กรุงไทย ขานรับมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 กระตุ้นเศรษฐกิจปี 68 ชูบริการ Krungthai e-Tax Invoice / e-Receipt

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday January 14, 2025 11:39 —ThaiPR.net

กรุงไทย ขานรับมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 กระตุ้นเศรษฐกิจปี 68 ชูบริการ Krungthai e-Tax Invoice / e-Receipt

กรุงไทย ขานรับมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 กระตุ้นเศรษฐกิจปี 68 ชูบริการ Krungthai e-Tax Invoice / e-Receipt พร้อมข้อเสนอพิเศษ ฟรี!! ค่าธรรมเนียมแรกเข้า อำนวยความสะดวกให้ร้านค้าออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

ธนาคารกรุงไทย เดินหน้าขานรับมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ของภาครัฐ กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนหนุนเศรษฐกิจโตช่วงต้นปี ด้วยบริการ Krungthai e-Tax Invoice / e-Receipt ผ่านแพลตฟอร์ม Krungthai BUSINESS ที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สะดวก ปลอดภัย และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME ร้านค้า ห้างร้าน และธุรกิจทุกขนาด สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว พร้อมเพิ่มยอดขายและขยายโอกาสทางธุรกิจ โดยสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ พร้อมรับโปรโมชันพิเศษ ฟรี ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมต่อรายการในอัตราพิเศษ ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568

นายธวัชชัย ชีวานนท์ ประธานผู้บริหาร Product & Business Solutions ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าธนาคารกรุงไทยขานรับมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของประชาชนปี 2568 ซึ่งเปิดให้นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ได้ยกระดับการให้บริการเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทุกระดับ ตั้งแต่ร้านค้า วิสาหกิจชุมชน ร้านค้า OTOP ผู้ประกอบการ SME ตลอดจนธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูปแบบตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านบริการ Krungthai e-Tax Invoice / e-Receipt ที่เชื่อมต่อการทำงานอย่างครบวงจรบนแพลตฟอร์ม Krungthai BUSINESS เพื่อช่วยลดต้นทุนและอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสมัครใช้บริการและขั้นตอนการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของธนาคารในการสนับสนุนธุรกิจทุกขนาดให้เติบโตได้อย่างมั่นคง พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น

ธนาคารกรุงไทย เป็นธนาคารพาณิชย์รายแรกที่ได้รับการรับรองเป็นผู้ให้บริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ระดับสูง (e-Tax Service Provider Advanced) จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และกรมสรรพากร ซึ่งทำให้สามารถลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ในนามของธนาคารแทนผู้ประกอบการได้ทันที โดยบริการ Krungthai e-Tax Invoice / e-Receipt ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำเอกสารและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้สะดวก ปลอดภัย และลดต้นทุน ผ่านแพลตฟอร์ม Krungthai BUSINESS โดยมีคุณสมบัติเด่น ดังนี้

  • รองรับช่องทางการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของลักษณะการทำธุรกรรมของผู้ประกอบการ ทั้งการทำรายการผ่านหน้าจอ Portal และการส่งข้อมูลผ่าน API เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน
  • สมัครใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ให้พลาดโอกาสทางธุรกิจ หรือการเข้าร่วมโครงการและมาตรการต่างๆ ด้วยทีมที่ปรึกษาที่พร้อมดูแลในทุกขั้นตอน
  • มั่นใจด้วยมาตรการความปลอดภัยระดับสากล หมดกังวลเรื่องการปลอมแปลงแก้ไขเอกสาร พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน e-Tax Portal
  • ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดทำเอกสาร การออกใบกำกับภาษี รวมถึง ลดขั้นตอนในการนำส่งเอกสารในรูปแบบกระดาษไปยังคู่ค้า

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาบริการดังกล่าว ธนาคารมั่นใจว่าบริการ Krungthai e-Tax Invoice / e-Receipt จะตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ SME ร้านค้าขนาดเล็ก วิสาหกิจชุมชน ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ สำหรับธุรกิจที่ไม่มีระบบเชื่อมต่อก็สามารถใช้งานผ่านหน้าจอบนแพลตฟอร์ม Krungthai BUSINESS ได้ทันที ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการเชื่อมต่อด้วย API ก็สามารถดำเนินการผ่านระบบจัดการข้อมูลภายในของบริษัทได้เช่นกัน

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสมัครใช้บริการ Krungthai e-Tax Invoice / e-Receipt ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 ฟรี ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมต่อรายการในอัตราพิเศษ พร้อมรับตราสัญลักษณ์ E-TAX INVOICE & RECEIPT ตามที่กรมสรรพากรกำหนด และรับสติ๊กเกอร์โครงการ EASY E-Receipt เพื่อนำไปติดที่หน้าร้านหรือจุดรับชำระเงินต่างๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ Krungthai Corporate Contact Center 02-111-9999 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://krungthai.com/link/krungthai-e-tax-pr


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ