ในปี 2567 มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การผลักดันให้ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยหรือ Thailand i4.0 Index เกิดการขยายผลในระดับชาติ โดยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นชอบในวันที่ 2 เม.ย. 67 ให้นำเข้า ครม. เพื่อเห็นชอบให้Thailand i4.0 Index เป็นมาตรฐานในการยกระดับความพร้อมอุตสาหกรรมของไทยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ออกมาตรการยกระดับอุตสาหกรรมโดยใช้ผลการประเมิน Thailand i4.0 Index เป็นเกณฑ์การพิจารณา ผู้ประกอบการสามารถนำเงินลงทุน 100% ไปหักจากภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 3 ปี และกรมโรงงานอุตสาหกรรมใช้เป็นเงื่อนไขในการขอรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 โดยให้ผู้ประกอบการประเมินอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยตัวเองผ่านระบบ Thailand i4.0 CheckUp โดยผู้ประกอบการสามารถใช้งานได้แล้ววันนี้ ผ่านเว็บไซต์ www.nstda.or.th/i4platform และเข้าไปยังi4.0 Checkup ซึ่งเป็นระบบ Online Self-Assessment โดยสามารถป้อนข้อมูลและรับผลการประเมิน ได้ทันที ส่วนผู้ประกอบการที่ต้องการรับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก สามารถสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์SMC เพื่อรับการประเมินได้ฟรี
ก้าวต่อไปของ SMC: เป้าหมาย แผนงาน และกิจกรรม ในปี 2568
ในปี 2568 SMC มีเป้าหมายสำคัญในการต่อยอดผลการประเมินพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยดัชนี้ชี้วัด Thailand i4.0 Indexเพื่อการพัฒนาไปสู่ แผนการและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างเป็นระบบ ได้แก่
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (DX Roadmap) SMC จะใช้ข้อมูลการประเมินพร้อมอุตสาหกรรม 0 ด้วยดัชนี้ชี้วัด Thailand i4.0 Index มาเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการออกแบบแผนในการทำ Digital Transformation สู่อุตสาหกรรรม 4.0 อย่างเป็นขั้นตอนครอบคลุมทุกกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งแต่ การบูรณาการระบบและการจัดการภายในองค์กร การจัดการทรัพยากร การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น
การนำแผนไปปฏิบัติจริง (Implementation) เป้าหมายไม่ได้หยุดอยู่แค่การวางแผน แต่จะเน้นไปที่การนำแผนดังกล่าวไปปฏิบัติจริงในโรงงาน โดย SMC มุ่งเน้นสนับสนุนการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในโรงงาน เช่น IoT, AI, และระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน การผลิต ลดของเสีย และลดการใช้พลังงาน
การพัฒนาศักยภาพบุคลากร หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการทำ Digital Transformation ในภาคอุตสาหกรรมให้สำเร็จ คือ การสร้างความพร้อมให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรม โดย SMC มุ่งพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมผ่าน SMC Academy เพื่อให้บุคลากรสามารถปรับตัวและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการก้าวสู่อุตสาหกรรม 0
การสนับสนุนแนวคิดการผลิตที่ยั่งยืน แผนงาน DX Roadmap & Implementation จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืน โดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก SMC พัฒนา ACAMP หรือ Automated Carbon Accounting Management Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการบริหารจัดการคาร์บอนแบบอัตโนมัติ สามารถติดตามข้อมูลคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรแบบเรียลไทม์ บันทึกและจัดเก็บข้อมูลปีฐาน ช่วยให้เห็นภาพรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ในทันที สามารถใช้ในการวางแผน การลดต้นทุนการผลิตและติดตามการใช้ทรัพยากรอย่างใกล้ชิด