
ยาเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านต้องมีติดไว้สำหรับการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่ายาที่เก็บไว้นานเกินไปอาจเกิดการเสื่อมสภาพหรือหมดอายุได้ การใช้ยาหมดอายุนอกจากจะไม่ได้ผลในการรักษาแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีสังเกตยาหมดอายุในรูปแบบต่าง ๆ และวิธีการเก็บรักษายาที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของคุณและครอบครัว
ยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ มีสาเหตุมาจากอะไรการเสื่อมสภาพของยาสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้
เนื่องจากยาแต่ละประเภทจะมีลักษณะการเสื่อมสภาพที่แตกต่างกัน มาดูวิธีสังเกตยาแต่ละประเภทกัน ดังนี้
ยาเม็ดสำหรับยาเม็ดนั้น ถือเป็นรูปแบบยาที่พบบ่อยที่สุดในบ้าน เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้แพ้ เป็นต้น โดยจะสามารถสังเกตการเสื่อมสภาพของยาเม็ดได้ค่อนข้างง่าย หากพบว่าเม็ดยามีการแตกร่วน มีรอยร้าวหรือมีสีที่เปลี่ยนไปจากเดิม แสดงว่ายาอาจเสื่อมสภาพแล้ว โดยเฉพาะยาเม็ดเคลือบน้ำตาลที่มีการเยิ้มเหนียวหรือมีกลิ่นผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าวและนำไปทิ้งอย่างถูกวิธี H3 ยาผง
ยาผงแบบแห้งมีความไวต่อความชื้นมากกว่ายาแบบอื่น ดังนั้น สาเหตุที่ยาผงเสื่อมสภาพหรือหมดอายุมักเกิดจากความชื้นในอากาศ ทำให้ผงยาจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง ไม่สามารถแตกตัวได้เมื่อผสมกับน้ำ นอกจากนี้ หากสังเกตเห็นหยดน้ำเกาะที่ผนังภาชนะบรรจุ หรือผงยามีการเปลี่ยนสี แสดงว่ายานั้นไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้แล้ว ควรเก็บยาผงในที่แห้งและปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันความชื้น
ยาแคปซูลสำหรับยาแคปซูลมีทั้งแบบแคปซูลแข็งและแคปซูลนิ่ม ซึ่งมีวิธีสังเกตการเสื่อมสภาพที่แตกต่างกัน ได้แก่
- แคปซูลแข็ง หากพบว่าเปลือกแคปซูลบวมโป่ง มีจุดขาวของเชื้อราบนเปลือก หรือผงยาภายในเปลี่ยนสี แสดงว่ายาเสื่อมสภาพแล้ว
แคปซูลนิ่ม จะสังเกตได้จากเปลือกแคปซูลที่เยิ้มเหลว เหนียวผิดปกติหรือมีรอยรั่วทำให้ตัวยาไหลออกมาภายนอก
ยาน้ำใสยาน้ำใสที่เสื่อมสภาพมักมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ชัดเจน เช่น การเกิดความขุ่น การมีตะกอนแขวนลอย หรือการเกิดฟองก๊าซ นอกจากนี้ ควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสี กลิ่นและรสชาติ โดยเฉพาะยาน้ำเชื่อมอย่างยาแก้ไอ หากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวหรือรสชาติเปลี่ยนไป แสดงว่ายาเสื่อมสภาพและไม่ควรนำมาทานต่อ
ยาอิมัลชันยาอิมัลชันเป็นยาที่มีส่วนผสมของน้ำและน้ำมัน โดยทั่วไปเมื่อตั้งทิ้งไว้จะเกิดการแยกชั้น แต่เมื่อเขย่าจะกลับเข้ากันได้ดี อย่างไรก็ตาม หากยาเสื่อมสภาพ แม้จะเขย่าแล้วก็ไม่สามารถรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ นอกจากนี้ อาจจะยังสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของสี กลิ่นหรือความหนืดที่ผิดปกติได้อีกด้วย
ยาน้ำแขวนตะกอนยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรดหรือยาคาลาไมน์ จะมีลักษณะที่เป็นตะกอนจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง เกาะติดกันแน่น แม้จะเขย่าอย่างแรงก็ไม่สามารถกระจายตัวได้เหมือนเดิม นอกจากนี้ ควรสังเกตความเข้มข้น กลิ่น สีหรือความหนืดของยาอีกด้วยว่าผิดไปจากปกติหรือไม่ หากพบว่าไม่เนื้อยาไม่เหมือน ควรหลีกเลี่ยงการทานหรือการใช้งาน
ยาครีมยาครีมที่เสื่อมสภาพมักมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่สังเกตได้ชัดเจน เช่น การแยกชั้นของส่วนประกอบ สีและเนื้อสัมผัสไม่เหมือนเดิม หรือมีกลิ่นแปลกไปจากเดิม นอกจากนี้ อาจพบการหดตัวของเนื้อครีม อันเนื่องจากการระเหยของน้ำหรือการเกิดผลึกในเนื้อครีม ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ายาไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้แล้ว
วิธีการเก็บยาให้ถูกต้อง ยืดอายุการใช้งานหลังจากรู้ถึงวิธีสังเกตยาที่หมดอายุแล้ว มาดูวิธีการเก็บยาที่ถูกต้อง เพื่อรักษาประสิทธิภาพของยากันบ้าง โดยจะมีวิธี ดังนี้
- เก็บให้พ้นจากแสงแดด เนื่องจากยาที่โดยแสงแดดหรือความร้อน อาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้ ทานไปเท่าไหร่ก็ไม่หายสักที โดยเฉพาะการเก็บยาไว้บนรถยนต์ อาจะทำให้ยาแตก ละลายได้ แนะนำให้เก็บไว้ในพาชนะหรือกล่องใส่ยาสีชา
- เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่า ควรเก็บยาให้พ้นจากแสงแดด เนื่องจากอุณหภูมิไม่ว่าจะสูงหรือต่ำก็มักมีผลต่อประสิทธิภาพของยาทั้งสิ้น ดังนั้น แนะนำให้เก็บยาในอุณหภูมิห้อง ประมาณ 25 - 30 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ควรอ่านข้างฉลากยาทุกครั้ง เนื่องจากยาบางชนิดจะระบุมาว่า ให้เก็บในตู้เย็น หากเก็บยาไว้ในตู้เย็นก็ไม่ควรเก็บไว้บริเวณฝาตู้เย็น เพราะเป็นบริเวณที่มีการเปิด-ปิดอยู่บ่อยครั้ง จึงอาจจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
- ปิดพาชนะบรรจุยาในสนิททุกครั้งหลังใช้งาน หากเป็นยาที่มาในรูปแบบขวดก็จำเป็นต้องปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังจากใช้งาน เพราะในอากาศมักจะมีก๊าซที่จะเข้าไปเร่งในยาเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงยาชนิดแผง ไม่ควรแกะยาออกจากแผงหากยังไม่ได้ทาน เพราะอาจทำให้ยาหมดอายุเร็วขึ้น
เก็บยาในภาชนะที่เหมาะสม ยาเป็นสิ่งที่ไวต่ออุณหภูมิและความชื้นเป็นอย่างมาก ดังนั้น การจัดเก็บยาให้ภาชนะที่เหมาะสม เช่น กล่องใส่ยาสีชา ก็จะช่วยป้องกันยาจากแสงแดด และความชื้นด้วย
สรุปบทความอย่างไรก็ตาม การสังเกตยาหมดอายุเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนรู้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ซึ่งยาแต่ละประเภทก็จะมีมีลักษณะการเสื่อมสภาพที่แตกต่างกันอกไป ดังนั้น การเก็บรักษายาอย่างถูกวิธีจะช่วยยืดอายุการใช้งานและรักษาประสิทธิภาพของยา ควรหมั่นตรวจสอบยาในบ้านอย่างสม่ำเสมอ และทิ้งยาที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาหมดอายุ