กรุงเทพฯ--22 มิ.ย.--ซีเกท เทคโนโลยี
ในขณะที่ปริมาณข้อมูลทางธุรกิจและข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิจัยยังมุ่งเน้นการเพิ่ม ปริมาณของข้อมูลที่บันทึกลงในดิสก์ไดร์ฟ การเพิ่มความหนาแน่นของข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่หรือปริมาณ ข้อมูลที่บรรจุในแผ่นดิสก์ ทำให้นักวิจัยเพิ่มความจุของดิสก์ไดร์ฟมากกว่า 50 ล้านเท่า เทียบกับการบันทึกข้อมูล ในฮาร์ดดิสก์ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 การเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของข้อมูลบนแผ่นดิสก์ ทำให้ราคาของ ฮาร์ดไดร์ฟต่ำลงเนื่องจากปริมาณแผ่นดิสก์ (แพล็ตเตอร์) หัวอ่านและชิ้นส่วนทางด้านเครื่องกลในฮาร์ดดิสก์ แต่ละตัวลดลง
จากประวัติความเป็นมา ความหนาแน่นของข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่บนแผ่นดิสก์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 100 หรือสองเท่าทุกปี แต่อัตราการ เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ลดลงประมาณ ร้อยละ 40 เมื่อไม่นานมานี้เนื่องจากความท้าทายที่เพิ่มขึ้น ในการ เพิ่มความจุ ของการบันทึกแบบแนวยาว ( longitudinal) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้มาเกือบ 50 ปี ในการบันทึกข้อมูล ในดิสก์ไดร์ฟ
การเพิ่มความหนาแน่น
เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของข้อมูลและเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์โดยใช้การบันทึกข้อมูลแบบแนวยาว(longitudinal recording) นั้นข้อมูลแต่ละบิทจะต้องถูกบีบอัดให้ได้มากที่สุด นั้นหมายความว่าขนาดของบิท (bit) จะต้องมีขนาดเล็กลง อย่างไร ก็ตาม ถ้าหากบิทมีขนาดเล็กเกินไป พลังงานแม่เหล็กที่ทำให้บิทจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบอาจน้อยเกินกว่า พลังงาน ความร้อนที่เกิดขึ้นซึ่งสามารถสลับขั้วแม่เหล็กเหนือหรือใต้ของบิท ทำให้ข้อมูลผิดเพี้ยนไป ปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า superparamagnetism เพื่อหลีกเลี่ยง superparamagnetism ผู้ผลิตแผ่นบันทึกข้อมูลจะต้องเพิ่มคุณสมบัติ ทางแม่เหล็ก (coercivity) ของแผ่นดิสก์ให้สูงขึ้น แต่จะทำให้การบันทึกหรือการเขียนข้อมูลต้องใช้สนามแม่เหล็กเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน และมี ขีดจำกัดเนี่องจากสนามแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการ ผลิตหัวเขียน (writer)
ในการบันทึกข้อมูลแบบแนวดิ่ง (perpendicular recording) แม่เหล็กของบิท จะถูกจัดวางเรียงกัน อยู่ในแนวดิ่งกับ พื้นผิวของแผ่นดิสก์ โดยมีขั้วแม่เหล็กของบิททิศทางขึ้นหรือลง ซึ่งต่างจากการจัดเรียงของการบันทึกข้อมูลแบบแนวนอน (longitudinal recording) ที่มีการเรียงตัวของบิทในแนวราบกับแผ่นดิสก์ โดยที่ขั้วแม่เหล็กของบิทจะมี ทิศทางตามกัน หรือตรงกันข้ามกัน
ซีเกทได้สาธิตการบันทึกแบบแนวดิ่ง (perpendicular recording) ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลให้มีความหนาแน่นของบิทต่อ หนึ่งตารางนิ้ว เท่ากับ 245 กิกะบิท ด้วยอัตราการถ่ายโอน 480 เมกกะบิทต่อวินาที ซึ่งมากกว่าความหนาแน่นของข้อมูล
บนแผ่นดิสก์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือประมาณสองเท่า โดยความหนาแน่นสูงสุดอยู่ที่ 110 กิกะบิทต่อหนึ่งตารางนิ้ว ในขณะ ที่เทคโนโลยี การบันทึกแบบแนวดิ่งจะสามารถบีบอัดข้อมูลได้ถึง 500 กิกะบิทต่อหนึ่งตารางนิ้ว
และด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้ว จึงสามารถบีบอัดข้อมูลให้หนาแน่นได้ 500 กิกะบิทต่อตารางนิ้ว จะ สามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสิ้น 2 เทราไบท์ (2,000 กิกะไบท์) ในขณะที่ไดร์ฟขนาด 2.5 นิ้ว ที่ใช้กับเครื่องโน๊ตบุ้ค ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูล 500 กิกะไบท์ และในไดร์ฟขนาด 1 นิ้ว เช่น เครื่องเล่นเอ็มพี3 สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 50 กิกะไบท์
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อนางสาวขวัญจิต สุดสวัสดิ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์
บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 0-2715-2919--จบ--