งานแสดงความยินดีภาพยนตร์ไทยได้รับรางวัล มหกรรมภาพยนตร์เอเชีย แปซิฟิค ฟิล์มเฟสติวัล ครั้งที่ 50 ณ ประเทศมาเลเซีย

ข่าวทั่วไป Wednesday September 28, 2005 12:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ
งานแสดงความยินดีภาพยนตร์ไทยได้รับรางวัล มหกรรมภาพยนตร์เอเชีย แปซิฟิก ฟิล์มเฟสติวัล ครั้งที่ 50 ณ ประเทศมาเลเซีย ภาพยนตร์เรื่อง "เอ๋อเหรอ" และ "ภาพยนตร์เรื่อง "จอมขมังย์เวทย์"
รายละเอียดของงาน
ชื่องาน: มหกรรมภาพยนตร์ เอเชียแปซิฟิค ฟิล์ม เฟสติวัน ครั้งที่ 50
วันจัดงาน: ระหว่างวันที่ 29 กันยายน-1 ตุลาคม 2548
สถานที่: กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
คณะกรรมการคัดเลือกภาพยนตร์ร่วมประกวดประกอบด้วย
1. นายคมน์ อรรฆเดช ประธานคณะกรรมการ
2. นายบัณฑิต ฤทธิ์ถกล กรรมการ
3. นายตร วีรประวัติ กรรมการ
4. นายปรัชา ปิ่นแก้ว กรรมการ
5. นายมานพ อุดมเดช กรรมการ
6. นายสมศักดิ์ วงศ์รัฐปัญญา กรรมการ
7. นางขนิษฐา จิตต์ประกอบ เลขานุการคณะกรรมการ
คัดเลือกภาพยนตร์ไทยร่วมประกวด 3 เรื่อง
1. ภาพยนตร์เรื่อง เอ๋อเหรอ จาก บริษัทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
2. ภาพยนตร์เรื่อง จอมขมังเวทย์ จากบริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด มหาชน
3. ภาพยนตร์เรื่อง ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ จากบริษัท จี ที เอส จำกัด
ภาพยนตร์ไทยได้รางวัล 2 เรื่อง
- ภาพยนตร์เรื่อง "เอ๋อเหรอ" จากบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด ได้รับรางวัล Special Jury Prize เป็น รางวัลพิเศษที่ตั้งขึ้นหรือรางวัลชนะใจกรรมการ
- ภาพยนตร์เรื่อง "จอมขมังเวทย์" จาก บริษัท อาร์ เอส โปรโมชั่น จำกัด มหาชน ได้รับ รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound Effects)
สาระสำคัญงานเทศกาลภาพยนตร์เอเชีย-แฟซิฟิค ครั้งที่ 50
ผู้แทนจากกระทรวงวัฒนธรรม
1. นายสามารถ จันทร์สูรย์ ผู้อำนวยการสถาบันศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
2. นายประสิทธิ์ อทินวงศ์ นักวิชาการวัฒนธรรม 7 ว
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
ผู้แทนจากภาคเอกชน
1. นายไมเคิล ราฟิค ผู้จัดการการตลาด บริษัท ซันมาสเตอร์ จำกัด ประเทศไทย
ความเป็นมา
การจัดงานครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ 50 เดิมเรียกกันว่างานหกรรมภาพยนตร์เอเชียและแปซิฟิคปัจจุบันเรียกว่างานเทศกาลภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค ซึ่งเป็นงานระดับภูมิภาคของหลายประเทศโดยประเทศที่เข้าร่วมงานจะอยู่แถบเอเชีย และก็มีประเทศออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์เข้ามาเพิ่มด้วย ในการจัดงานประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดในแต่ละปี ซึ่งปีที่ผ่านมาจัดที่ประเทศญี่ปุ่น
ภาพยนตร์ที่ส่งเข้าประกวดปีนี้มีดังนี้
1. ประเทศไทย
- ส่งเรื่อง Shutter เป็นภาพยนตร์จากบริษัท GTH (ในเครือของ Grammy) โดยบรรจง ปิสัญธนะกูล และ ภาคภูมิ วงศ์ภูมิเป็นผู้กำกับ
- ส่งเรื่องเอ๋อเหรือ (Beautiful, Wonderful, Perfect) เป็นภาพยนตร์จาบริษัท สหมงคลฟิล์ม โดยพจน์ อานนท์ เป็นผู้กำกับ
- ส่งเรื่องจอมขมังเวทย์ (Necromancer) เป็นภาพยนตร์ จากบริษัท RS Films โดย
ปิยะพันธุ์ ชูเพ็ชร์ เป็นผู้กำกับ:
2. ประเทศเวียดนาม ส่งเรื่อง Saigon Liberation, Buffal Boy และ The Right Heart Plan
3. ประเทศอินโดนีเซีย ส่งเรื่อง Banyu Biru - Waking Banyu, Janji-Joni's Promise และ Ungu Violet-Violet
4. เขตเศรษฐกิจฮ่องกง ส่งเรื่อง Butterfly,New Police Stoy และ Initial D
5. ประเทศมาเลเซีย ส่งเรื่อง Gangster,Puteri Gunung Ledang และ Qaisy & Laila
ภาพยนตร์ สั้น เรื่อง Dewa Panak, และ Temenggor Biodiversity in The Face of Danger,
ภาพยนตร์ เอนิเมชั้น เรื่อง Pua,Olsh,Qursany และ The Evolution Issue
6. ประเทศรัสเซีย ส่งเรื่อง National Bomb
7. ประเทศเกาหลีใต้ ส่งเรื่อง Tae Guk Gi
ภาพยนตร์ สั้นเรื่อง A Family, Rabbits and Bears และ Ohh you Make me Sick
8. ไต้หวัน ส่งเรื่อง The Wayward Cloud, The Moon Also Rises และ The Pasage
ภาพยนตร์สั้นเรื่อง Respire
ภาพยนตร์ เอนิเมชั่น เรื่อง Fire Ball
9. ประเทศอิหร่าน ส่งเรื่อง Tradition of Kiling Lovers, Mama's Guest และ Stone Blossoms
10. ประเทศญี่ปุ่น ส่งเรื่อง Beat Kids, Train Man และ Samurai Commando-Mission 1549
ผลการประกวดในปี 2548 สรุปได้ดังนี้
1. Best Film ได้แก่เรื่อง Tea Guk Gi จากประเทศเกาหลีใต้
2. Best Director ได้แก่ Kang Je Gye จากประเทศเกาหลีใต้
3. Best Actor ได้แก่ Joo Hyun จากประเทศเกาหลีใต้
4. Best Actress ได้แก่ Tiara Jacquelina จากประเทศ
5. Best Supporting Actor ได้แก่ Anthony Wong(Initial D) จากเขตเศรษฐกิจฮ่องกง
6. Best Supporting Actress ได้แก่เรื่อง Rima Melati(Ungu Violet) จากประเทศอินโดนีเซีย
7. Best ได้แก่รื่อง Lin Cheng Sheng (The Moon Also Rises) จากประเทศไต้หวัน
8. Best ได้แก่เรื่อง Yves Cape(Buffalo Boy) จากประเทศเวียดนาม
9. Best ได้แก่เรื่องจอมขมังเวทย์ (Sansab Necromancer) จากประเทศไทย
10. Best ได้แก่เรื่อง Ayob Ibrahim(Qaisy & Laila) จากประเทศมาเลเซีย
11. Best ได้แก่ Tsuyoshi Shimizu จากประเทศญี่ปุ่น
12. Special Jury Award ได้แก่เรื่องเอ๋อเหรอ(Beautiful, Wonderful, Perfect)จากประเทศไทย
13. Best Documentary งดให้รางวัล
14. Best Animation Film ได้แก่เรื่อง Fire Ball ไต้หวัน
15. Best Short Film ได้แก่เรื่อง Pua ประเทศมาเลเซีย
16. Best Editing ได้แก่เรื่อง J Anji Joni-Joni's จากประเทศอินโดนีเซีย
ผลการประกวดในปี 2548 ประเทศไทยได้รับรางวัล 2 รางวัล คือ
1. รางวัล Best Sound Effects เรื่องจอมขมังเวทย์ (Necromancer) จากบริษัท RS Films โดยปิยะพันธุ์ ชูเพ็ชร์ ผู้กำกับ
2.รางวัล Special Jury Award เรื่องเอ๋อเหรอ (Beautiful, Wonderful, Perfect) จากบริษัท สหมงคลฟิล์ม โดย พจน์ อานนท์ เป็นต้น
กิจกรรมของงาน
ในการจัดงานเทศกาลนี้ มีกิจกรรมที่จัดขั้นได้แก่
1. พิธีเปิดงานและเลี้ยงอาหารค่ำ ประเทศเจ้าภาพเป็นผู้จัดงานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานและแขกรับเชิญจากประเทศต่างๆ อย่างเป็นทางการ โดยมีการแนะนำผู้แทนของแต่ละประเทศด้วย จัดที่โรงแรม Istand Budaya
2. เดินทางท่องเที่ยวกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยนำคณะผู้เข้าร่วมงานเดินทางไปดูสถานที่ ท่องเที่ยวสำคัญรอบๆ กรุงกัวลาลัมเปอร์
3. การสัมมนาเรื่องภาพยนตร์ จัดขึ้นเพื่อให้บุคคลในวงการภาพยนตร์ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในแต่ละประเทศ จัดที่ Memorial Tunku Abdul Rahman
4. เดินทางไปชมนิทรรศการศิลปะ โดยพาคณะผู้เข้าร่วมงานเดินทางไปชมนิทรรศการศิลปะ Golden Anniverasry ที่ National Musium ซึ่งในบริเวณรอบอาคารจะมีการจัดงานแสดงศิลปะหัตถกรรมด้วย
5. เดินทางไปชมเมืองราชการ Putrajaya ไปชมเมืองราชการที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยศิลปะแบบสมัยใหม่ และสมัยเก่าแผสมผสานกันได้อย่างสวยงามในบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 5,932 เอเคอร์ พื้นที่ดังกล่าวประกอบด้วยสุเหร่าขนาดใหญ่ สถานที่ทำการของการราชการ และบ้านพักสำหรับข้าราชการในราคาที่เหมาะสม ขณะนี้ยังทำการก่อสร้างไม่สมบูรณ์เต็มพื้นที่ เป็นการโฆษณาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศมาเลเซีย
6. จัดงานราตรีของไทเป (Taipei night) เป็นการจัดงานของประเทศไต้หวันในฐานะที่จะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า มีการแสดงโชว์ต่างๆ ประมาณ 10 กว่ารายการ มีนักร้องดังร้องเพลงหลายคน สุดท้ายเชิญผู้แทนแต่ละประเทศขึ้นไปร่วมร้องเพลงและถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก
7. พิธีประกาศผู้ได้รับรางวัล จักที่ Merdeka Hall,PWTC มีผู้ร่วมงานผู้ที่เป็นนักแสดงผู้กำกับ ผู้เขียนบท ตัวแทนของรัฐบาลแต่ละประเทศ โดยประกาศผลและมอบรางวัลการประกวดภาพยนตร์ รางวัลต่างๆ สลับกันการแสดงทางศิลปะชุดต่างๆ ที่ถือ ว่าสวยงามตระการตา
8. ในการประกวดมีภาพยนตร์ ที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น จำนวน 43 เรื่องจาก 10 ประเทศ เพื่อชิงรางวัลที่มี 16 รางวัลใน 16 ประเภท ผลการประกวดกรรมการได้ตัดสินมอบรางวัลให้เพียง 15 ประเภทและงดให้รางวัล 1 ประเภท โดยประเทศได้รางวัล 2 รางวัล ได้แก่
(1) รางวัล Best Sound Effects เรื่องจอมขมังเวทย์ (Necromancer) จากบริษัท RS Films โดยปิยะพันธุ์ ชูเพ็ชร์ ผู้กำกับ
(2) รางวัล Special Jury Award เรื่องเอ๋อเหรอ(Beautiful, Wonderful,Perfect) จากบริษัทสหมงคลฟิล์ม โดย พจน์ อานนท์ เป็นผู้กำกับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ
โทร. 66 2 641 5917-8,66 2 203 0624 แฟ็กซ์. 66 2 641 5919
E-mail:thainationalfilm@thaimail.com
Website:www.thainationalfilm.com--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ