ตามรายงานดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก 2024 หรือ GCI (Global Cybersecurity Index) ประเทศไทยเร่งเครื่องขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 จากอันดับที่ 44 เมื่อปี 2020 โดยประเทศไทยได้รับคะแนนดัชนีปีนี้ 99.22 คะแนน ทำให้ไทยเลื่อนขึ้นมาเป็นประเทศกลุ่มระดับ 1 (Tier 1) ซึ่งมีความสามารถเป็นต้นแบบในการปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
รายงาน GCI 2024 เผยให้เห็นถึงการปรับปรุงที่สำคัญของประเทศต่างๆ ที่กำลังดำเนินการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการทางกฎหมาย ความสามารถทางเทคนิคและกลยุทธ์ ความคิดริเริ่มในการสร้างขีดความสามารถ ความร่วมมือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไซเบอร์ที่เกิดขึ้น
นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "คะแนนดัชนีของประเทศไทยนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของไทยในการปรับปรุงความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ และบริษัทหลักในอุตสาหกรรม แคสเปอร์สกี้ยินดีที่ได้สนับสนุนประเทศไทยในการสร้างความสามารถในการรับมือภัยไซเบอร์ที่สูงขึ้น"
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยกำลังเผชิญกับเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์ที่มาจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากรายงานของ Kaspersky Security Network พบว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายน 2024 มีเหตุการณ์พยายามโจมตีทางไซเบอร์ทั้งหมด 555,373 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 142.02% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023 ที่มีเหตุการณ์ พยายามโจมตี 229,470 ครั้ง
เมื่อพิจารณารายไตรมาส แคสเปอร์สกี้ตรวจพบจำนวนเหตุการณ์พยายามโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสที่ 1 ของปี 2024 (มกราคม - มีนาคม) ตรวจพบเหตุการณ์ 157,935 ครั้ง ไตรมาสที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน) ที่ตรวจพบเหตุการณ์ 196,078 ครั้ง และเหตุการณ์จำนวน 201,360 ครั้งในไตรมาสที่ 3 ของปี 2024 (กรกฎาคม - กันยายน)
ผู้ก่อภัยคุกคามใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกละเมิดเพื่อโฮสต์เว็บไซต์สำหรับส่งมัลแวร์ให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ทันระแวดระวัง โดยอาจถูกหลอกล่อเข้าสู่เว็บไซต์อันตรายโดยใช้โฆษณาปลอม ลิงก์ฟิชชิงในอีเมล SMS และวิธีการอื่นๆ หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของเหยื่อจะถูกสอดส่องเพื่อหาช่องโหว่และละเมิด เมื่อผู้ใช้เจอภัยคุกคามออนไลน์ดังกล่าว โซลูชันของแคสเปอร์สกี้จะตรวจจับและบล็อกภัยคุกคาม และยังค้นหาและวิเคราะห์แหล่งที่มาของภัยคุกคามเหล่านี้ด้วย
เซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจสำหรับการโจมตีทางไซเบอร์เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งกลายเป็นประโยชน์ต่อผู้ก่อภัยคุกคาม
- ความสำคัญทางเศรษฐกิจและดิจิทัล: การใช้งานอินเทอร์เน็ตและบริการดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการใช้งานศูนย์ข้อมูลและระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่ง: รัฐบาลได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างหนัก รวมถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและเครือข่าย 5G ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูล
- ศูนย์ข้อมูล: ประเทศไทยเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ นโยบายของรัฐบาล และศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- ความปลอดภัยของข้อมูล: ความปลอดภัยในศูนย์ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมีความสำคัญ เพราะหากการทำงานหยุดชะงักหรือสูญเสียข้อมูลอาจทำให้เกิดความไม่เสถียรได้
- ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที: ประเทศไทยประสบความสำเร็จเรื่องการดำเนินการตามโครงการสร้างขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะอาจทำให้เกิดความล่าช้าและลดประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และการจัดการภัยคุกคามได้
- ภัยคุกคามซับซ้อน: ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงการโจมตีแบบ Man-in-the-Middle (MITM) การปฏิเสธการให้บริการแบบกระจาย (DDoS) และฟิชชิง สามารถทำให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนตกอยู่ในความเสี่ยงได้
นายเซียง เทียง โยว กล่าวเสริมว่า "แคสเปอร์สกี้ชื่นชมประเทศไทยที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หากแต่สถิติภัยคุกคามเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่มีวันสิ้นสุด ในภูมิทัศน์ดิจิทัลที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือต้องมุ่งมั่นและพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ภาคธุรกิจ และองค์กรต่างๆ ได้รับการปกป้อง เรายังคงมุ่งมั่นร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลไทยอย่างเช่น สกมช. เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการความปลอดภัยไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพผ่านโปรแกรมสร้างขีดความสามารถของบุคลากร โครงการวิจัยและพัฒนา การพัฒนานโยบายและการนำไปปฏิบัติ ตลอดจนแคมเปญสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชน"
คำแนะนำสำหรับองค์กรและธุรกิจทุกขนาดเพื่อปกป้ององค์กรจากภัยไซเบอร์
กระบวนการและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Process and Best Practices)
จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย (Set up a Security Operations Centre)
บุคลากร (People)