กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--ซีเกท เทคโนโลยี
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยร่วมกับบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 8 ทีมใน การจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2549 (Robocup Thailand Championship 2006) รอบคัดเลือก ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทีมที่ทำคะแนนสูงสุดจำนวน 8 ทีมแรกได้รับรางวัลทีมละ 20,000 บาท เพื่อนำไปพัฒนาประสิทธิภาพหุ่นยนต์ที่จะเข้าแข่งขัน รอบชิงชนะเลิศในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ทีมที่ทำคะแนนสูงสุด 8 ทีมแรกและผ่านการคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศมีดังนี้
ชื่อทีม ชื่อสถาบันการศึกษา
1. Plasma-Z จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. อัศวินน้อย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. Robust 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4. INC มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
5. TU-Challenger มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. Revenger มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
7. Scuba มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
8. Robodance:IRAP สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
นอกจากนี้ คณะกรรมการตัดสินการแข่งขันได้เชิญทีมหุ่นยนต์อีก 4 ทีมคือ ทีมแมลงปอน้อย จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีมเกียร์เฌองดอย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทีมพลาสมา-จุฬา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทีมไข่นุ้ย จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้เข้าร่วมการแข่งขันรอบสุดท้ายด้วย เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าทีมหุ่นยนต์เหล่านี้มีศักยภาพในการแข่งขันรอบสุดท้ายได้
รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาส จงสถิตย์วัฒนา นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยกล่าวถึงการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทยว่า “การแข่งขันนี้ได้รับความสนใจจากนักประดิษฐ์หุ่นยนต์ทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นการใช้เทคโนโลยีสูงสุดและเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ต่าง ๆ ทางด้านวิศวกรรม จะเห็นได้ว่าในปีนี้มีทีมหุ่นยนต์สมัคร เข้าร่วมแข่งขันมากถึง 32 ทีม ซึ่งเป็นจำนวนที่มากเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มจัดการแข่งขัน”
นายเบร้น บาร์กแมนน์ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการประเทศไทย บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ซีเกทมีความภาคภูมิใจที่เป็นผู้สนับสนุนหลักในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2549 การจัดการแข่งขันนี้เป็นอีกเวทีหนึ่งซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้นำความรู้และหลักการที่พวกเขาได้เรียนรู้ในห้องเรียนมาใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ทำงานได้จริง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พวกเขา”
ในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2549 รอบชิงชนะเลิศ ทีมชนะเลิศประเทศไทยจะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท และเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก (World RoboCup 2006) ที่ประเทศเยอรมนี ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท ทีมที่ได้รับรางวัลเทคนิค ยอดเยี่ยมจะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท
ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจและดำเนินงานเกี่ยวข้องกับวิศวกรรม หุ่นยนต์อันประกอบไปด้วย นักวิชาการ นักวิจัย และนักอุตสาหกรรม บุคคลเหล่านี้มีความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีและการวิจัยทางด้านหุ่นยนต์ เช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ต่าง ๆ ในประเทศไทย ท่านสามารถติดต่อสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยได้ที่ โทร. 0-2218-6982, 0-2218-6956 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.trs.or.th
ข้อมูลเกี่ยวกับซีเกท
ซีเกทคือผู้นำทั่วโลกในการออกแบบ การผลิตและการตลาดฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อันหลากหลายสำหรับ องค์กร เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ (Mobile Computing) และอุปกรณ์อุปโภคบริโภค (Consumer Electronics) รูปแบบการดำเนินธุรกิจของซีเกทช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและการผลิตระดับโลกเพื่อ ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีคุณภาพในระดับชั้นนำของอุตสาหกรรมไปยังลูกค้าทั่วโลก รวมทั้งเป็น ผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำในตลาดทั้งหมดที่เรามีส่วนร่วม บริษัทมีความมุ่งมั่นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลและมี คุณภาพดีที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการบันทึกข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาในโลก ท่านสามารถพบซีเกทได้ทั่วโลกและพบข้อมูลซีเกทที่ www.seagate.com
ซีเกท ซีเกท เทคโนโลยี และโลโก้เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี แอลแอลซี
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ผศ. ดร. วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์
ประธานการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2549
โทร. 0-2218-6588 หรือ
นางสาวขวัญจิต สุดสวัสดิ์ ผู้จัดการอาวุโส
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย จำกัด)
โทร. 0-2715-2919--จบ--