Bitget เผยเทรนด์คริปโทปี 2025 แพลตฟอร์มซื้อขายแบบกระจายศูนย์ (DEX) และการผสมผสานการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) เข้ากับสถาบันการเงินดั้งเดิมมีแนวโน้มมาแรง หลังสถาบันการเงินดั้งเดิมยื่นข้อเสนอให้ผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อเอื้อสถาบันการเงินเข้าร่วมและออกผลิตภัณฑ์การเงินที่เกี่ยวข้อกับคริปโทเสิร์ฟลูกค้า ด้าน Bitget ปรับตัวรองรับเทรนด์นี้ด้วยการผนึกรวม DEX เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ (CEX) รวมถึงให้ความสำคัญกับกองทุนคุ้มครองผู้ใช้งานสร้างการยอมรับให้กับสถาบันการเงิน
นายไรอัน ลี ( Ryan Lee )หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ ของ บิตเก็ต (Bitget) แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีและบริษัท Web3 ชั้นนำของโลก เปิดเผยว่าเทรนด์ที่จะมาแรงในตลาดคริปโทปี 2025 ที่น่าจับตา คือแพลตฟอร์มซื้อขายแบบกระจายศูนย์หรือ Decentralized Exchange (DEX) ที่จะมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นจากกระแสความต้องการเพิ่มความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานที่ต้องการจัดการสินทรัพย์ของตัวเองตามแนวทางของการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท การฝากสินทรัพย์เพื่อเสริมสภาพคล่องและรับผลตอบแทน (Yield Farming )และ การซื้อขายคริปโตข้ามบล็อกเชน ( Cross-chain Trading)
อย่างไรก็ตามความท้าทายของการที่ผู้ใช้งานดูแลจัดการสินทรัพย์ของตัวเองคือโอกาสที่จะถูกหลอกลวง (Scam) ตลอดจนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจาก Smart Contracts (สัญญาอัจฉริยะ) รวมถึงความท้าทายของแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่อการยอมรับของสถาบันการเงินดั้งเดิมจากข้อเสนอล่าสุดจากสถาบันประกันเงินฝากของสหรัฐอเมริกา (FDIC) เกี่ยวกับการผ่อนปรนกฎระเบียบด้านคริปโทซึ่งมีโอกาสที่จะผลักดันการยอมรับคริปโทในระดับสถาบันอย่างมีนัยสำคัญรวมถึงการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์การเงินที่เกี่ยวข้องกับคริปโต
นางสาวเกรซี่ เฉิน (Gracy Chen) กรรมการผู้จัดการของ บิตเก็ต (Bitget) กล่าวว่า Bitget ได้เตรียมพร้อมที่จะปรับตัวเข้าสู่เทรนด์ในปีนี้ในด้านการเติบโตของแพลตฟอร์มซื้อขายแบบกระจายศูนย์หรือ DEX โดยการนำเสนอบริการแบบไฮบริดที่นำจุดเด่นของ DEX ผสมผสานกับแพลตฟอร์มซื้อขายแบบรวมศูนย์ (CEX) โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการใช้งาน DeFi ผ่านแพลตฟอร์ม Bitget ได้อย่างสะดวกเพียงแค่เลือกไปที่โหมด Web3 ก็จะสามารถควบคุมการใช้งานกระเป๋าเงินดิจิทัลด้วยตัวเองได้
"ในด้านของมาตราการรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้งาน Bitget ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างนวัตกรรมและการปกป้องนักลงทุนอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการต่างๆ ซึ่งรวมถึงกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนซึ่งเติบโตจาก 300 ล้านดอลลาร์ในปี 2565 เป็น 643 ล้านดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน 2567 เป็นการเน้นย้ำถึงการมุ่งเน้นด้านความปลอดภัยของสินทรัพย์ในช่วงที่ตลาดผันผวน" นางสาวเกรซี่ เฉิน กล่าว
นอกจากนี้ยังร่วมเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานต่างๆ เช่น Chainalysis บริษัทวิจัยด้านบล็อกเชนช่วยเพิ่มการจัดการความเสี่ยงและการตรวจสอบธุรกรรมแบบเรียลไทม์ ในขณะที่การให้ความรู้แก่ผู้ใช้ ขั้นตอน KYC ที่เข้มงวด และการรักษาสัดส่วนของ Proof of Reserves ให้อยู่ในระดับหนึ่งต่อหนึ่งช่วยให้มั่นใจถึงความโปร่งใสและความไว้วางใจให้กับลูกค้า
"การกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้นมีส่วนทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มขึ้นและยังช่วยลดการฉ้อโกงและการหลอกลวง ส่งเสริมการใช้งานในวงกว้างตลอดจนลดความซับซ้อนในการเข้าถึงไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายย่อยหรือสถาบันปูทางไปสู่การยอมรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่มากขึ้น" นางสาวเกรซี่ เฉิน กล่าวทิ้งท้าย