพื้นที่แสดงทักษะเพื่อนำเสนออรรถรส ที่มีทั้ง ดราม่า ความสนุกสนานและสีสันมากมาย ในโอเปร่าวาไรตี้โชว์ครั้งนี้ให้ผู้ชมได้รู้สึกอิ่มเอม
คุณธาริน ปริญญาคณิต ผู้กำกับโอเปร่า กล่าวว่า เรื่องราวของในปี ค.ศ.1907 ได้ถูกนำมาร้อยเรียงแล้วนำมาตีความใหม่ เพื่อนำผู้ชมไปหาประสบการณ์ในห้วงเวลานั้นๆ ไปพร้อมๆ กันกับนักแสดง โดยได้ขมวดซีนต่างๆ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมหลากหลาย ที่เชื่อว่าการแสดงกว่า 2 ชั่วโมงนี้จะพาไปสู่ความแปลกใหม่ ที่ให้คนดูได้ใกล้ชิดกับนักแสดงเหมือนการดูละคร เสมือนเราเป็นหนึ่งในเรื่องราวนั้นๆ ไปพร้อมๆ กัน
คุณแดเรน รอยส์ตัน ผู้ออกแบบท่าเต้นและผู้เล่าเรื่องในการแสดง เปิดเผยว่า ความท้าทายในโชว์ครั้งนี้ที่เกี่ยวข้องกับตนเองมี 2 ส่วน ได้แก่ การเล่าเรื่องด้วยภาษา และการเรื่องด้วยท่าเต้น โดยทั้งหมดถูกหลอมรวมเป็นเรื่องเดียวกัน บวกกับคัดสรรเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากพระราชนิพนธ์มาเล่าให้เกิดความสนุก กลายมาเป็นโอเปร่าทั้ง 7 เรื่อง ให้ผู้ชมได้รู้สึกเชื่อมโยงไปพร้อมๆ กัน
ด้าน คุณมู่ หยู นักร้องเสียงโซปราโนชาวจีน เล่าว่า รู้สึกโชคดีมากๆ ที่เวทีแห่งนี้ได้เปิดโอกาสได้ตนมาสวมบทบาทเป็น "โจโจ้ซัง" เกอิชาสาวงามชาวญี่ปุ่น เด็กสาวแสนซื่อ ผู้ได้รับสมญาว่ามาดามบัตเตอร์ฟลาย ยึดมั่นในการสมรสเป็นข้อผูกพันชั่วชีวิต เป็นตัวละครที่เชื่อในความรัก และตัวเองก็เป็นคนที่ศรัทธาในเรื่องความรักเช่นกัน สำหรับโชว์ครั้งพิเศษนี้ ตนจะต้องแสดงอารมณ์ของตัวละครที่ปรับเปลี่ยนขึ้นลงในฉากดราม่าหลายฉาก นับว่าเป็นความท้าทายมากๆ และรู้สึกขอบคุณสำหรับโอกาสที่ได้มาแสดงในสถานที่ที่มีเรื่องราวมาอย่างยาวนานถึง 120 ปี
การแสดงดนตรีพิเศษชุด "1907: Rama V European Operatic Journey" จะจัดขึ้น ณ หอประชุมสยามสมาคมฯ ถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21) รอบแรก ในวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น., รอบที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น., รอบที่ 3 วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น., รอบสุดท้ายวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2557 เวลา 16.00 น. ราคาบัตร 2,000 บาท (ทุกที่นั่ง ไม่ระบุที่นั่ง) และรอบพิเศษเฉพาะนักเรียน นักศึกษา วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.00 น. ราคาบัตร 600 บาท (ทุกที่นั่ง ไม่ระบุที่นั่ง)
เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ที่อีเมล : opera@thesiamsociety.org โทรศัพท์. 02-661-6470 (เฉพาะเวลาทำการ อังคาร-เสาร์ 9.00 - 17.00 น.) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thesiamsociety.org/ หรือเฟสบุ๊ก : TheSiamSocietyUnderRoyalPatronage
รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุนเพื่อพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้