ซึมเศร้า - แพนิค - วิตกกังวล วิธีแยกอาการ และแนวทางการรักษา

ข่าวทั่วไป Tuesday April 1, 2025 13:05 —ThaiPR.net

ซึมเศร้า - แพนิค - วิตกกังวล วิธีแยกอาการ และแนวทางการรักษา

ทุกวันนี้ คำว่า "ซึมเศร้า" "แพนิค" และ "วิตกกังวล" ถูกพูดถึงกันมากขึ้น แต่หลายคนยังแยกไม่ออกว่าตัวเอง หรือคนใกล้ชิด กำลังเผชิญกับอาการแบบไหนกันแน่ อาการทั้ง 3 แบบนี้ แม้จะมีความคล้ายคลึงในเรื่องความเครียดและภาวะอารมณ์ แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน และต้องการแนวทางการดูแลรักษาที่เหมาะสม

วันนี้โรงพยาบาลสุขภาพจิต BMHH ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอาการทั้ง 3 ให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

  • โรคซึมเศร้า (Depression)
  • สัญญาณสำคัญ:

    • รู้สึกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง ต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์
    • หมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ
    • นอนมากไป หรือนอนไม่หลับ
    • เบื่ออาหาร หรือกินมากผิดปกติ
    • รู้สึกผิด คิดว่าตัวเองไร้ค่า
    • ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
    • บางคนอาจมีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากจบชีวิต

    แนวทางการรักษา:

    • การพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย
    • รักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าตามอาการ
    • จิตบำบัด และการปรับมุมมองความคิด (CBT)
    • การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (dTMS) หรือการรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT)
  • โรคแพนิค (Panic Disorder)
  • สัญญาณสำคัญ:

    • มีอาการ "ตื่นตระหนกเฉียบพลัน" โดยไม่รู้สาเหตุ
    • ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก มือเท้าชา หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
    • รู้สึกเหมือนกำลังจะตายหรือกลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้
    • อาการมักเกิดขึ้นแบบฉับพลันและหายไปภายใน 10-30 นาที แต่ทิ้งความหวาดกลัวเอาไว้

    แนวทางการรักษา:

    • การปรึกษาจิตแพทย์เพื่อยืนยันอาการ
    • การใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง
    • การฝึกควบคุมลมหายใจ และเทคนิคผ่อนคลาย
    • การทำจิตบำบัด เพื่อช่วยลดความกลัวและความตื่นตระหนกที่สะสม
  • โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder - GAD)
  • สัญญาณสำคัญ:

    • กังวลมากเกินไปกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ตลอดเวลา
    • คิดวน คิดซ้ำ กลัวสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
    • มีอาการกระสับกระส่าย เหนื่อยง่าย ปวดกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ
    • ยิ่งพยายามไม่คิด ยิ่งควบคุมไม่ได้ จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

    แนวทางการรักษา:

    • ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการ
    • ใช้ยาเพื่อลดอาการวิตกกังวล
    • การทำจิตบำบัดแบบ CBT เพื่อช่วยปรับความคิดและวิธีรับมือกับความกังวล
    • ฝึกสมาธิ การหายใจ และการผ่อนคลาย

    อย่าปล่อยให้อาการเล็ก ๆ สะสมจนกลายเป็นเรื่องใหญ่

    หลายคนอดทนกับอาการเหล่านี้โดยคิดว่า "เดี๋ยวก็หาย" หรือ "เราแค่คิดมากไปเอง" แต่จริง ๆ แล้ว ทุกความเครียด ความเศร้า ความกังวลที่ไม่ได้รับการดูแล อาจลุกลามและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้

    โรงพยาบาลสุขภาพจิต BMHH เราพร้อมดูแลคุณด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยาที่เข้าใจ และบรรยากาศที่เป็นมิตรและปลอดภัย

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ