ผลการศึกษาล่าสุดจาก Traveloka เผยให้เห็นแนวโน้มการท่องเที่ยวที่กำลังเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ข่าวท่องเที่ยว Monday December 16, 2024 15:23 —ThaiPR.net

ผลการศึกษาล่าสุดจาก Traveloka เผยให้เห็นแนวโน้มการท่องเที่ยวที่กำลังเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  • ผลสำรวจจากคนกว่า 12,000 คนใน 9 ประเทศ ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมการเที่ยวกำลังเปลี่ยนไป ทั้งเรื่องการเลือกราคาที่คุ้มค่าและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังส่งผลต่อทิศทางการท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิก
  • สำหรับประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวยังคงให้ความสำคัญกับราคาเป็นอันดับแรก โดยส่วนใหญ่นิยมตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและโปรโมชันพิเศษ

Traveloka (ทราเวลโลก้า) แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับ YouGov ได้เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุดในหัวข้อ "Travel Redefined: Understanding and Catering to the Diverse Needs of APAC Travellers" หรือ "การท่องเที่ยวในมิติใหม่: ทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก" การศึกษานี้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 12,000 คนจาก 9 ประเทศ(1) โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยกว่า 2,000 คน ผลการศึกษาเผยให้เห็นถึงพฤติกรรมและความชอบในการท่องเที่ยวที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อวงการการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) นอกจากนี้ ผลการศึกษายังให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริง เพื่อคาดการณ์แนวโน้มและสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีคุณค่าในปี 2568 และอนาคต

ซีซาร์ อินทรา ประธานบริษัท Traveloka กล่าวว่า "ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเต็มไปด้วยโอกาสมากมาย แต่ความหลากหลายของภูมิภาคนี้ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และความละเอียดอ่อนในการเข้าถึง การเข้าใจความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรานำข้อมูลเชิงลึกมาพัฒนากลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างแท้จริง"

นักท่องเที่ยวในประเทศไทย: ชอบการเดินทางที่ใส่ใจความยั่งยืนและธรรมชาติ

ผลการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย โดย 85% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า พวกเขาจะเลือกตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรกหากมีให้เลือก ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค (80%) ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจสำหรับที่พักและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวที่เน้นความยั่งยืน

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวในประเทศไทยยังแสดงความชื่นชอบต่อสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดย 72% สนใจภูเขาและอุทยานแห่งชาติ ในขณะที่ 65% ชื่นชอบชายหาดและสถานที่ท่องเที่ยวริมทะเล สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นที่นิยมมากขึ้น

การท่องเที่ยวภายในประเทศกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จากการสำรวจพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ (70%) ชื่นชอบการท่องเที่ยวภายในประเทศมากกว่า โดยให้เหตุผลหลักว่าประหยัดค่าใช้จ่ายและสะดวกสบายกว่า (63%) แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นของสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ และกาญจนบุรี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจที่เพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยวภายในประเทศไทย

ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ

เช่นเดียวกับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ราคาเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศไทย ผลการสำรวจพบว่า 41% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ความสามารถในการจ่ายเป็นสิ่งที่พิจารณาเป็นอันดับแรกเมื่อเลือกที่พัก นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับราคายังส่งผลต่อการเลือกจุดหมายปลายทางด้วย โดย 32% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยยินดีพิจารณาสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน หากมีข้อเสนอที่น่าสนใจ เช่น โปรโมชันหรือส่วนลดพิเศษ

สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทสำคัญในการวางแผนท่องเที่ยว

เมื่อพูดถึงเครื่องมือดิจิทัลสำหรับการวางแผนการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวในประเทศไทยส่วนใหญ่ (46%) นิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นหลัก ในขณะที่อีก 37% เลือกใช้แพลตฟอร์มการจองการเดินทาง เช่น Traveloka ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการจองและมอบตัวเลือกที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

เงินสดยังเป็นที่หนึ่ง

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์หรือญี่ปุ่น ประเทศไทยมีอัตราการใช้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ค่อนข้างต่ำ โดยผลสำรวจพบว่า 72% ของนักท่องเที่ยวยังคงนิยมใช้เงินสด ในขณะที่มีเพียง 43% ที่เลือกใช้บัตรเครดิต


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ