มาสเตอร์การ์ดชี้ผู้หญิงเอเชียแปซิฟิค ก้าวหน้าทัดเทียมชาย

ข่าวทั่วไป Wednesday March 9, 2005 09:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่นส
มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล เผยดัชนีมาสเตอร์อินเด็กซ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค อย่างเป็นทางการ โดยเปรียบเทียบระดับทางเศรษฐกิจ และสังคม ของหญิง และ ชายใน 13 ตลาด โดยใช้ตัวชี้วัดหลัก 4 อย่างคือ การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน การศึกษาระดับอุดมศึกษา ตำแหน่งในระดับบริหารจัดการ ระดับรายได้สูงกว่ามัธยฐาน
ขณะที่ดัชนีผสมผสาน (67.7) สำหรับภูมิภาคโดยรวม ชี้ให้เห็นว่าโดยภาพรวมแล้วผู้หญิงล้าหลังกว่าผู้ชาย แต่รายงานบ่งชี้ว่า ในด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา (86.3) และ การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน (70.3) ผู้หญิงกำลังคืบใกล้สถานภาพของชาย คะแนนของผู้หญิงที่อยู่ในระดับบริหาร และที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย คือ 60.5 และ 53.6 ตามลำดับ
ดัชนีมาสเตอร์อินเด็กซ์ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของผู้หญิง เป็นค่าเฉลี่ยของค่าตัวชี้วัด 4 ตัว ค่าดัชนีที่สูงกว่า 100 แสดงว่าผู้หญิงเป็นฝ่ายได้เปรียบ ค่าดัชนีที่ 100 แสดงถึงความทัดเทียมกันระหว่างเพศหญิงและชาย
รายงานแจ้งว่าดัชนีมาสเตอร์อินเด็กซ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าของผู้หญิงใน 13 ประเทศมีค่าตั้งแต่ 45.5 ถึง 92.3 ประเทศไทย(92.3) และ มาเลเซีย (86.2) นับเป็นคะแนนสูงสุด ซึ่งแสดงว่าความก้าวหน้าของผู้หญิงอยู่ในระดับที่เทียบเคียงกับผู้ชาย
ประเทศที่ควรแก่การสังเกตได้แก่ มาเลเซีย ซึ่งคะแนนดัชนีเกี่ยวกับตำแหน่งในระดับบริหารจัดการ 119.4 แสดงว่ามีผู้บริหารที่เป็นหญิงมากกว่าชาย และสำหรับประเทศไทยดัชนีระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาเท่ากับ 131.9
ดร. ยุวะ เฮดริก หว่อง ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล ให้ความเห็นว่า “ การวิจัยทางด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมา สรุปได้อย่างชัดเจน ว่าการมีส่วนร่วมของผู้หญิง ในทุกส่วนของเศรษฐกิจยิ่งมากขึ้นเท่าไร โอกาสของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะยิ่งมากขึ้น ดังนั้นสังคมและเศรษฐกิจที่ล้มเหลวในการที่จะรวมความสามารถ และ ความเชี่ยวชาญของผู้หญิงให้ได้ร่วมในภาคธุรกิจ และ ตลาดแรงงาน ย่อมไม่ประสบความสำเร็จ”
“ความก้าวหน้าของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชีย/แปซิฟิค ในด้านการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน และการศึกษาในระดับอุมศึกษา อยู่ในระดับดี ถ้าเปรียบเทียบกับระดับโลก อย่างไรก็ตามความก้าวหน้านี้ ยังกระจายไม่ทัดเทียมกันในภูมิภาค และยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอีกมากในอนาคต ดัชนีมาสเตอร์อินเด็กซ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าของผู้หญิง จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ และ เหมาะสมกับเวลาในการติดตามผล ซึ่งจะช่วยความก้าวหน้าของภูมิภาค”
ตลาดทั้ง 13 แห่งที่ใช้ในการสำรวจนี้ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และ เวียดนาม
ข้อมูลสำคัญ
- ประเทศไทย การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในตลาดแรงงาน ใกล้เคียงกับชาย (82.9), ออสเตรเลีย (81.0), ฮ่องกง (73.6), เกาหลี (72.8), ญี่ปุ่น (70.3), สิงคโปร์ (69.8) และ ไต้หวัน (68.8)
- ในส่วนของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับประเทศไทยผู้หญิงมีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สูงกว่าชาย (131.9)
- ประเทศมาเลเซีย มีสัดส่วนของผู้หญิงที่มีตำแหน่งในระดับบริหาร มากกว่าชาย (119.4) ขณะที่คะแนนในไต้หวัน (73.9), จีน (70.5) และ ประเทศไทย (73.2) ชี้ให้เห็นความใกล้เคียงกันระหว่างหญิงและชาย
- ในส่วนของระดับรายได้ที่เกินกว่าระดับรายได้มาตรฐาน ผู้หญิงมาเลเซีย (82.4) และ ประเทศไทย (81.4) เกือบทัดเทียมกับชาย
จอร์เจท แทน, รองประธาน. สายการสื่อสารและ คมนาคม, เอเชีย/แปซิฟิค, มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ ดัชนีมาสเตอร์อินเด็กซ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าของผู้หญิง เป็นการแสดงถึงความสำคัญที่มาสเตอร์การ์ดมีต่อตลาดเอเชีย/แปซิฟิค ภาครัฐและเอกชนใช้มาสเตอร์การ์ดเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่จะให้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดผู้บริโภคที่มีนัยสำคัญ
เช่นเดียวกับดัชนีมาสเตอร์อินเด็กซ์ในเรื่องของความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการวางแผน มาสเตอร์การ์ดเชื่อว่า ดัชนีมาสเตอร์อินเด็กซ์ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของผู้หญิง มีความสำคัญต่อการคาดการณ์ และการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ในส่วนของผู้หญิง”
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
มิสไอลีน วี, มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล
(662) 2670 4088
Eileen_wee@mastercard.com
นิชาภา จินตกานนท์/124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด
(662) 2662-2266
nichapa@124comm.com--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ