กรุงเทพฯ--4 ก.ค.--คต.
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกคำสั่ง (Commission Directive 2008/60/EC) ว่าด้วยการกำหนดเงื่อนไขความบริสุทธิ์สารให้ความหวานที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในอาหารหรือเป็นส่วนผสมในอาหารที่มีคุณค่าทางพลังงานต่ำ ไม่ก่อให้เกิดฟันผุ (Non Cariogenic) หรือไม่มีส่วนผสมจากน้ำตาล เพื่อเป็นการช่วยขยายวันหมดอายุสินค้าและเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษทางโภชนาการ โดยรายการสารให้ความหวานที่ได้รับอนุญาตการใช้ที่ต้องควบคุมความบริสุทธิ์ภายใต้คำสั่งดังกล่าวจำนวน 17 ชนิด คือ SORBITOL/SORBITOL SYRUP, MANNITOL, ACESULFAME K, ASPARTAME, CYCLAMIC ACID AND ITS Na AND Ca SALTS, ISOMALT,SACCHARIN AND ITS Na, K AND Ca SALTS, SUCRALOSE, THAUMATIN, NEOHESPERIDINE DIHYDROCHALCONE,SALT OF ASPARTAME—ACESULFAME,MALTITOL , MALTITOL SYRUP, LACTITOL, XYLITOL, ERYTHRITOL
ทั้งนี้ การกำหนดความบริสุทธิ์ของสารแต่ละชนิดข้างต้น จะพิจารณาจากปริมาณของส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ในสารให้ความหวาน ตัวอย่างเช่น สารให้ความหวานซอร์บิตอล (SORBITOL) ที่บริสุทธิ์จะพิจารณาจากส่วนประกอบภายใน ดังตารางต่อไปนี้
ส่วนประกอบในสารซอร์บิตอล ปริมาณที่กำหนด
Water content Not more than 1% (Karl Fischer method)
Sulphated ash Not more than 0.1%expressed on dry weight basis
Reducing sugars Not more than 0.3%expressed as glucose on dry weight basis
Total sugars Not more than 1%expressed as glucose on dry weight basis
Chlorides Not more than 50 mg/kgexpressed on dry weight basis
Sulphates Not more than 100 mg/kgexpressed on dry weight basis
Nickel Not more than 2 mg/kgexpressed on dry weight basis
Arsenic Not more than 3 mg/kgexpressed on dry weight basis
Lead Not more than 1 mg/kgexpressed on dry weight basis
Heavy metals Not more than 10 mg/kgexpressed as Pb on dry weight basis
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสั่ง Commission Directive 2008/60/EC และการกำหนดความบริสุทธิ์ของสารให้ความหวานแต่ละชนิด สามารถดูได้ที่ http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ: L:2008:158:0017:0040:EN:PDF
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ออกคำสั่งและระเบียบที่เกี่ยวกับสินค้าอาหารเข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทย ผู้ประกอบการไทยจึงควรติดตามความเคลื่อนไหว และปรับตัวในด้านเทคโนโลยีการผลิตสินค้าอาหารที่ใช้สารให้ความหวาน ให้เป็นไปตามเงื่อนไขความบริสุทธิ์ตามระเบียบที่กำหนด เพื่อให้สามารถวางจำหน่ายในตลาดสหภาพ ยุโรปได้ต่อไป