กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.--โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์
เขาหลัก, จังหวัดพังงา
องค์การเอ็ดดูเคชั่น ดีเวลล็อบเม้นท์ เซ็นเตอร์, อิงค์ (อีดีซี) ประกาศโครงการการศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากดอยซ์แบงก์ กรุ๊ป โครงการนี้จะมีการสนับสนุนทางด้านทักษะการดำเนินชีวิต การจัดอบรมอาชีพ การสำรวจอาชีพ และการช่วยเหลือการศึกษาในโรงเรียน สำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ใน เขต 5 หมู่บ้านในจังหวังพังงา
จากการลงพื้นที่จังหวังพังงาหลายครั้ง อีดีซีพบว่ามีกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภัยพิบัติสึนามิ พวกเขาอาจจะไม่ได้เป็นผู้ประสบภัยโดยตรง หรือขาดข้อมูลทางด้านความช่วยเหลือที่หน่วยงานอื่นๆ มีให้แก่ผู้ประสบภัย เหตุการณ์สึนามิไม่ได้แค่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เขาแย่ลง หากยังทำให้ระบบเศรษฐกิจในพังงาแย่ด้วย โครงการที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิส่วนใหญ่มักมีพื้นฐานมาจากการท่องเที่ยวในพังงา แต่การช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิยังสามารถทำได้โดยการพัฒนาในด้านอื่น รวมไปถึงการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การศึกษา และการสร้างทางเลือกในอาชีพในแก่พวกเขา
“แม้ว่าเหตุการณ์สึนามิ เกิดขึ้นมาเกือบจะครบปีแล้ว แต่คนในพื้นที่ยังรู้สึกถึงผลกระทบของสึนามิอยู่” กล่าวโดย นางสาว แองเจลล่า เฉิน ผู้อำนวยการโครงการสำนักงานภูมิภาคเอเชีย “ดูเหมือนว่า สึนามิ ทำให้การพัฒนาในเขตพื้นที่นี้ถอยหลังกลับไปหลายปี ในการที่จะนำการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาสู่พื้นที่นี้ เราจะต้องมุ่งเน้นไปที่การศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อที่พวกเขาเหล่านี้จะได้เป็นผู้นำและสร้างความแตกต่างในชุมชนชองเขา” จุดประสงค์ของโครงการของอีดีซี คือ การขยายการศึกษาในสี่หมู่บ้านของชาวไทยใหม่ รวมถึงการศึกษาของ เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านน้ำเค็ม ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสึนามิ
ในหมู่บ้านชาวไทยใหม่บางหมู่บ้าน ที่อยู่ในพื้นที่โครงการ เด็กนักเรียนประมาณร้อยละ 30 หยุดเรียนหลังจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ อายุประมาณ 12 ปี แม้ว่าการศึกษาภาคบังคับจะถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก็ตาม นางกัญญานี แสงเสมา ครูผู้สอนที่โรงเรียนประถมศึกษาชาวไทยใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านชาวไทยใหม่ รู้สึกกังวลกับแนวโน้มนี้ “ดิฉันสอนที่นี่มา 29 ปี และตอนนี้ก็รู้สึกท้อ ที่เห็นเด็กๆหยุดเรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และไปทำงานที่โรงงานยาง เด็กๆได้ค่าจ้างวันละประมาณ 130 บาท ซึ่งฟังดูน่าจะเพียงพอในเวลานี้ แต่อาจจะไม่เพียงพอ ในอีก 5 ปีข้างหน้า
โครงการที่กำลังจะดำเนินการนี้ ตอบสนองปัญหาเหล่านี้ โดยความร่วมมือกับสำนักงานการศึกษาจังหวัดพังงา เพื่อสนับสนุนการเปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนชาวไทยใหม่ นอกเหนือไปจากนี้ เยาวชนในชุมชนยังต้องการโอกาสในการทำงานอีกด้วย หลังจากที่ได้พูดคุยและประชุมกับหลายๆหน่วยงาน ตั้งแต่ คุณครู ผู้นำชุมชน ครูใหญ่ และชาวบ้าน อีดีซีพบว่าสมาชิกในชุมชนมีโอกาสในการทำงานหรือการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับงานน้อยมาก “เราไม่สามารถจะบอกเด็กๆว่าให้ไปโรงเรียน แต่เราต้องแสดงให้พวกเขาเห็นประโยชน์ของการศึกษา และเห็นว่าการศึกษาจะนำพาพวกเขาไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร และโอกาสแห่งความสำเร็จในอนาคตของพวกเขาอยู่ตรงไหน” กล่าวโดย ผู้ประสานงานโครงการส่วนภูมิภาค นาย เอลเลียต พลาสซี-ฟรีแมน
โครงการนี้แบ่งออกเป็นหลายๆกิจกรรม ดังนี้ 1.สนับสนุนการเปิดการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนชาวไทยใหม่ 2. ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการอบรมทักษะชีวิตแก่เด็กและเยาวชน 3. เด็กนักเรียนมากกว่า 150 คน จะได้รับประโยชน์จากการอบรมอาชีพ และการจัดกิจกรรมวันอาชีพ โดยเรารวมกลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ จำนวน 10 โรงเรียน และจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอาชีพ ซึ่งเราได้ข้อมูลมาจาก การสำรวจอาชีพในเขตจังหวัดพังงา จุดประสงค์ในการจัดกิจกรรมเหล่านี้ก็เพื่อสร้างให้ชุมชนมีทักษะการดำเนินชีวิต และสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพให้แก่ชาวชุมชน นอกเหนือไปจากอาชีพที่ต้องขึ้นอยู่กับการประมงและการท่องเที่ยว และท้ายที่สุด การทำงานร่วมกับศูนย์ประสานงานชุมชนในพื้นที่บ้านน้ำเค็ม ในการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กและเยาวชนให้เขาสามารถเรียนรู้ คิดและวางแผนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับอนาคตของพวกเขา “เราหวังว่า โครงการนี้จะสร้างความแตกต่างให้กับเด็กๆ ของเรา และทำให้พวกเขามีอนาคตที่สดใส” กล่าวโดย นางกัญญานี
บรรยายภาพข่าว
1. โรงเรียนชาวไทยใหม่ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
2. ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร.ร.ชาวไทยใหม่
3. เด็กๆ ในหมู่บ้านลำปี
สามารถคลิกดูภาพได้ที่ www.thaipr.net--จบ--