กรุงเทพฯ--16 มิ.ย.--คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์
จากผลการวิจัยชี้ชัดว่า วัคซีนไอพีดี สามารถลดอุบัติการณ์การป่วย และลดจำนวนเด็กเล็กที่ตายจากโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นสาเหตุการตายสำคัญอันดับต้นๆ ของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลกกว่า 2 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาอย่างทวีปเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา
จากผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นในงานประชุมวิชาการโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสนานาชาติครั้งที่ 6 (6th International Symposium on Pneumococci & Pneumococcal Disease; ISPPD) ณ กรุงเรคยาวิกประเทศไอซ์แลนด์ เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า การฉีดวัคซีนไอพีดีให้แก่เด็กเล็ก จะสามารถป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสในเด็กเล็กได้ดี และยังสร้างภูมิคุ้มกันกลุ่มให้กับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนไอพีดี 1 ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเด็กที่ได้รับวัคซีน
อีกทั้งผลการศึกษาที่มีการนำเสนอในการประชุมดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่าวัคซีนเป็นมาตรการทางสาธารณสุขที่มีความคุ้มค่าอย่างสูงและมีประสิทธิผลในเชิงเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขตามเกณฑ์การประเมินของ World Health Organization (WHO) หรือองค์การอนามัยโลก2
ศ.เคนเนท รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภายนอก ภาควิชาเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ประจำ Chinese University of Hong Kong กล่าวว่า “ขณะนี้มีผลการศึกษา ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์และความคุ้มค่าในการฉีดวัคซีนไอพีดีในเชิงสาธารณสุขและเศรษฐกิจในหลายประเทศ โดยมีข้อมูลของภูมิภาคเอเชียที่ทำให้มั่นใจในความคุ้มค่าของการฉีดวัคซีนในเด็กเล็กในประเทศกลุ่มนี้”
วัคซีนไอพีดีไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันเฉพาะในทารก และเด็กเล็กเท่านั้น แต่ยังขยายการป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวไปยังผู้ใหญ่ได้อีกด้วย หรือที่เรียกว่า “Herd protection” ซึ่งเป็นผลประโยชน์ทางอ้อมที่ผู้ใหญ่สามารถได้รับจากการที่เด็กเล็กได้รับวัคซีนดังกล่าวนี้ จัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการพิจารณาประเมินความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของการให้วัคซีนด้วย
“จริงๆ แล้วการฉีดวัคซีนไอพีดีให้กับลูกหลานของเรา เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ก็เหมือนกับเราสามารถป้องกันสังคม และชุมชนของเราจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงเด็กเล็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน พ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนปู่ ย่า ตา ยาย ด้วย และเมื่อนำผลประโยชน์ของการให้วัคซีนไอพีดีดังกล่าว มาประกอบกับความคุ้มค่าทางด้านการลงทุนในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะรีรอ และละเลยที่จะนำวัคซีนไอพีดีมาช่วยปกป้องชีวิตของเด็กๆ รวมทั้งชุมชนและสังคมของเราตั้งแต่วินาทีนี้”ศ.เคนเนท กล่าว
จากผลการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ศึกษาถึงภาระของสังคมที่มีต่อโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในประเทศแถบเอเชีย พบว่า อุบัติการณ์การเกิดโรคไอพีดี (Invasive Pneumococcal Disease; IPD) ในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีค่าตั้งแต่ 30.9 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย ในประเทศญี่ปุ่น จนถึง 276 ราย ต่อประชาการ 100,000 ราย ในประเทศบังคลาเทศ
ที่สำคัญกว่านั้น จากผลการวิจัยดังกล่าวยังพบว่า การให้วัคซีนป้องกันไอพีดี สามารถป้องกันการเกิดโรคในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ได้ตั้งแต่ 57 — 91%1 โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่าวัคซีนอาจจะสามารถป้องกันการเกิดโรคปอดบวมในแต่ละปีได้ถึงมากกว่า 28 ล้านราย และมากถึง 15.8 ล้านรายในประเทศแถบแปซิฟิกตะวันตก1
“สำหรับประเทศไทย แม้ว่าโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสจะไม่ได้เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของเด็กไทย แต่เราก็ตระหนักถึงความรุนแรงและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ของเรา ตลอดจนครอบครัว หรือแม้แต่ว่าระบบสาธารณสุขของประเทศ ด้วยเหตุนี้เราจึงพยายามกระตุ้นเตือนให้ทุกคนเห็นความจำเป็นของวัคซีน โดยเฉพาะการให้เด็กที่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ เช่น เด็กที่เป็นโรคเรื้อรังหรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องได้รับวัคซีนนี้” ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยกล่าว
นอกจากนี้ ศ.นพ.สมศักดิ์ ยังชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ในเดือน พฤศจิกายน 2551 ที่กำลังจะมาถึง ประเทศไทยริเริ่มที่จะการประชุมโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในระดับประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกโดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย เพื่อให้แน่ใจได้ว่ากุมารแพทย์ แพทย์ฝึกหัด ตลอดจนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขของเรามีความรู้ ความเข้าใจ และมีความพร้อมเป็นอย่างดีในการรับมือและจัดการกับโรคนี้ รวมไปจนถึงการให้วัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ”
สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาเองพบว่า นับตั้งแต่มีการบรรจุให้วัคซีนไอพีดีเป็นหนึ่งในวัคซีนที่เด็กๆ ต้องได้รับ อัตราการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากโรคปอดบวมได้ลดลงถึง ร้อยละ 391
ปัจจุบัน วัคซีนไอพีดีได้รับการบรรจุเข้าเป็นวัคซีนตัวหนึ่งในแผนงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของชาติต่างๆ กว่า 20 ประเทศทั่วโลก3 ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอในงานประชุม ISPPD น่าจะช่วยสนับสนุนให้รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญ และเอื้อประโยชน์ที่จะบรรจุวัคซีนไอพีดีเข้าไปในแผนงานดังกล่าวของประเทศต่างๆ แถบเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บุษบา (บุษ) / พิธิมา (ก้อย)
โทร. 0-2718-3800 ต่อ 133 / 138