กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--สพภ.
นายอภิวัฒน์ เศรษฐรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. เปิดเผยว่า สพภ.เตรียม จัดงาน “มหกรรมทรัพยากรชีวภาพ...เส้นทางสู่เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง” ขึ้น ในระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2551 ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยรูปแบบงานเป็นการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เชิงปฏิบัติการ และการแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและภาคธุรกิจ ซึ่งได้เชิญตัวแทนชุมชน ผู้ประกอบการจากทุกภาค ทั่วประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เกิดการสร้างเครือข่ายความรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพไปใช้ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและเศรษฐกิจในทุกระดับได้
สำหรับเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการมี 5 เรื่องสำคัญคือ (1) เรื่องเงื่อนไข/ข้อกำหนด/กฎระเบียบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและยา (2) เรื่องสมุนไพรไทยโอกาสในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ (3) เรื่องการสร้างระบบฐานข้อมูลทรัยพยากรชีวภาพของชุมชนโดยชุมชน (4) เรื่องการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และ (5) เรื่องโอกาสทางธุรกิจของการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ โดยหัวข้อเหล่านี้จะสร้างความเข้าใจ กระตุ้นองค์ความรู้ในชุมชนให้เกิดการต่อยอดผลิตภัณฑ์และเกิดรูปธรรมทางธุรกิจ มากขึ้น
ที่ผ่านมา สพภ. ได้ส่งเสริมชุมชนให้เกิดการบริหารจัดการและนำทรัพยากรทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ และโอกาสให้แก่ประชาชน และเกิดความมั่นคงของชุมชนท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ขณะนี้ สพภ.นำร่องส่งเสริมไปแล้ว 10 ชุมชน 10 จังหวัดจากทุกภาคทั่วประเทศ และ สพภ. ตั้งเป้าสร้างเครือข่ายการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพิ่มขึ้นภายในปี 2552 อีกประมาณ 25 ชุมชน
ทั้งนี้จาก 10 ชุมชนนำร่องดังกล่าว ได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฐานทรัพยากรชีวิภาพมาผลิตเป็นสินค้า เช่น การย้อมครามของชนเผ่ากะเลิง จ.สกลนคร พันธุ์ข้าวพื้นเมืองบ้านนาเวียง จ.อำนาจเจริญ สมุนไพรจากบ้านสามหมอ จ.อุดรธานี ต้นขลู่ พืชมหัศจรรย์ จาก อ.ขลุง จ.จันทบุรี และจากฐานข้อมูลชีวภาพดังกล่าว พบว่ามีทรัพยากรชีวภาพนำร่อง 3 รายการ ที่มีโอกาสทางธุรกิจเชิงการค้า มีอนาคตสดใส ได้แก่ ธุรกิจสปาสมุนไพร การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ และธุรกิจเลี้ยงปลาสวยงามกับธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ซึ่งแต่ละธุรกิจมีมูลค่าทางการตลาดสูงมาก
โดยเฉพาะธุรกิจสปาและสุขภาพมีมูลค่ารวมเฉลี่ยปีละ 10000 ล้านบาท ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจสปาแห่งเอเชีย (Capital Spa of Asia) และจากการสำรวจความนิยมของ Spa Asia Magazine ประเทศสิงคโปร์ พบว่า สปาไทยเป็นที่นิยมอันดับหนึ่งในเอเชีย โดยภาพรวมธุรกิจสปาไทยมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 20-30 โดยแบ่งเป็นลูกค้าต่างประเทศประมาณร้อยละ 80 % และลูกค้าไทยประมาณร้อยละ 20 % ก่อให้เกิดการจ้างงานโดยตรงกว่า 60,000 ราย และสามารถสร้างรายได้ทางอ้อมจากนักท่องเทียวต่างชาติได้ไม่ต่ำกว่า 20,000ล้านบาทต่อปี
ส่วนธุรกิจเลี้ยงปลาสวยงาม ไทยมีโอกาสดีเช่นเดียวกัน เพราะปัจจุบันไทยส่งออกปลาสวยงามไปสู่ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกทั้งปริมาณ และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปลาสวยงามสามารถทำรายได้เข้าประเทศปีละไม่ต่ำ กว่า 600 ล้านบาทพิจาณาได้ในปี 2548 มีมูลค่า 561 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นในปี 2549 มีมูลค่า 615 ล้าน บาท ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกเป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และฮ่องกง ตลาดหลักในการ ส่งออกปลาสวยงามคือ สหรัฐฯ โดยส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ร้อยละ 90 จำหน่ายในประเทศเพียงร้อยละ 10 นอกจากนี้ธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ มีการทำกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ การเพาะเลี้ยงจระเข้ นกสวยงาม