มันฝรั่งดัดแปรพันธุกรรมสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ได้

ข่าวทั่วไป Wednesday May 11, 2005 13:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
มันฝรั่งดัดแปรพันธุกรรมสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ได้ นักวิจัยหวังว่าจะมีผลในการป้องกันโรคอื่นๆ ได้ด้วย
สักวันหนึ่งข้างหน้า การปลูกฝีหรือฉีดวัคซีนป้องกันโรค อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ แค่รับประทาน
มะเขือเทศหรือผักกาด หรือกลืนแคปซูลที่ภายในบรรจุผักชนิดต่างๆ ที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมให้สามารถป้องกันโรคได้ นักชีววิทยาได้ทดลองผลิตมันฝรั่งที่มีคุณสมบัติเหมือนวัคซีนที่ช่วยผู้บริโภคลดความเสี่ยงในการติดโรคไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำลายตับ
แต่ละปีประชากรโลกราว 350 ล้านคนต้องป่วยด้วยโรคนี้ และเสียชีวิตเป็นจำนวนสูงถึงหนึ่งล้านคน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะยังมีวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้ ประเทศที่ยังยากจนหลายประเทศก็ยังขาดแคลนเงิน
จัดซื้อวัคซีนชนิดนี้ได้
ดร. แคโรล โอ แทคเก็ต นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แมรี่แลนด์ บัลติมอร์ ซึ่งได้ศึกษาพืชที่มีวัคซีนชนิดนี้ กล่าวว่า “การวิจัยครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากวัคซีนชนิดนี้ไม่ถูกทำลาย
ในการย่อย และร่างกายมนุษย์สามารถจะดึงเอาโปรตีนที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคนี้ขึ้นมาได้ ส่งผลให้ในอนาคตอาจจะลดค่าใช้จ่ายในการผลิตวัคซีน และลดความเสี่ยงในการติดโรคได้”
มันฝรั่งปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิศวพันธุกรรมที่มีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ บี จะเป็นวัคซีนบริโภคได้ชนิดแรก
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า จะสามารถป้องกันชีวิตมนุษย์ได้เป็นล้านๆ ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งมีเด็กประมาณสามล้านคน เสียชีวิตด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น
โรคบาดทะยัก คอตีบ และหัด
วัคซีนที่บริโภคได้ซึ่งทำขึ้นจากพืชมีข้อได้เปรียบเหนือวัคซีนธรรมดา เนื่องจากสามารถผลิตได้ในราคาถูก เมื่อเทียบกับวัคซีนที่ฉีดแต่ละครั้งต้องจ่ายเงินถึง 40 เหรียญ (1,600 บาท) ไม่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้
ในตู้เย็น เพราะไม่ต้องเก็บกักไวรัสที่มีชีวิต และมีความปลอดภัยมากกว่าการฉีดวัคซีน เนื่องจากไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา ซึ่งทำให้ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากความพลั้งเผลอได้
วัคซีนชนิดนี้สามารถปลูกได้ในประเทศที่ต้องการจะใช้วัคซีนประเทศนี้ ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการขนส่งระยะทางไกล
นายชาร์ลส์ อาร์นท์เซนท์ นักชีววิทยาพืช จากมหาวิทยาลัยอริโซน่า สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ช่วยผลิตมันฝรั่งปรับปรุงพันธุ์ให้มีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี กล่าวว่า “ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาน่าจะยอมรับวัคซีนที่รับประทานได้มากกว่าที่จะให้คนแปลกหน้า หน้าตาเย็นชา เอาเข็มฉีดยามาจิ้มแขนของลูกๆ
ของพวกเขา”
วัคซีนชนิดนี้ เกิดจากการเอายีนของไวรัสโรคตับอักเสบ บี ใส่เข้าไปในพันธุ์มันฝรั่ง ซึ่งสร้างสารที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ก่อให้เกิดเซลล์ที่ต้านไวรัส มันฝรั่งพันธุ์นั้นได้นำมาผ่านการโคลนนิ่ง และเพาะปลูก
ในการทดลองวัคซีนชนิดนี้กับอาสาสมัคร 42 คน และร้อยละ 60 ของคนเหล่านั้นแสดงผลว่า ร่างกาย
ได้ พัฒนาภูมิต้านทานโรคไวรัสตับอักเสบบี หลังจากที่ได้รับประทานมันฝรั่งปรับปรุงพันธุ์ดิบๆ เข้าไป
ขณะที่ วัคซีนธรรมดาสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในอัตราร้อยละ 90
ตั้งแต่นั้นมา ด้วยความหวังที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น อาร์นท์เซนและผู้ร่วมงานของเขาได้ทดลองต่อไปอีกขั้นหนึ่ง โดยฝานมันฝรั่งปรับปรุงพันธุ์เป็นแผ่นบาง และนำไปแช่แข็ง และนำมาป่นเป็นแป้งเพื่อให้
วัดปริมาณได้ และนำไปบรรจุในแคปซูลที่ทำจากวุ้น การทำเป็นแคปซูลทำให้นักวิจัยสามารถกำหนดปริมาณวัคซีนในมันฝรั่งให้เพียงพอต่อการป้องกันโรคสำหรับผู้บริโภคได้
อาร์นท์เซนกล่าวว่า เขาหวังว่าวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ที่รับประทานได้นี้ จะมีจำหน่ายทั่ว
ในอีก 5 ปีข้างหน้า “นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผลิตและแจกจ่ายวัคซีน ไปยังสถานที่ที่วัคซีนชนิดนี้หายาก”
นอกจากนี้ วัคซีนที่รับประทานได้เพื่อป้องกันโรคชนิดอื่นๆ กำลังได้รับการค้นคว้าวิจัย
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยอริโซน่า กำลังพัฒนาวัคซีนในพืชโดยใช้มันฝรั่ง ใบยาสูบและมะเขือเทศ
เพื่อป้องกันอหิวาตกโรค ไวรัส นอร์วอล์ค ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้ลำไส้อักเสบที่มักจะเกิดแก่ผู้ที่เดินทางอยู่ในเรือกลางมหาสมุทร และไวรัสปาปิโยม่าในมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งในลำคอ นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันมหาวิทยาลัยโธมัส เจฟเฟอร์สัน ในเมืองฟิลาเดลเฟียได้ผลิตผักโขมปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งได้ทดลองกับมนุษย์แล้วปรากฏว่าสามารถสร้างสารป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้
อีกด้านหนึ่ง นักวิจัยของมหาวิทยาลัย โลมา ลินดา ได้พัฒนาวัคซีนในมันฝรั่งปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งสามารถ
ป้องกันโรคเบาหวาน ประเภท 1 ซึ่งเกิดจากเซลล์ที่ผลิตอินซูลินเซลในตับอ่อนถูกทำลาย การศึกษาในสัตว์ทดลองในมี 2542 พบว่า วัคซีนชนิดนี้สามารถลดการก่อตัวของโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 60 และวิลเลียม เอช อาร์ แลงกริด ซึ่งเป็นนักชีวเคมีวิยา ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลมา ลินดา กล่าวว่า“ขั้นต่อไป เราจะทดลองวัคซีนชนิดนี้ในมนุษย์”
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อคุณศรีเบญจา หมายเลขโทรศัพท์ 0-2252 9871
หรือที่
วราพร สมบูรณ์วรรณะ หรือสาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
โทร. 0 2252 9871 หรือ 0 1842 0031--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ