กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--โตโยต้า มอเตอร์
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2551 ด้วยปริมาณการขาย 44,772 คัน ลดลง 12.5 % แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 19,280 คัน เพิ่มขึ้น 27.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 25,492 คัน ลดลง 29.3% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 21,290 คัน ลดลง 32.8%
ทางด้านสถิติการขายสะสม 7 เดือนของปี 2551 มีปริมาณทั้งสิ้น 366,247 คัน เพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 129,699 คัน เพิ่มขึ้น 31.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 236,548 คัน ลดลง 3.5% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 203,178 คัน ลดลง 5.5%
ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์ 7 เดือนแรกเติบโต ด้วยยอดขายรวม 366,247 คัน เพิ่มขึ้น 6.6% สืบเนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดรถยนต์นั่ง โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 31.7% ทั้งนี้เป็นผลบวกจากความนิยมรถยนต์ E20 ตั้งแต่ต้นปี รวมถึงความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ อาทิ โคโรลล่า อัลติส และ ฮอนด้า แจ๊ส ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์นั่ง ส่วนตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง 3.5% รวมถึงตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตลดลง 5.5% เป็นผลจากความตระหนกของผู้บริโภคต่อราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ปรับตัวขึ้นอย่างมากจนใกล้เคียงกับราคาน้ำมันเบนซิน
2. ตลาดรถยนต์ในเดือน กรกฎาคม มีอัตราการเติบโตลดลง ปริมาณการขาย 44,772 คัน ลดลง 12.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ตามสถิติแล้วเดือนกรกฎาคมจะมียอดขายน้อยเป็นอันดับ 2 ของปีประกอบกับในเดือนนี้มีปัจจัยลบต่อตลาด อาทิ ราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นถึง 44 บาท/ลิตร ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมสูงถึง 9.2% สูงสุดในรอบ 10 ปี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงเหลือ 7.5 ส่งผลให้ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ปรับตัวลดลง 29.3% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ลดลง 32.8% ในขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งซึ่งได้แรงหนุนจากมาตรการต่างๆ จากภาครัฐส่งผลให้มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 27.5%
3. ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม คาดว่าปริมาณการขายมีแนวโน้มดีขึ้น แม้ว่าตามสถิติการขายแล้ว เดือนสิงหาคมจะมียอดขายน้อยเป็นอันดับ 3 ของปี ทั้งนี้ผลจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลที่มีการปรับลดลงถึง 6 ครั้งตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และการนำเสนอบทความจากสื่อต่างๆเกี่ยวกับคุณสมบัติเครื่องยนต์ดีเซลกับการบรรทุกเพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องจะส่งผลดีต่อตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ เมื่อรวมกับตลาดรถยนต์นั่งที่เติบโตต่อเนื่อง จะส่งผลให้ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคมมีแนวโน้มตามคาด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกรกฎาคม 2551
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 44,772 คัน ลดลง 12.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,349 คัน ลดลง 19.5% ส่วนแบ่งตลาด 45.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,735 คัน ลดลง 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 19.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,724 คัน เพิ่มขึ้น 24.4% ส่วนแบ่งตลาด 15.0%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 19,280 คัน เพิ่มขึ้น 27.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,541 คัน เพิ่มขึ้น 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 49.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,189 คัน เพิ่มขึ้น 31.4% ส่วนแบ่งตลาด 32.1%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 1,204 คัน เพิ่มขึ้น 136.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 21,290 คัน ลดลง 32.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,863 คัน ลดลง 37.5% ส่วนแบ่งตลาด 46.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,194 คัน ลดลง 19.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,394 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 831 คัน
โตโยต้า 632 คัน — อีซูซุ 172 คัน — ฟอร์ด 27 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 20,459 คัน ลดลง 32.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,231 คัน ลดลง 37.2% ส่วนแบ่งตลาด 45.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,022 คัน ลดลง 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,394 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 25,492 คัน ลดลง 29.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,808 คัน ลดลง 36.5% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,735 คัน ลดลง 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,455 คัน ลดลง 31.0% ส่วนแบ่งตลาด 5.7%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — กรกฎาคม 2551
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 366,247 คัน เพิ่มขึ้น 6.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 156,410 คัน เพิ่มขึ้น 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 42.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 79,926 คัน เพิ่มขึ้น 2.8% ส่วนแบ่งตลาด 21.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 49,850 คัน เพิ่มขึ้น 33.7% ส่วนแบ่งตลาด 13.6%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 129,699 คัน เพิ่มขึ้น 31.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 63,559 คัน เพิ่มขึ้น 22.7% ส่วนแบ่งตลาด 49.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 43,689 คัน เพิ่มขึ้น 39.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 6,606 คัน เพิ่มขึ้น 53.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.1%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 203,178 คัน ลดลง 5.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 84,432 คัน ลดลง 7.4% ส่วนแบ่งตลาด 41.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 75,639 คัน เพิ่มขึ้น 5.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 15,250 คัน ลดลง 17.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 12,169 คัน
โตโยต้า 7,846 คัน — อีซูซุ 3,973 คัน — ฟอร์ด 350 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 191,009 คัน ลดลง 5.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 76,586 คัน ลดลง 7.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 71,666 คัน เพิ่มขึ้น 4.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 3 นิสสัน 15,250 คัน ลดลง 17.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 236,548 คัน ลดลง 3.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 92,851 คัน ลดลง 6.9% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 79,926 คัน เพิ่มขึ้น 2.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 15,709คัน ลดลง 19.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.6%