กรุงเทพฯ--23 ก.ค.--ทริสเรทติ้ง
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดเดิมของ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เป็นระดับ “A-” จากเดิม “BBB+” พร้อมทั้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 2,500 ล้านบาทของบริษัทที่ระดับ “A-” พร้อมแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงสถานะของบริษัทที่แข็งแกร่งขึ้นในตลาดบ้านระดับราคาปานกลาง ความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้น รวมถึงความสามารถในการใช้ประโยชน์จากมาตรการภาษีของภาครัฐได้อย่างเต็มที่จากการที่บริษัทมีบ้านที่พร้อมส่งมอบเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงผลงานที่ยาวนานของบริษัทในตลาดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนภาพพจน์ตราสัญลักษณ์ที่แข็งแกร่งในตลาดบ้านจัดสรรระดับบน และรายได้ค่าเช่าที่สม่ำเสมอจากเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์และอาคารสำนักงานด้วย อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากวงจรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย?ที่ชะลอตัวและแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ?อที่อาจ
ส่งผลกระทบต?อการทํากําไรของผู?ประกอบการ
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนความคาดหมายว่าบริษัทจะยังคงสามารถรักษาสถานะผู้นำในตลาดที่อยู่อาศัยรายได้ปานกลางถึงระดับสูงได้ในช่วงที่อุปสงค์ของตลาดที่อยู่อาศัยชะลอตัว และสามารถรักษาอัตราการเติบโตของยอดขายได้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้นจากประโยชน์ที่ได้จากมาตรการภาษีของภาครัฐ อีกทั้งยังคาดว่าการลงทุนในโครงการบ้านจัดสรรของบริษัทจะลดลงหลังจากมาตรการทางภาษีสิ้นสุดลงในปี 2552 นอกจากนี้ ยังคาดว่าอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนจะลดลงภายหลังจากที่บริษัทสามารถระบายสินค้าที่อยู่อาศัยออกไปและนำเงินสดที่ได้มาไปใช้ในการชำระหนี้และลงทุนเพิ่มเติม
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทควอลิตี้ เฮ้าส์เป็นหนึ่งในผู้นำในตลาดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยซึ่งก่อตั้งในปี 2526 โดย บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ณ เดือนเมษายน 2551 ประกอบด้วยบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ร่วมกับตระกูลอัศวโภคิน (25%) และ The Government of Singapore Investment Corporation Pte. Ltd. (13%) ความได?เปรียบในการแข?งขันของบริษัทมาจากการมีสถานะที่แข็งแกร่งในตลาดที่อยู่อาศัยราคาแพง การมีอสังหาริมทรัพย์เพื่อเช่าที่มีคุณภาพซึ่งประกอบด้วยอาคารสำนักงาน Q. House และเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ Centrepoint ซึ่งสามารถสร้างรายได้ค่าเช่าที่มีความสม่ำเสมอ และการมีโครงการบ้านจัดสรรราคาปานกลาง Casa Ville ซึ่งกำลังเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ราคาขายที่อยู?อาศัยเฉลี่ยต?อหน?วยในโครงการทั้งหมดของบริษัทซึ่งลดลงมาอยู?ที่ 7.4 ล?านบาทแสดงให?เห็นถึงการเปลี่ยนกลยุทธ?มาเน?นการพัฒนาที่อยู?อาศัยสําหรับกลุ?มผู?มีรายได?ปานกลางมากขึ้น ณ เดือนมีนาคม 2551 บริษัทมีโครงการที่กําลังเป?ดขายรวมทั้งสิ้น 22 โครงการ คิดเป?นมูลค?าขายคงเหลือประมาณ 16,144 ล้านบาท โดยบริษัทมียอดขายโครงการบ้านจัดสรรคิดเป?น 85% ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่รายได้ค่าเช่าในโครงการอาคารสำนักงานและเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์คิดเป?น 3%-4% และ 10%-12% ตามลําดับในช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน ทั้งนี้ ในปี 2552 บริษัทมีแผนจะเปิดตัวคอนโดมิเนียม 3 โครงการซึ่งน่าจะสร้างรายได้ในปริมาณที่มากสำหรับปี 2553
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทควอลิตี้ เฮ้าส์ในหลายปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ในช่วงที่ตลาดที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงในระหว่างปี 2549-2550 รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 7,904 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 10,246 ล้านบาทในปี 2550 ทว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 กลับชะลอตัวลงเหลือ 2,355 ล้านบาทจาก 2,455 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 2550 สาเหตุมาจากการชะลอการส?งมอบที่อยู?อาศัยในช?วง 3 สัปดาห?ก?อนวันที่มาตรการทางภาษีมีผลบังคับใช? (29 มีนาคม 2551) โดยคาดว่ารายได้ของบริษัทในช่วงไตรมาสที่ 2 จะเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงเดียวกันในปี 2550 เนื่องจากผลของการโอนบ้านที่ค้างจากไตรมาสก่อน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทมีการลงทุนเป็นอย่างมากในโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขายหลังจากประสบความสำเร็จกับโครงการที่อยู่อาศัยราคาปานกลาง ส่งผลทำให้สินทรัพย์รวมของ
บริษัทจึงเพิ่มขึ้นจากระดับ 20,305 ล้านบาทในปลายปี 2549 เป็น 25,706 ล้านบาทในปลายเดือนมีนาคม 2551 ทำให้อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนเพิ่มขึ้นจาก 52% ในปลายปี 2549 เป็น 60% ณ ปลายเดือนมีนาคม 2550 กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 18% ในปี 2550 และไตรมาสแรกของปี 2551 จากเดิมที่ 12% ในปี 2549 ซึ่งสะท้อนถึงการหยุดการลดราคาสินค้าเพื่อระบายสินค้าที่มีอายุยาวในอดีต และคาดว่าบริษัทน่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการทางภาษีของภาครัฐอย่างเต็มที่เนื่องจากบริษัทมีปริมาณบ้านในโครงการปัจจุบันที่จะสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบได้ภายใน 1 ปีเป็นจำนวนมาก
ทริสเรทติ้งยังกล่าวด้วยว่า อุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัยขึ้นอยู่กับแนวโน้มโดยรวมของภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2551 น่าจะเติบโตในระดับปานกลางด้วยอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ระดับ 4.5%-5.5% อย่างไรก็ตาม ตลาดที่อยู่อาศัยยังคงได้รับแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อและความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำและกระทบต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ ทั้งนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งได้แก่การลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะแก่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการลดค่าธรรมเนียมการโอนสำหรับผู้ซื้อบ้านและผู้ประกอบการสามารถช่วยกระตุ้นความต้องการที่อยู่อาศัยได้เฉพาะในระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงต่ำเนื่องจากยังไม่มีความมั่นใจในสภาพเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่สูงและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยบั่นทอนความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ของผู้ซื้อบ้านในอนาคต