มูลนิธิภูมิปัญญาเพื่อสังคม (Wisdom for Society Foundation) ปลื้มความสำเร็จโครงการ "Code Seeder ปลูกฝันเด็กไทยสู่อนาคต" ส่งครูพันธุ์ใหม่ 100 คน ผ่านการฝึกอบรมวิชา Coding และ Scratch ส่งต่อความรู้ไปสู่เด็กนักเรียนกว่า 7,000 คนทั่วประเทศ หวังต่อยอดทางการศึกษา ขยายผลเชิงบวกต่อสายงาน STEM ต่อยอดทักษะสำหรับอนาคตแก่เยาวชนพร้อมก้าวทันการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลกยุคใหม่
นายนาถ ลิ่วเจริญ ประธานมูลนิธิภูมิปัญญาเพื่อสังคม (Wisdom for Society Foundation) เปิดเผยว่า "นับตั้งแต่การเริ่มต้นโครงการ 'Code Seeder สร้างครูพันธุ์ใหม่ ปลูกฝันเด็กไทยสู่อนาคต' ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้อบรมครูผู้สอนวิชา Computing Science กว่า 100 คน และส่งต่อความรู้ไปยังนักเรียนกว่า 7,000 คนทั่วประเทศ ถือเป็นการวางเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา (Seed of Wisdom) เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับอนาคตของพวกเขา และต่อสังคมเรา โดยเน้นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดเชิงคำนวณ วิธีการคิดอย่างเป็นระบบ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญให้เยาวชนไทยพร้อมสำหรับอาชีพในสาขา STEM ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และงานในคลาวด์คอมพิวติ้ง โครงการนี้จึงไม่ใช่แค่การอบรม แต่คือการสร้างการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อให้เด็กไทยมีโอกาสเข้าถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีและร่วมสร้างอนาคตที่ดีให้กับสังคมไทยของเรา"
จากข้อมูลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พ.ศ. 2564 พบว่าครูผู้สอนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการถ่ายทอดวิชา Coding ไปสู่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ขาดสื่อการสอนที่เหมาะสม และเครือข่ายสนับสนุนที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ส่งผลให้ผู้เรียนขาดความเข้าใจในเนื้อหาที่นำไปใช้ได้จริง มูลนิธิภูมิปัญญาเพื่อสังคม (Wisdom for Society Foundation จึงได้จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะด้าน Coding ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567 โดยเน้นอบรมครูผู้สอนวิชา Computing Science ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 กว่า 100 คนจาก 20 โรงเรียนในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และอยุธยา ผ่านหลักสูตรมาตรฐานสากล ครอบคลุมเนื้อหา Coding และ Scratch เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย มีประสิทธิภาพ และช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะและการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน โดยการวางรากฐานการสอนที่ยั่งยืนเพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้แก่เด็กไทย"
นับตั้งแต่ปี 2565 โครงการ "Code Seeder" ได้พิสูจน์ความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ด้าน Coding สู่เยาวชนไทย โดยมีนักเรียนกว่า 700 คนทั่วประเทศที่ได้รับโอกาสเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต ล่าสุดในปีนี้ โครงการยังได้จัดการแข่งขันประชันไอเดียจาก 20 โรงเรียนทั่วประเทศ เปิดเวทีให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 นำเสนอผลงานการพัฒนาเกมที่พวกเขาสร้างขึ้นเอง ผู้ชนะเลิศระดับ ป.4 ได้แก่ นักเรียนจากโรงเรียนวัดหอมเกร็ด จังหวัดนครปฐม และระดับ ม.1 ได้แก่ นักเรียนจากโรงเรียนปรีดารามวิทยาคม จังหวัดนครปฐม โครงการนี้ไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ แต่ยังสะท้อนให้เห็นว่า "Code Seeder" คือกระบวนการที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์เชิงบวกจริงในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจุดประกายแรงบันดาลใจไปจนถึงการพัฒนาหลักสูตรการสอนและการอบรมที่มีมาตรฐาน ทำให้ครูและนักเรียนมีทักษะในการเขียนโค้ดที่นำไปใช้ได้จริงและเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ทั้งในห้องเรียนและการแข่งขัน นำไปสู่การเสริมสร้างความพร้อมของเยาวชนไทยในการก้าวสู่อนาคตอย่างมั่นใจและมีคุณภาพ
"ความคืบหน้าข้างต้นเกิดขึ้นจากการที่เราปรับวิธีคิดที่มีแกนหลัก 3 ประการ" 1) พัฒนาศักยภาพครู เพิ่มทักษะการสอน Coding เพื่อวางรากฐานการเรียนรู้ที่แข็งแกร่ง 2) ปลูกฝังทักษะ Coding ให้เยาวชน ซึ่งเป็นอาวุธสำคัญสู่เส้นทางอาชีพสาย STEM และ 3) มุ่งขยายโครงการต่อเนื่อง เพิ่มหลักสูตรและจำนวนครูเพื่อให้เยาวชนไทยเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความสำเร็จครั้งนี้ไม่เพียงแต่ยกระดับครู แต่ยังเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่นักเรียน ปลูกฝัง Coding เพื่ออนาคตที่มั่นคงในสาย STEM พร้อมวางแผนต่อยอดโครงการให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยต่อไป" นายนาถกล่าวปิดท้าย