แควนตัส ประกาศผลประกอบการประจำปีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2551 ด้วยกำไรก่อนหักภาษี 1,408 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

ข่าวท่องเที่ยว Friday August 22, 2008 08:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--ธนบุรินทร์ เอเชีย แปซิฟิค
สายการบิน แควนตัส ประกาศผลประกอบการประจำปีสิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 (ปีงบประมาณ สายการบินแควนตัสเริ่ม 1 กรกฎาคม และไปสิ้นสุด 30 มิถุนายนของปีถัดไป) ด้วยผลกำไรก่อนหักภาษี เป็นเงิน 1,408 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 46% ในการนี้ คณะกรรมการบริหาร สายการบิน แควนตัส ได้ลงมติเห็นชอบเงินปันผล 17 เซนต์ต่อหุ้น
มร. ลี คลิฟฟอร์ด ประธานสายการบิน แควนตัส เปิดเผยว่า “ผลประกอบการประจำปีของสายการบินมาจากการดำเนินงานในช่วง 3 ไตรมาสแรก ก่อนที่จะเห็นผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ผลประกอบการในการดำเนินงานสืบเนื่องจากโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งความมุ่งมั่น ร่วมแรงใจกันทุ่มเทการทำงานของพนักงานของสายการบิน ผมขอขอบคุณพนักงานทุกคนที่มีส่วนร่วมสร้างความสำเร็จให้กับองค์กร และเพื่อเป็นการตอบแทน คณะกรรมการบริหารสายการบินฯ ได้มีมติอนุมัติหุ้นจำนวน 1,000 หุ้น และโบนัสเป็นเงินสดอีก 1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียแก่พนักงาน”
นอกจากนั้น มร. คลิฟฟอร์ด ยังได้ยกย่องและชื่นชมสิ่งที่ มร. เจ๊ฟ ดิ๊กสัน ประธานกรรมการบริหารที่ได้ทุ่มเททำงานให้แก่แควนตัส กรุ๊ป นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในปี พ.ศ. 2543 โดยกล่าวว่า “มร. ดิ๊กสัน และทีมงานฝ่ายบริหารได้ทุ่มเททำงาน สร้างความแข็งแกร่งแก่สายการบิน แควนตัสในช่วงเวลาต่างๆ อีกทั้งยังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งขณะนี้ได้ทำงานร่วมกับ มร. อลัน จ๊อยส์ ว่าที่ประธานกรรมการบริหารสายการบิน แควนตัส ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งในสิ้นเดือนพฤศจิกายน ศกนี้”
ทางด้าน มร. เจฟ ดิ๊ก สัน ประธานกรรมการบริหาร สายการบิน แควนตัส กล่าวถึงหลักเกณฑ์หลักๆ ที่ส่งผลให้ประกอบการออกมาเป็นที่น่าพอใจว่ามาจาก
- ดีมานด์การเดินทางทั้งเส้นทางภายในประเทศและต่างประเทศที่มีความแข็งแกร่ง ส่งผลให้รายได้ ดีขึ้น 1.2 เปอร์เซนต์ และจำนวนที่นั่งเพิ่มขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 80.7 เปอร์เซ็นต์ ของแควนตัส กรุ๊ปทั้งหมด
- ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของกลยุทธ์ของทั้ง 2 แบรนด์ (สายการบิน แควนตัส และสายการบิน เจ๊ทสตาร์) ซึ่งสายการบินแควนตัสสามารถสร้างกำไรเพิ่มขึ้นถึง 21.6 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของสายการบินเจ็ทสตาร์ ทั้งในตลาดต่างประเทศและตลาดภายในประเทศ ที่มีผลกำไรเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 37 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือคิดเป็น 44.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ ผ่านมา
- มาร์จิ้นด้านการบริหารที่ดีขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเพียง 5.6% เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่มีมากถึง 4% และดัชนีผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น 3.4% และ
- อีก 747 ล้านเหรียญออสเตรเลียจากการดำเนินงานภายใต้โครงการอนาคตแบบยั่งยืน (Sustainable Future Program) ซึ่งเป็นผลจากการที่ค่าใช้จ่ายลดลง 2.3%
นอกจากนั้นยังมาจาก
- ค่าชดเชยความเสียหายจากการที่ได้รับเครื่องบินล่าช้าเป็นเงิน 291 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ขณะที่ปีก่อนหน้านั้นตัวเลขอยู่ที่ 98 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
- สินทรัพย์และการปลดระวางเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 และแดช 8-100 จำนวน 20 ลำ มีมูลค่า 165 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ขณะที่ปีก่อนหน้านั้นตัวเลขอยู่ที่ 45 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
- การจัดสรรตามข้อตกลงที่เกี่ยวพันกับการขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นเงิน 64 ล้านเหรียญออสเตรเลีย โดยปีก่อนหน้านั้นตัวเลขอยู่ที่ 47 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
มร. ดิ๊กสัน กล่าวว่า ผลประกอบการของ แควนตัสมาจากการที่สายการบินยังคงลงทุนด้านผลิตภัณฑ์และการบริการตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา รวมถึง
- การลงทุนด้านเครื่องบินใหม่แต่ละปีเป็นเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย รวมทั้งการสั่งซื้อเครื่องบินเพิ่มอีกเป็นเงิน 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- การลงทุนเป็นจำนวนเงินประมาณ 120 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียสำหรับการบริการใหม่ๆ รวมถึงห้องพักรับรองผู้โดยสาร และการตกแต่งภายในห้องโดยสาร
- งบประมาณโดยเฉลี่ย 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการอบรมพนักงาน และ
- กว่า 300 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในด้านงานบำรุงรักษา รวมทั้งอีก 120 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในการอัพเกรดระบบทางวิศวกรรม
“การลงทุนทางด้านผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าของแควนตัสมีความพอใจสูงสุด เห็นได้จากรางวัล สกายแทรกซ์ เวิลด์ แอร์ไลน์ อวอร์ดส (Skytrax World Airline Awards) ที่สายการบินได้รับล่าสุด โดยแควนตัสได้รับรางวัลอันดับที่ 3 จากสายการบินจำนวนทั้งหมด 160 สาย โดยเป็น 1 ใน 2 สายการบินที่ติดอยู่ใน 5 อันดับแรกติดต่อกัน 6 ปีซ้อน ส่วนเจ๊ทสตาร์ซึ่งได้รับรางวัลสายการบินยอดเยี่ยมประเภทสายการบินต้นทุนต่ำในปี พ.ศ. 2550 ในปีนี้ดิดอยู่อันดับที่ 3 นอกจากนั้นในปลายปีนี้ ศูนย์บริการลูกค้าของสายการบิน แควนตัส (Qantas Customer Service Centre of Excellence) มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะเปิดดำเนินงาน เพื่อให้การบริการฝึกอบรมแก่พนักงานและฝ่ายบริหาร” มร. ดิ๊กสัน กล่าว
มร. ดิ๊กสัน กล่าวต่อไปว่า โครงการอนาคตแบบยั่งยืน (Sustainable Future Program) ซึ่งดำเนินงานมาเป็นปีที่ 5 นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2545/2546 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ถึง 3,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และในปีนี้สามารถประหยัดเงินได้ถึง 747 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยโครงการดังกล่าวเป็นเรื่องที่ลำบากยิ่งต่อกลยุทธ์ของสายการบิน และต่อการแข่งขันให้ประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้เรามีเป้าหมายให้สามารถประหยัดเงินให้ได้ถึง 1,500 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553
มร. ดิ๊กสัน กล่าวว่า “แควนตัสต้องเผชิญกับเหตุการณ์หลายเรื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา รวมถึงเหตุการณ์กรณีเครื่องบิน QF30 ที่ยังอยู่ในขั้นตอนของการสอบสวน ซึ่งเจ้าหน้าที่และลูกเรือภายในเครื่องบินสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างเยี่ยม หรือเหตุกรณีพิพาทกับสมาคมวิศวกรการบินออสเตรเลียที่ได้รับอนุญาต (Australian Licensed Aircraft Engineers Association) ที่ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารและผลประการของ สายการบินในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สายการบิน แควนตัส เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจสอบอย่างละเอียด แควนตัส จะดำเนินการทุกอย่าง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะจำเป็น แต่สิ่งหนึ่งที่แควนตัส ยึดมั่นใส่ใจตลอดมา คือการคำนึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรกเสมอ ดังนั้น ไม่ควรจะมีคำถามเรื่องความปลอดภัย”
มร. ดิ๊กสัน กล่าวเสริมว่า แควนตัสเป็นหนึ่งในสายการบินที่ได้สั่งเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดเชื้อเพลิง ซึ่งจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงในอนาคตได้เป็นอย่างดีถึง 20% แต่เป็นโชคไม่ดีที่ว่าเครื่องบินดังกล่าวมีปัญหาเรื่องความล่าช้าที่เกิดจากผู้ผลิตเครื่องบิน อย่างไรก็ตามแควนตัสจะได้รับการส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส A380 ลำแรกในเดือนกันยายน และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 ก็จะได้รับการส่งมอบเครื่องบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ลำแรก”
ในส่วนของสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน มร. ดิ๊กสัน เผยว่า อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าท้าย โดยกล่าวว่า “การที่อัตราค่าน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินและเศรษฐกิจทั่วโลก จากราคาเชื้อเพลิงในปัจจุบัน คาดว่าค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงของแควนตัสในช่วง พ.ศ. 2551/2552 จะสูงกว่า 1,600 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย แต่เนื่องจาก แควนตัสได้ซื้อนำมันดิบล่วงหน้าสำรองไว้แล้วถึง 81% ในอัตรา 118 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 บาร์เรล ดังนั้นหากราคาน้ำมันในอนาคตลดลง แควนตัสก็จะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดังกล่าว”
มร. ดิ๊กสัน กล่าวเสริมว่า “ขณะนี้สายการบินทั่วโลกหลายสายได้ประกาศภาวะขาดทุน จำนวนผู้โดยสารลดลง ลดจำนวนพนักงานเนื่องจากอัตราน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง แต่สำหรับแควนตัส กลยุทธ์ที่ได้ดำเนินการตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา คือการใช้กลยุทธ์ 2 แบรนด์ (สายการบิน แควนตัส และ สายการบิน เจ๊ทสตาร์) ที่ประสบความสำเร็จ การจำแนกธุรกิจ และการเน้นเรื่องค่าใช้จ่ายภายใต้โครงการอนาคตแบบยั่งยืน (Sunstainable Future Program) ซึ่งได้ช่วยให้แควนตัสสามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ มาได้เป็นอย่างดี โดยแควนตัสได้ดำเนินการหลายอย่างเพื่อให้สามารถบรรลุปัญหาต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงขั้นตอนในการลดค่าใช้จ่าย ปรับจำนวนผู้โดยสารและเพิ่มราคาตั๋วโดยสาร”
จากเส้นทางประเทศไทย สายการบิน แควนตัส ให้บริการเส้นทางบินตรงทุกวันไปนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
สื่อมวลชนต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
สำนักงานที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ สายการบิน แควนตัส
บริษัท ธนบุรินทร์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด
เกษมศรี ยูเฟมิโย (081 611 4696) โทร: +66 (0) 231 6158-9 อีเมลล์: kasemsri@thanaburin.co.th
ยุวดี ชมบุญ (08 9 669 5286) โทร: +66 (0) 231 6159 อีเมลล์: yuwadi@thanaburin.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ