ต้อกระจก เกิดจากความเสื่อมของเลนส์แก้วตา โดยคนส่วนใหญ่ประมาณ 80% จะเริ่มมีอาการหลังอายุ 60 ปี แต่ก็มีผู้ป่วยประมาณ 20% ที่เกิดต้อกระจกก่อนวัย ซึ่งมักมีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
- อุบัติเหตุที่ดวงตา เช่น การกระแทกที่ดวงตาหรือเบ้าตาโดยตรง
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง หรือการขาดสารอาหารบางชนิด
- แสง UV แต่ว่าสมัยนี้เรามีโอกาสที่จะสัมผัสกับแสงอีกคลื่นหนึ่งที่เรียกว่าเนียร์ยูวี ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่มีความถี่สูงใกล้เคียงกับแสง UV คลื่นแสงนี้จะมาจากจอต่างๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
- สารพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สเตียรอยด์ ยาลดความอ้วนบางชนิด หรือสารพิษจากบุหรี่และแอลกอฮอล์
ผู้ป่วยต้อกระจกมักมีอาการตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน โฟกัสยาก หรือบางคนอาจมีอาการแพ้แสง มองเห็นไม่ชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
การรักษาในระยะแรกอาจให้ผู้ป่วยใส่แว่นหรือใช้ยาหยอดเพื่อชะลอความเสื่อม แต่ถ้าเลนส์ขุ่นมากจนส่งผลต่อการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวัน การผ่าตัดจึงเป็นทางเลือกที่จะทำให้ผู้ป่วยมองเห็นได้ดีขึ้น โดยแพทย์จะสลายเลนส์เก่าที่ขุ่นมัวออกไป แล้วใส่เลนส์เทียมตัวใหม่ที่ใสเข้าไปแทน โดยเลนส์เทียมจะทำหน้าที่แทนเลนส์เดิมไปตลอดชีวิต
ต้อกระจกไม่ได้เกิดแค่ในผู้สูงอายุ ทำงานหน้าจอนานๆ ระวังเป็น คลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2409