![19 ปีแห่งความภูมิใจ ปตท. คว้า 6 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น มุ่งดำเนินธุรกิจยั่งยืนอย่างสมดุล](/img/files/20250211/iq9f9f890d1da20bae8f8bc0b8092e1d85.jpg)
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Awards) ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด "รัฐวิสาหกิจไทย มากกว่าความภูมิใจ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" หรือ Beyond Pride, Towards Sustainability ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) โดย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการ พร้อมด้วย ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะผู้บริหารร่วมรับรางวัล รวม 6 รางวัล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ดร.คงกระพัน กล่าวว่า "นับเป็นความภาคภูมิใจยิ่งของ ปตท. ที่ได้รับรางวัลแห่งเกียรติยศในวันนี้ สะท้อนศักยภาพการบริหารธุรกิจแบบยั่งยืนในทุกมิติ ตามวิสัยทัศน์ "ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน" โดยมีภารกิจหลักในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก"
ในครั้งนี้ ปตท. ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น จำนวน 6 รางวัล ประกอบด้วย
กลุ่ม ปตท. ได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการบริหารจัดการชุมชนใน 45 พื้นที่ 29 จังหวัด ผ่านการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ Smart Farming ส่งเสริมการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเพาะปลูกอย่างเหมาะสม เช่น โรงเรือนอัจฉริยะและระบบ IoT โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ Smart Marketing ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยสามารถพัฒนาสินค้าได้ 45 รายการ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ Community-Based Tourism ส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งมีชุมชนที่สามารถพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว มีทักษะในการบริหารจัดการธุรกิจ และช่องทางการตลาดได้ด้วยตนเองถึง 6 พื้นที่
คาร์บอนจากก๊าซธรรมชาติ ของเสียไฮโดรคาร์บอน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" ท่อคาร์บอนระดับ
นาโนเมตร (Carbon nanotubes; CNTs) มีคุณสมบัติเด่นที่นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี มีความแข็งแรงแต่น้ำหนักเบา และสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ซึ่งการผลิตวัสดุ CNTs เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของ Conductive materials, Polymer composite materials, EV value chain และ Smart electronic ที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้านนวัตกรรมให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน และส่งออกไปทั่วโลกได้ในอนาคต
ในการผลิตเอนไซม์ย่อยแป้งที่ผิวเซลล์ (InnoTherm-380 GA)" เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นภายในประเทศทั้งหมด ซึ่งได้จดอนุสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถพัฒนาให้ยีสต์มีความสามารถผลิตเอนไซม์ย่อยแป้งได้เองที่ผิวเซลล์ ด้วยการใช้โปรตีนฐานยึดเกาะเอนไซม์ชนิดใหม่ของโลก สามารถแข่งขันได้กับยีสต์แห้งทางการค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ลดการนำเข้าและการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมถึงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางชีวภาพของประเทศไทย
"ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ยังคงมุ่งมั่นรักษาเสถียรภาพทางพลังงานให้กับประเทศ ดำเนินธุรกิจบนหลักยั่งยืนอย่างสมดุล รวมทั้งดูแลสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย" ดร.คงกระพัน กล่าวในตอนท้าย