กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย เนคเทค/สวทช. จับมือซิป้า มหาวิทยาลัย และภาคเอกชนร่วมสนับสนุนเยาวชนพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยสู่สากล

ข่าวเทคโนโลยี Monday October 31, 2005 13:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ต.ค.--เนคเทค
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) จัดพิธีมอบทุนสนับสนุนเยาวชนไทยพัฒนาซอฟต์แวร์ในโครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (NSC 2006)” และสรรหาตัวแทนประเทศไทยไปร่วมงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ในโครงการ “การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ครั้งที่ 8 (YSC.CS & YSC.EN 2006)” โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ประวิช รัตนเพียร เป็นประธาน
สำหรับการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (NSC 2006) เป็นโครงการที่เนคเทค/สวทช. ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและพัฒนาทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา อันจะเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศชาติต่อไป
ในปีนี้ เน้นโครงการทางด้านโอเพนซอร์ส โปรแกรมสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile Application) เทคโนโลยี Web Services และมีโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนในโครงการ NSC 2006 จำนวน 567 โครงการ จากจำนวนข้อเสนอโครงการที่เสนอขอรับทุนทั่วประเทศ 1,115 โครงการ แบ่งเป็นภาคกลาง 177 โครงการ ภาคเหนือ 154 โครงการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 95 โครงการ ภาคใต้ 92 โครงการ และภาคตะวันออก 49 โครงการ
ส่วนการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ (YSC.CS & YSC.EN 2006) เป็นโครงการที่เนคเทค/สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนเด็กไทยในระดับมัธยมศึกษาได้มีโอกาสแสดงความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมในระดับประเทศ และเพื่อคัดเลือกตัวแทนของประเทศไทยเข้าประกวดในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากบริษัท
อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยในปีนี้ มีโครงการที่ได้รับทุนในโครงการ YSC.CS & YSC.EN 2006 จำนวน 34 โครงการ จากจำนวนข้อเสนอโครงการที่เสนอขอรับทุนทั่วประเทศ 135 โครงการ
โครงการทั้งสองยังได้รับการสนับสนุนจากภาคการศึกษา ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ร่วมกันจัดโควต้าให้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมด้วย
นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ได้รับทุนมีเวลา 4 เดือนในการพัฒนาผลงานตั้งแต่เดือนกันยายน 2548 ถึง ต้นเดือนมกราคม 2549 และผลงานที่พัฒนาเสร็จสมบูรณ์จะจัดแสดงต่อสาธารณชนในงานประกวดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (NSC 2006) และโครงงานของนักวิทยาศาสตร์
รุ่นเยาว์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ครั้งที่ 8 (YSC.CS & YSC.EN 2006)
ในรอบชิงชนะเลิศ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต ปทุมธานี ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549
สำหรับท่านที่สนใจจะนำผลงานซอฟต์แวร์ของเยาวชนไทยไปทดลองใช้ สามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านไอซีที โทรศัพท์ 02-564-6900 ต่อ 2396-2397
E-mail: fic@nnet.nectec.or.th หรือ Web Site: www.nectec.or.th/fic
เอกสารเพิ่มเติม
การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8
The 8th National Software Contest (NSC2006)
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนนิสิต นักศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการพัฒนาคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ และนำเอาความรู้ที่ได้เรียนในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน และเปิดโอกาสให้มีการประกวดแข่งขันชิงเงินรางวัลในระดับประเทศ อันจะเป็นการช่วยสร้างเวทีสำหรับเยาวชนและผู้ที่สนใจในการพัฒนาความรู้สู่การเป็นนักวิจัยระดับอาชีพและเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศชาติต่อไป
หัวข้อการแข่งขัน
1. กลุ่มนิสิต นักศึกษา มี 5 ประเภท
1.1 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
1.2 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
1.3 โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ
1.4 โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.5 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลีนุกซ์
2. กลุ่มนักเรียน มี 3 ประเภท
2.1 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
2.2 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
2.3 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน
3. หัวข้อพิเศษ มี 3 ประเภท
3.1 Web Services Contest
3.2 Mobile Application
3.3 Open Source Application Extension
4. กลุ่มครู อาจารย์ มี 1 ประเภท
4.1 สื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในภาครัฐและเอกชนโดยไม่จำกัดชั้นปี
เงินทุนสนับสนุน 500 ทุน โดยโครงการที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับทุนรอบแรก 5,000 บาท และทุนรอบสอง 10,000 บาท
รางวัลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
รางวัลที่ 1 มูลค่า 60,000 บาท และถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รางวัลที่ 2 มูลค่า 40,000 บาท
รางวัลที่ 3 มูลค่า 20,000 บาท
รางวัลชมเชย มูลค่า 10,000 บาท
กำหนดการ
ประกาศรับข้อเสนอโครงการ มิถุนายน — 15 สิงหาคม 2548
ประกาศผลข้อเสนอโครงการที่ผ่านเข้ารอบ 6 กันยายน 2548
ทำพิธีมอบทุน ตุลาคม 2548
กำหนดส่งมอบผลงาน 6 มกราคม 2549
ประกาศผลโครงการที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 20 มกราคม 2549
จัดการประกวดรอบชิงชนะเลิศ กุมภาพันธ์ 2549
ผู้สนับสนุนโครงการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
สถานที่ติดต่อ
ภาคเหนือ
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 0-5394-2024 โทรสาร 0-5394-2072
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทรศัพท์ 0-4320-2426 โทรสาร 0-4320-2292
ภาคใต้ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
โทรศัพท์ 0-7421-2895 โทรสาร 0-7421-2895
ภาคตะวันออก
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
โทรศัพท์ 0-3874-5900 โทรสาร 0-3839-0240
ภาคกลาง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ศูนย์บางกระดี่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 131 หมู่ 5 ถ.วาตินนท์ ต.บางกะดี อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ 0-2501-3505-20 ต่อ 2002, 2004 โทรสาร 0-2501-3505 ต่อ 2001
จัดโดย ฝ่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านไอซีที
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2396-2397 โทรสาร 0-2564-6757
E-mail: fic@nnet.nectec.or.th
Web Site: http://www.nectec.or.th/nsc/
สถิติโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8
(The Eighth Natinal Software Contest: NSC2006)
จำนวนข้อเสนอโครงการ
ภาคกลาง ได้รับทุนสนับสนุน 177 โครงการ จากข้อเสนอโครงการ 467 โครงการ
ภาคเหนือ ได้รับทุนสนับสนุน 154 โครงการ จากข้อเสนอโครงการ 267 โครงการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับทุนสนับสนุน 95 โครงการ จากข้อเสนอโครงการ 147 โครงการ
ภาคใต้ ได้รับทุนสนับสนุน 92 โครงการ จากข้อเสนอโครงการ 119 โครงการ
ภาคตะวันออก ได้รับทุนสนับสนุน 49 โครงการ จากข้อเสนอโครงการ 115 โครงการ
รวมทั่วประเทศ จำนวน 567 โครงการจากข้อเสนอโครงการ 1,115 โครงการ
จำนวนโครงการที่ได้รับการสนับสนุน 567 โครงการ
กลุ่มนิสิต นักศึกษา 243 โครงการ
1. โปรแกรมเพื่อความบันเทิง 64 โครงการ
2. โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 50 โครงการ
3. โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ 40 โครงการ
4. โปรแกรมเพื่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 67 โครงการ
5. โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ 22 โครงการ
กลุ่มนักเรียน 217 โครงการ
1. โปรแกรมเพื่อความบันเทิง 53 โครงการ
2. โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 125 โครงการ
3. โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน 39 โครงการ
กลุ่มหัวข้อพิเศษ 87 โครงการ
1. Web Services Contest 39 โครงการ
2. Mobile Application 38 โครงการ
3. Open Source Application Extension 10 โครงการ
กลุ่มครู อาจารย์ 20 โครงการ
1. สื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ 20 โครงการ
เอกสารเพิ่มเติม
การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 8 Young Scientist Competition in Computer Science and Engineering Project (YSC.CS & YSC.EN 2006)
วัตถุประสงค์
เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนเด็กไทยในระดับมัธยมศึกษาได้มีโอกาสแสดงความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมในระดับประเทศ และเพื่อคัดเลือกตัวแทนของประเทศไทยเข้าประกวดในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
สาขาการประกวด
1 วิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 วิศวกรรมศาสตร์
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-6 หรือเทียบเท่า ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในภาครัฐและเอกชน
เงินทุนสนับสนุน
50 ทุน โดยโครงการที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับทุนรอบแรก 5,000 บาท และทุนรอบสอง 10,000 บาท
รางวัลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
รางวัลที่ 1 มูลค่า 50,000 บาท และเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันในงาน Intel ISEF ครั้งที่ 57 ณ เมืองอินเดียนาโปลิส มลรัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 7-13 พฤษภาคม 2549
รางวัลที่ 2 มูลค่า 40,000 บาท
รางวัลที่ 3 มูลค่า 30,000 บาท
กำหนดการ
ประกาศรับข้อเสนอโครงการ พฤษภาคม — 11 สิงหาคม 2548
ประกาศผลข้อเสนอโครงการที่ผ่านเข้ารอบ 31 สิงหาคม 2548
ทำพิธีมอบทุน ตุลาคม 2548
กำหนดส่งมอบผลงาน 6 มกราคม 2549
ประกาศผลโครงการที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 20 มกราคม 2549
จัดการประกวดรอบชิงชนะเลิศ กุมภาพันธ์ 2549
งาน Intel ISEF ครั้งที่ 56 7-13 พฤษภาคม 2549
งาน Intel ISEF
การประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ (Intel ISEF) เป็นการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก ซึ่งนับเป็นเวทีที่ชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่มีความสามารถเยี่ยมยอดจากประเทศต่างๆ งานนี้นับเป็นการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถึง 6 เพียงรายการเดียวของโลกที่ครอบคลุมวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ มากที่สุดและนับเป็นเวทีที่ชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี ทั้งนี้มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 1 ล้านคนจากทั่วโลกที่ได้เข้าร่วมในงานประกวดดังกล่าว ซึ่งมีการจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีโดยสถาบัน Science Service ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกียรติประวัติประเทศไทยในงาน Intel ISEF
1. นายณัฐพงศ์ ชินธเนศ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) รางวัลที่ 2 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Lehigh และ Lawrence Tech งาน Intel ISEF ครั้งที่ 51 ในปีพ.ศ. 2543 ณ เมืองดีทรอยท์ มลรัฐมิชิแกน
2. นายศุภศักดิ์ กุลวงศ์อนันชัย โรงเรียนทิวไผ่งาม รางวัลพิเศษ “การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ยอดเยี่ยม” (Best Use of Personal Computer) จากมูลนิธิอินเทล งาน Intel ISEF ครั้งที่ 53 ในปีพ.ศ. 2545 ที่เมืองหลุยส์วิลล์ มลรัฐเคนตักกี
3. นายทวีธรรม ลิมปานุภาพ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รางวัลพิเศษ เกียรติคุณประกาศ จาก Association for Computing Machinery งาน Intel ISEF ครั้งที่ 55 ในปีพ.ศ. 2547 ที่เมืองพอร์ตแลนด์ มลรัฐโอเรกอน
ผู้สนับสนุนโครงการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
สถานที่ติดต่อ
ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
333 หมู่ 1 ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย 57100
โทรศัพท์ 0-5391-7017 โทรสาร 0-5391-7017
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
111 ถ.มหาวิทยาลัย อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 0-4422-4308 โทรสาร 0-4422-4185
ภาคใต้ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160
โทรศัพท์ 0-7567-3421-4 โทรสาร 0-7567-3420
ภาคกลาง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0-2564-3001-9 ต่อ 3037 โทรสาร 0-2564-3010
จัดโดย ฝ่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านไอซีที
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2396-2397 โทรสาร 0-2564-6757
E-mail: fic@nnet.nectec.or.th
Web Site: http://www.nectec.or.th/ysc/
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อได้ที่
คุณลัญจนา นิตยพัฒน์ และคุณวนิตา กุณทีกาญจน์
โทร. 02-564-6900 ต่อ 2346 - 2352--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ