ตลาดรถยนต์ครึ่งปีแรกขาย 321,475 คัน เพิ่มขึ้น 9.9% มิถุนายน ขาย 50,108 คัน ลดลง 5.9 %

ข่าวยานยนต์ Wednesday July 16, 2008 14:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--โตโยต้า มอเตอร์
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมิถุนายน 2551 ด้วยปริมาณการขาย 50,108 คัน ลดลง 5.9 % แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 20,582 คัน เพิ่มขึ้น 29.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 29,526 คัน ลดลง 20.9% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 25,265 คัน ลดลง 23.2%
ทางด้านสถิติการขายสะสมครึ่งปีแรกของปี 2551 มีปริมาณทั้งสิ้น 321,475 คัน เพิ่มขึ้น 9.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 110,419 คัน เพิ่มขึ้น 32.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 211,056 คัน เพิ่มขึ้น 0.9% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 181,888 คัน ลดลง 0.7%
ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์ ครึ่งปีแรก ยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น ด้วยยอดขายรวม 321,475 คัน เพิ่มขึ้น 9.9% เนื่องจากการเติบโตของตลาดรถยนต์นั่งที่มีอัตราเติบโตสูงถึง 32.4% ทั้งนี้เป็นผลมาจากความนิยมในรถยนต์ E20 และรถยนต์รุ่นใหม่ที่แนะนำเข้าสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงต้นปี อาทิ โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส ฮอนด้า แจ๊ส ประกอบกับตลาดมีความต้องการรถยนต์นั่งมากขึ้น ส่วนตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีการเติบโตไม่มากนัก ในขณะที่ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตันมีอัตราลดลง 0.7% เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอย่างมากของราคาน้ำมันดีเซลโดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน
2. ตลาดรถยนต์ในเดือน มิถุนายน มีปริมาณการขาย 50,108 คัน ลดลง 5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นอัตราการเติบโตที่ลดลงครั้งแรกของปี เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นและไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะหยุดนิ่งเมื่อใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้อัตราเงินเฟ้อของเดือนมิถุนายน มีอัตราสูงสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งมีผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการลดลงของตลาดรถเพื่อการพาณิชย์และกระบะขนาด 1 ตัน ทั้งนี้ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่มีอัตราการเติบโตลดลง 20.9% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ลดลง 23.2 % ในขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 29.3%
3. ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม มีแนวโน้มระดับการขายทรงตัว ตามสถิติการขายแล้ว เดือนกรกฎาคมจะมีอัตราการหดตัวลดลง ทั้งนี้ปัญหาของสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาด ประกอบกับเข้าสู่ช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูการขาย และราคาน้ำมันคาดว่ายังมีแนวโน้มปรับขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่เจาะเข้าถึงผู้บริโภคอย่างเหมาะสมของค่ายรถยนต์ และข้อเสนอเช่าซื้อที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้บริโภค จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญทำให้ตลาดรถยนต์สามารถรักษาระดับการขายไว้
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2551
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 50,108 คัน ลดลง 5.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 22,499 คัน ลดลง 12.0% ส่วนแบ่งตลาด 44.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,233 คัน ลดลง 7.0% ส่วนแบ่งตลาด 20.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,960 คัน เพิ่มขึ้น 38.8% ส่วนแบ่งตลาด 15.9%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,582 คัน เพิ่มขึ้น 29.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,950 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 48.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,322 คัน เพิ่มขึ้น 46.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 1,017 คัน เพิ่มขึ้น 66.7% ส่วนแบ่งตลาด 4.9%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 25,265 คัน ลดลง 23.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,589 คัน ลดลง 25.9% ส่วนแบ่งตลาด 45.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,669 คัน ลดลง 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,333 คัน ลดลง 34.0% ส่วนแบ่งตลาด 5.3%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 1,225 คัน
โตโยต้า 840 คัน — อีซูซุ 349 คัน — ฟอร์ด 36 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 24,040 คัน ลดลง 22.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,749 คัน ลดลง 24.2% ส่วนแบ่งตลาด 44.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,320 คัน ลดลง 3.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,333 คัน ลดลง 34.0% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 29,526 คัน ลดลง 20.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,549 คัน ลดลง 25.2% ส่วนแบ่งตลาด 42.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,233 คัน ลดลง 7.0% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,339 คัน ลดลง 33.7% ส่วนแบ่งตลาด 4.5%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — มิถุนายน 2551
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 321,475 คัน เพิ่มขึ้น 9.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 136,061 คัน เพิ่มขึ้น 7.8% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 71,191 คัน เพิ่มขึ้น 6.6% ส่วนแบ่งตลาด 22.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 43,126 คัน เพิ่มขึ้น 35.3% ส่วนแบ่งตลาด 13.4%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 110,419 คัน เพิ่มขึ้น 32.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 54,018 คัน เพิ่มขึ้น 24.1% ส่วนแบ่งตลาด 48.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 37,500 คัน เพิ่มขึ้น 41.0% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 5,402 คัน เพิ่มขึ้น 42.0% ส่วนแบ่งตลาด 4.9%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*(Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 181,888 คัน ลดลง 0.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 74,569 คัน ลดลง 1.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 67,445 คัน เพิ่มขึ้น 9.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 13,856 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 11,338 คัน
โตโยต้า 7,214 คัน — อีซูซุ 3,801 คัน — ฟอร์ด 323 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 170,550 คัน ลดลง 1.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 67,355 คัน ลดลง 0.9% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 63,644 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 13,856 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 211,056 คัน เพิ่มขึ้น 0.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 82,043 คัน ลดลง 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 71,191 คัน เพิ่มขึ้น 6.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 14,254คัน ลดลง 18.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ