มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ศึกษาบทเรียนการล้มแล้วลุกของผู้ประกอบการรุ่นใหม่”

ข่าวทั่วไป Monday August 18, 2008 11:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ส.ค.--มหาวิทยาลัยมหิดล
งานเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ศึกษาบทเรียนการล้มแล้วลุกของผู้ประกอบการรุ่นใหม่”
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความยินดีขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมทำข่าว ในงานเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ศึกษาบทเรียนการล้มแล้วลุกของผู้ประกอบการรุ่นใหม่” เพื่อนำเสนอถึงกระบวนการทางความคิด มุมมองการตัดสินใจ รูปแบบการแก้ปัญหา ตลอดจนแนวทางการปรับและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถนำพากิจกรรมทางธุรกิจให้สามารถก้าวข้ามสถานการณ์วิกฤติและข้อผิดพลาดทางธุรกิจ
ในงานเสวนาโต๊ะกลมได้มีการเชิญผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีอายุ ระหว่าง 23- 35 ปี ที่ได้ก้าวเข้ามาสู่การก่อตั้งกิจการของตัวเอง และได้มีโอกาสพบกับอุปสรรค ปัญหาทางธุรกิจ ตลอดจนสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการดำเนินกิจการทั้งที่เกิดขึ้นมาจากภายในองค์กรและจากภายนอกขององค์กร ภายในงานเสวนาฯ ยังได้เชิญนักวิชาการ ที่ปรึกษาทางธุรกิจเข้ามาร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนมุมมอง ในประเด็นที่เกี่ยวกับรูปแบบของปัญหาที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่มักจะประสบ วิธีการก้าวผ่านปัญหา และรูปแบบของการสนับสนุนหรือความช่วยเหลือ ที่ผู้ประกอบการ รุ่นใหม่มองว่าคือสิ่งสำคัญที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาและหนุนให้ธุรกิจที่ดำเนินอยู่สามารถเติบโตต่อไปในอนาคต
งานเสวนาโต๊ะกลมฯ จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2551 ระหว่างเวลา 12.30-16.00 น. ณ ห้อง 603 ชั้น 6 วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้นถนนวิภาวดี-รังสิต โทรศัพท์ 02-206-2000
กำหนดการ
12.30 - 13.00 น. ลงทะเบียน
13.00 - 13.10 น. กล่าวต้อนรับและแนะนำตัวผู้ร่วมเสวนา
13.10 - 16.00 น. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางธุรกิจและมุมมองปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ปัญหาของผู้เข้าร่วมเสวนา และข้อแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในประเด็นดังนี้
1. แรงบันดาลใจ จุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ธุรกิจ ความมุ่งหวัง และโอกาสที่ ผู้ประกอบการ มองเห็น
ในขณะนั้น
2. อะไรคืออุปสรรคและปัญหาที่พบในระหว่างการทำธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการมองว่า เป็นที่มาของ
ความสำเร็จ และอะไรคือสาเหตุหรือที่มาของข้อผิดพลาดหรือ ล้มเหลวในการดำเนินกิจการ
ของผู้ประกอบการ
3. แนวทางและสิ่งที่ผู้มีประสบการณ์ได้มีการกระทำหรือดำเนินการเพื่อให้ผ่านพ้นปัญหา และ
สามารถอยู่รอดได้ ตลอดจนสามารถก้าวข้ามปัญหาหรือวิกฤตการณ์ นั้นมาได้
4. วิสัยทัศน์และเป้าหมายในอนาคตของผู้ประกอบการ
5. ลักษณะและรูปแบบของการสนับสนุน หรือความช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการมองว่าคือสิ่งสำคัญ
ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาและหนุนให้ธุรกิจที่ดำเนินอยู่สามารถเติบโตในขณะนี้และในอนาคต
ดำเนินการเสวนาโดย:
ผศ.ดร.ธนพล วีราสา ประธานสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมแสดงความคิดเห็นและแนะนำผู้เข้าร่วมเสวนา:
1. อาจารย์บุริม โอทกานนท์ ประธานสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล
2. คุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ