"เล็กพริกขี้หนู" หรือ "จิ๋วแต่แจ๋ว" คงเป็นนิยามของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR (Small Modular Reactor) สำหรับคนที่รู้จัก SMR แล้ว
แต่สำหรับคนที่ไม่รู้จัก SMR มาก่อนอาจจะสงสัยและกังวลขึ้นมา เพราะชื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ "ภาพจำที่ชัดเจน" ของประสบการณ์ในอดีตคงย้อนกลับมาอย่างรวดเร็วว่าเกิดเหตุการณ์อะไรกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันบ้าง ซึ่งการเกิดเหตุการณ์ในอดีตเป็นยุคของการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีมาตั้งแต่ 3 ยุคแล้ว ยุคที่ 1 โปโตไทป ยุคที่ 2 ประมาณปี 1970 ยุคที่ 3 ประมาณปี 2000 และยุค SMR คือยุค 3 + ที่ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้มีความปลอดภัย และมีความทันสมัยมากขึ้น โดยลืมภาพจำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ต้องมีขนาดใหญ่เท่านั้นไปได้เลย
สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR คือ เตาปฏิกรณ์ที่มีกำลังการผลิตที่น้อยกว่า 300 เมกะวัตต์ โดยออกแบบให้เป็นโมดูลที่ผลิตมาจากโรงงาน และนำไปประกอบติดตั้งในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้เปรียบคือต้นทุนการผลิตต่อชิ้นต่ำ ใช้เวลาในการก่อสร้างชิ้นงานสั้นลง ความซับซ้อนของระบบน้อยกว่า จึงใช้เวลาในการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรน้อยกว่า เงินลงทุนต่ำกว่า ความปลอดภัยในการดำเนินงานดีกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ สามารถนำไปประยุกต์ในภาคอุตสาหกรรมได้ง่าย เช่น การผลิตน้ำจืดขนาดใหญ่ และการผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่มักมีข้อจำกัดอยู่มาก นักฟิสิกส์และวิศวกรนิวเคลียร์จึง "ตัดมุมกลับ" โดยออกแบบเตาปฏิกรณ์ให้เล็กลงจนมีขนาดไม่เกิน 300 เมกกะวัตต์
สำหรับ SMR ที่ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ SMR ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว ได้มีการสร้างและติดตั้งในอุปกรณ์ทางการทหารมามากกว่า 50 ปี เช่น นำไปติดตั้งในเรือดำน้ำนิวเคลียร์ เรือบรรทุก เครื่องบินนิวเคลียร์ เครื่องผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ภาคสนาม เป็นต้น และได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแอดวานส์นิวเคลียร์รีแอคเตอร์ ซึ่ง SMR ที่เข้าข่ายจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ
และเมื่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในภาพจำของเราเปลี่ยนไปเป็น SMR นักวิชาการจึงได้ประมวลข้อดีไว้ ดังนี้
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.thaiphysoc.org/article/93/
นอกจากนั้นหากเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วไป กับ SMR มีความเหมือนและแตกต่างกัน สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนได้ตามตารางที่แสดง
สิ่งที่เหมือนกันและดีต่อสิ่งแวดล้อม คือ การไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ เพราะเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ คือพลังงานสะอาด สำหรับประเทศไทยเองแม้เป็นประเทศเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจที่เดินหน้าผลิตไฟฟ้าด้วย SMR เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ จีน รัสเซีย แต่ประเทศไทยโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ยังคงเดินหน้าศึกษา และเตรียมความพร้อมอยู่เสมอในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อก้าวไปสรรหาพลังงานใหม่ ในการผลิตไฟฟ้าที่ไม่เพียงแต่การสร้างความสุขให้กับคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการก้าวไปสู่ความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าให้คนไทยมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืนต่อไป
บทความโดย รศ.ดร.ภิญโญ มีชำนะ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน