การให้บริการ3G บรอดแบนด์ต้นทุนต่ำในพื้นที่ห่างไกล

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday June 3, 2008 14:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 มิ.ย.--Farh Agency
ผู้ให้บริการโครงข่าย 3G นั้นสามารถลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์และลดระยะเวลาในการติดตั้งโครงข่ายในพื้นที่ชนบทห่างไกล โดยใช้พื้นที่สถานีฐานของโครงข่าย จีเอสเอ็ม (GSM cell site) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยี WCDMA/HSPA บนคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz นั้นมีประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ผู้ใช้ได้มากกว่าเทคโนโลยี GSM บนความถี่ 900 และ 1800 MHz แต่เนื่องจากแถบความถี่สูงกว่า จึงทำให้ WCDMA/HSPA มีพื้นที่ครอบคลุมของแต่ละสถานีฐานได้น้อยกว่า แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆที่สามารถเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมได้มากขึ้น ดังต่อไปนี้
การเพิ่มประสิทธิภาพของตัวรับสัญญาณของสถานีฐาน
การเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการส่งสัญญาณของสถานีฐาน (output power)
การใช้เสาอากาศที่มีภาครับสัญญาณสูงขึ้น (high-gain antennas)
การเพิ่มระดับความสูงของเสาอากาศรับสัญญาณ
การเพิ่มช่องภาครับและส่งสัญญาณของเสาอากาศจากเดิมสามช่อง (three- sector antenna) เป็นหกช่อง (six-sector antenna)
เพื่อลดต้นทุนการติดตั้งสถานีฐานในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลมากๆ ที่สถานีฐานไม่ไปบดบังความสวยงามด้านทัศนียภาพนั้นผู้ให้บริการสามารถใช้เสาอากาศต้นทุนต่ำประกอบกับนวัตกรรมดังกล่าวข้างต้นเพื่อเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมได้มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการโครงข่าย WCDMA/HSPA อย่างเทลสตราในประเทศอออสเตรเลียได้ใช้นวัตกรรมดังกล่าวทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมของสถานีฐานจากเดิมที่รัศมี 35 กม. เป็นเกือบถึง 200 กม. ซึ่งเทคนิคนี้เหมาะสำหรับการให้บริการในพื้นที่ห่างไกล ย่านน้ำริมชายฝั่งทะเลและพื้นที่ทะเลทราย
ในพื้นที่ ที่ยังไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคมพื้นฐาน ผู้ให้บริการโครงข่ายสามารถใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟมาใช้ในการติดต่อระหว่างสถานีฐานแทนการใช้โครงข่ายไฟเบอร์ออพติค (Fiber infrastructure) ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยลดต้นทุนการให้บริการได้ถึงหนึ่งในสิบเมื่อเทียบกับการติดตั้งโครงข่ายไฟเบอร์ออพติค ในระยะทางเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถติดตั้งได้รวดเร็วกว่าและ การบริหารจัดการทำได้ ง่ายกว่าและถูกกว่า
ความเร็วที่ผู้ใช้บริการบรอดแบนด์พึงพอใจ
WCDMA/HSPA มีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับบรอดแบนด์มีสาย จากการทดสอบโครงข่าย WCDMA/HSPA ของผู้ให้บริการในเขตเมืองของเอาเซียนในเดือนสิงหาคม 2550 มีอัตราดาวน์ลิงก์มากกว่า 7 Mbps และอาจกล่าวว่าในเขตชนบทที่มีคลื่นแทรกน้อยกว่า จะมีอัตราความเร็วการรับส่งข้อมูลได้สูงกว่า ซึ่งภายในปี 2551 เทคโนโลยีนี้จะมีการพัฒนาอัตราความเร็วการรับส่งข้อมูลได้สูงถึง 14 Mbps สำหรับดาวน์ลิงก์และ5.8 Mbps สำหรับอัพลิงก์ และภายในสองสามปีนี้อัตราความเร็วการรับส่งข้อมูลจะเพิ่มสูงได้ถึง 42 Mbps สำหรับดาวน์ลิงก์
ต้นทุนสูงไม่ใช้ข้อโต้แย้งอีกต่อไป
ในเขตเมืองของประเทศพัฒนาแล้ว เราได้เห็นว่าบรอดแบนด์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แต่ทว่า ประชากรที่กระจายอยู่ในเขตพื้นที่ชนบทที่มีประชากรเบาบางในประเทศต่างๆ ได้ถูกตัดขาดจากโลกยุคใหม่นี้ ไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาไม่ต้องการ แต่เพียงเพราะว่าต้นทุนที่สูงเกินไปกลายเป็นอุปสรรคในการเชื่อมต่อกับบริการบรอดแบนด์ด้วยเทคโนโลยีมีสายแบบเดิม
ด้วยเทคโนโลยี WCDMA/HSPA นี้ที่สามารถกำจัดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (digital divide) ด้วยการให้บริการสื่อสารและบรอดแบนด์แก่ทุกคน รวมทั้งในพื้นที่ที่ห่างไกลในราคาที่เหมาะสม
เทคโนโลยี WCDMA/HSPA ได้ถูกพัฒนาและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า “หนึ่งโครงข่าย หนึ่งเทคโนโลยีเพื่อบริการที่ครบวงจร” ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการประหยัดจากการขยายการผลิต (economy-of-scale) เหนือกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ ในด้านจำนวนผู้ผลิตเครื่องลูกข่าย อุปกรณ์โทรศัพท์และทางด้านโครงข่ายที่มากกว่า ในราคาที่ถูกกว่า
ณ ปัจจุบัน มีประมาณ 220 WCDMA/HSPAโครงข่ายที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ ใน 94 ประเทศทั่วโลก และ เครื่องลูกข่าย อุปกรณ์โทรศัพท์ มากกว่า 800 แบบ จาก ผู้ผลิตกว่า110 ราย
ผู้เขียน: นายบัญญัติ เกิดนิยม เป็นผู้จัดการอาวุโส ทางด้าน 3G และนวัตกรรม 3G ทำงานกับบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด มากว่า 12 ปีในฐานะผู้บริหารด้านพัฒนาธุรกิจ
ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
คุณวรพรรณ เอื้ออาภรณ์ (coco)
GM of Farh Agency
Tel: 0 26160991-2, Fax: 0 2616 0993,
MB: 08 9144 4014, 08 1376 5927

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ