ผลสำรวจ BSA-ISSA โชว์ความคืบหน้าการให้ความสำคัญและการรับรู้เกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้

ข่าวทั่วไป Monday April 11, 2005 15:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือบีเอสเอ (Business Software Alliance; BSA) เปิดเผยถึงผลการสำรวจเกี่ยวกับความปลอดภัยของสารสนเทศ หรืออินฟอร์เมชั่นซีเคียวริตี้ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับไอเอสเอสเอ (Information Systems Security Association; ISSA) ว่า องค์กรทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับเรื่องซีเคียวริตี้มากขึ้น มีการกำหนดให้เรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารระดับสูง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินงานข้ามองค์กรแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันในตลาดด้วย ประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้คือ
76% รู้ว่าการให้ความสำคัญกับซีเคียวริตี้มากขึ้นจะทำให้สมรรถนะในการดำเนินงานของบริษัทของพวกเขาเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อระบบมีเสถียรภาพสูงขึ้น ศักยภาพในการแข่งขันในตลาดก็เพิ่มขึ้นตาม
59% ของผู้เชี่ยวชาญด้านซีเคียวริตี้ยังคงเชื่อมั่นว่า จะเกิดการโจมตีครั้งใหญ่ขึ้นบนโลกไซเบอร์ใน 12 เดือนข้างหน้าอย่างแน่นอน (ลดลงจาก 65% ในเดือนตุลาคม 2546) 73% กล่าวว่า เทียบกับเมื่อ 12 เดือนที่แล้ว ขณะนี้พวกเขามีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวมากกว่า
1 ปีที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับเรื่องซีเคียวริตี้มากขึ้น มีการกำหนดให้ซีเคียวริตี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารระดับสูง ตัวเลขที่ได้คือ 44% จาก 39% ของปี 2546 หรือเพิ่มขึ้น 12%
"ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าการรับรู้และการปฏิบัติได้เข้ามาแทนที่ความกลัว" โรเบิร์ต โฮลลีย์แมน (Robert Holleyman) ประธานและประธานคณะผู้บริหาร บีเอสเอ กล่าวและว่า "การที่จำนวนช่องโหว่บนออนไลน์มีมากขึ้น จำเป็นที่บริษัทต่างๆจะต้องสนใจ ให้ความสำคัญ และนำเข้าสู่กระบวนการบริหารระดับสูง เมื่อทำเช่นนั้นแล้ว 90% ต้องมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับการลงทุนในเทคโนโลยีซีเคียวริตี้ใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า มีความปลอดภัยมากกว่า ทำงานได้ดีกว่า และสำหรับทักษะความสามารถที่เพิ่มขึ้นของบุคลากร"
"ความสามารถในการสื่อสารทุกวันนี้ได้ก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆทั้งด้านบวกและด้านลบ" เดวิด คัลลิเนน (David Cullinane) ประธานไอเอสเอสเอ กล่าวและว่า "ไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายกำลังให้ความสนใจ เราต้องทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องกับทั้งภาครัฐและเอกชน และต้องในระดับนานาชาติ ไม่ใช่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อยกระดับซีเคียวริตี้โดยรวมให้สูงขึ้น การสำรวจของบีเอสเอกับไอเอสเอสเอทำให้เรารู้ว่า เราควรทำอะไร และร่วมมือกันอย่างไร เพื่อปกป้องประชาชนของเราอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด"
แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะมั่นใจว่าสามารถรับมือกับปัญหาไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้ แต่โปรแกรมการฝึกอบรมบุคลากร การสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจ และการอัพเดทแอพพลิเคชั่นต่างๆ ก็ยังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญควบคู่กันไปด้วย เพื่อความพร้อมที่สมบูรณ์แบบ
"ในฝั่งของรัฐบาล เราได้รับข้อมูลจากการสำรวจว่าเอกชนให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิส่วนบุคคลและซีเคียวริตี้มากขึ้น และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ ซึ่งพิสูจน์ได้จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหาร ที่กำหนดให้มีตำแหน่งเพิ่มขึ้นอีก 2 ตำแหน่งคือ ประธานฝ่ายสิทธิส่วนบุคคล (Chief Privacy Officers) และประธานฝ่ายความปลอดภัยของสารสนเทศ (Chief Information Security Officers)
"เราต้องการให้ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเดินหน้าตลอดเวลา พร้อมๆกับเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้เราได้ในสิ่งที่เราต้องการ" โฮลลีย์แมนกล่าวและว่า "เราต้องกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในระดับนานาชาติด้วยเพื่อกำจัดอาชญากรรมไซเบอร์ให้หมดไป เพราะนี่เป็นปัญหาระดับโลกที่รัฐบาลประเทศต่างๆต้องช่วยกัน ร่วมมือกัน เพื่อแก้ไข"
"สัปดาห์ที่แล้ว บีเอสเอได้จัดประชุมร่วมประธานฝ่ายเทคโนโลยีจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ สารที่เราส่งถึงผู้วางนโยบายเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกันก็คือ เพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา, เร่งออกและบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ และปรับปรุงระบบไอที" โฮลลีย์แมนกล่าวสรุป
การสำรวจในครั้งนี้ จัดทำโดยบีเอสเอร่วมกับไอเอสเอสเอ โดยการสอบถามความคิดเห็นของสมาชิกไอเอสเอสเอจำนวน 850 คน ผ่านระบบออนไลน์และออฟไลน์ ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2547 ถึง 24 มกราคม 2548 ค่าความผิดพลาด 3.4% รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.bsa.org/usa/policy/loader.cfm?url=/commonspot/security/getfile.cfm&pageid=22304 และดูแผนภูมิได้ที่ http://www.bsa.org/usa/press/newsreleases/loader.cfm?url=/commonspot/security/getfile.cfm&pageid=22370
เกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือบีเอสเอ (Business Software Alliance; BSA) คือองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนโลกดิจิตอลที่มีความปลอดภัยและถูกกฎหมาย บีเอสเอคือกระบอกเสียงของกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ทั่วโลก รวมถึงกลุ่มพันธมิตรผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ สมาชิกบีเอสเอคือตัวแทนของการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเร็วที่สุดในโลก โครงการต่างๆของบีเอสเอล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์เทคโนโลยีผ่านภาคการศึกษาและนโยบายที่สนับสนุนการปกป้องลิขสิทธิ์, ไซเบอร์ซีเคียวริตี้, การค้า และอีคอมเมิร์ซ สมาชิกกลุ่มบีเอสเอประกอบด้วย อะโดบี (Adobe), แอปเปิล (Apple), ออโต้เดสก์ (Autodesk), เอวิด (Avid), เบนต์เลย์ซิสเต็มส์ (Bentley Systems), บอร์แลนด์ (Borland), คาเดนซ์ดีไซน์ซิสเต็มส์ (Cadence Design Systems), ซิสโก้ซิสเต็มส์ (Cisco Systems), ซีเอ็นซีซอฟต์แวร์มาสเตอร์แคม (CNC Software/Mastercam), เดลล์ (Dell), เอ็นทรัสต์ (Entrust), เอชพี (HP), ไอบีเอ็ม (IBM), อินเทล (Intel), อินเทอร์เน็ตซีเคียวริตี้ซิสเต็มส์ (Internet Security Systems), แมโครมีเดีย (Macromedia), แมคอะฟี (McAfee), ไมโครซอฟท์ (Microsoft), พีทีซี (PTC), อาร์เอสเอซีเคียวริตี้ (RSA Security), โซลิดเวิร์คส (SolidWorks), ไซเบส (Sybase), ไซแมนเทค (Symantec), ยูจีเอส (UGS) และเวอริทัสซอฟต์แวร์ (VERITAS Software)
เกี่ยวกับ ไอเอสเอสเอ
เอเอสเอสเอมีสมาชิกมากกว่า 13,000 รายในกว่า 95 ประเทศทั่วโลก ทั้งหมดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอินฟอร์เมชั่นซีเคียวริตี้ ขณะที่ไอเอสเอสเอได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก, องค์กรทั่วโลก และหน่วยงานรัฐบาล ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.issa.org
ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณปราณี เฉลิมธนศักดิ์
บริษัทพีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
อีเมล์ pranee@pc-a.co.th โทรศัพท์ 0 2971 3711--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ