รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ และปริมาณน้ำฝน ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 ณ เวลา 07.00 น.

ข่าวทั่วไป Friday August 22, 2008 08:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--ปภ.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอรายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ และปริมาณน้ำฝน ข้อมูล ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 ดังนี้
1. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2551 เวลา 06.00 น. ดังนี้
ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะในภาคเหนือยังมีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในระยะนี้
2. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น. วันที่ 21 ส.ค.51 ถึง 01.00 น. วันที่ 22 ส.ค.51 ดังนี้
จังหวัดอุตรดิตถ์ (อ.เมือง) 51.3 มม. จังหวัดหนองคาย (อ.เมือง) 26.8 มม.
จังหวัดสุพรรณบุรี (อ.เมือง) 6.6 มม. จังหวัดตราด (อ.คลองใหญ่) 37.9 มม.
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.เมือง) 33.8 มม. จังหวัดระนอง (อ.เมือง) 23.8 มม.
จังหวัดปทุมธานี อ.คลองหลวง) 51.2 มม.
3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2551)
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 45,871 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (47,526ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,655 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 2 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ทั้งหมดวันนี้ 251.7 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายวันนี้ 141 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 6,643 และ 6,674 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 49 และ 70 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมดตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 13,317 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายรวมกันทั้งสองอ่างฯวันนี้ 18.59 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 3 อ่าง (หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร ) ได้แก่
_________________________________________________________________________________________________________
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ระบาย ปริมาณน้ำรับได้อีก
ปริมาตรน้ำ % ของความจุ ปริมาตรน้ำ %ของความจุ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสมตั้งแต่ 1ม.ค.51 วันนี้ เมื่อวาน
_________________________________________________________________________________________________________
1. แม่กวงฯ 41 15 27 10 186 0.80 55 1.57 1.40 222
2. ป่าสักชลสิทธิ์ 241 25 238 25 2,200 12.60 791 21.55 20.29 719
3. บางพระ 33 28 18 15 44 0.08 11 0.10 0.09 84
_________________________________________________________________________________________________________
4. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม (ระหว่างวันที่ 11-21 สิงหาคม 2551) เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำโขง มีปริมาณน้ำสูงขึ้นและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมใน พื้นที่ลุ่มริมฝั่งหลายพื้นที่
4.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 7 จังหวัด 42 อำเภอ 298 ตำบล 2,245 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน นครพนม สกลนคร หนองคาย เพชรบูรณ์ และมุกดาหาร
4.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 4 คน (จังหวัดนครพนม 1 คน จังหวัดหนองคาย 3 คน) ราษฎรได้รับ ความเดือดร้อน 91,669 ครัวเรือน 372,063 คน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 988 หลัง ถนน 717 สาย สะพาน 58 แห่ง พื้นที่การเกษตร 100,830 ไร่ สัตว์ปีก 2,454 ตัว ปศุสัตว์ 168 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 1,543 บ่อ ทำนบ 36 แห่ง ฝาย 82 แห่ง ท่อระบายน้ำ 309 แห่ง วัด 16 แห่ง โรงเรียน 25 แห่ง สถานที่ราชการ 48 แห่ง
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 223,530,060 บาท
5. สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ เชียงราย สกลนคร และจังหวัดมุกดาหาร ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม ดังนี้
5.1 จังหวัดหนองคาย ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง และน้ำในแม่น้ำโขงมีปริมาณสูงขึ้น เอ่อล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่ 11-19 ส.ค.51 เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 16 อำเภอ 81 ตำบล 846 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 53,843 ครัวเรือน 215,220 คน เสียชีวิต 3 คน (อ.ศรีเชียงใหม่ 1 คน, อ.รัตนวาปี 1 คน, อ.เมือง 1 คน) ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (4 ตำบล) อำเภอท่าบ่อ (5 ตำบล) อำเภอศรีเชียงใหม่ (4 ตำบล) อำเภอสังคม (4 ตำบล) อำเภอปากคาด (4 ตำบล) อำเภอรัตนวาปี (5 ตำบล) และ อำเภอบึงกาฬ (2 ตำบล) ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติในสัปดาห์นี้
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดหนองคาย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดหนองคาย ที่ทำการปกครองอำเภอที่ประสบภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลในพื้นที่ เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25 หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงเขตหนองคาย แขวงการทาง ทางหลวงชนบทจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด วีอาร์กู้ภัยหนองคาย และมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก โครงการชลประทานได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 17 เครื่อง แยกเป็น ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย 12 เครื่อง อำเภอท่าบ่อ 1 เครื่อง และที่ประตูระบายน้ำห้วยวังฮู อำเภอเมือง 4 เครื่อง
5.2 จังหวัดนครพนม ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง และน้ำในแม่น้ำโขงมีปริมาณสูงขึ้น เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร จำนวน 5 อำเภอ 18 ตำบล 240 หมู่บ้าน (มีผู้เสียชีวิต 1 คน อ.โพนสวรรค์) ได้แก่ อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาทม อำเภอศรีสงคราม อำเภอบ้านแพง และอำเภอโพนสวรรค์ นั้น ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร ของ 5 อำเภอ ดังนี้ อ.ท่าอุเทน (3 ตำบล) 1,057 ไร่ อ.นาทม (3 ตำบล) 9,360 ไร่ อ.ศรีสงคราม (8 ตำบล) 14,713 ไร่ อ.บ้านแพง (1 ตำบล) 1,000 ไร่ อ.โพนสวรรค์ (3 ตำบล) 2,000 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม. แนวโน้มระดับน้ำแม่น้ำโขงลดลง ทำให้ลำน้ำสงครามระบายลงสู่แม่น้ำโขงได้เร็วขึ้น คาดว่าสถานการณ์จะลดลงภายในสัปดาห์นี้
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครพนม องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น มอบถุงยังชีพ 5,000 ชุด เรือท้องแบน 14 ลำ เหล่ากาชาดจังหวัดสนับสนุนชุดยาเวชภัณฑ์ 2,000 ชุด ปศุสัตว์มอบหญ้าแห้ง 15 ตัน สาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบชุดยาสามัญประจำบ้าน 7,000 ชุด จังหวัดทหารพบนครพนม มอบถุงยังชีพ 200 ชุด กรมชลประทานติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 3 เครื่อง ในเขตเทศบาลเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกไปสำรวจ และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
# เมื่อวันที่ 21 ส.ค.51 เวลา 04.00 น. น้ำจากแม่น้ำแม่สาย (ไหลมาจากประเทศพม่า) ได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรของจังหวัดเชียงราย ในพื้นที่อำเภอแม่สาย 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่สาย (เทศบาลตำบลแม่สาย และหมู่ที่ 1,3,5,7,9,11) ตำบลเวียงพางคำ (เขตเทศบาลตำบลเวียงพางคำ และหมู่ที่ 1,4,5,9) ตำบลศรีเมืองชุม (หมู่ที่ 1,2,3,5,7,9) และตำบลเกาะช้าง (หมู่ที่ 1,2,4,6,7,12,13) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.70 ม. ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น มอบถุงยังชีพ 1,000 ชุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกไปสำรวจ และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
# ระดับน้ำในแม่น้ำโขง วันนี้ (22 ส.ค.51) เวลา 06.00 น.
- สถานีอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย วัดระดับน้ำได้ 7.54 เมตร (ระดับตลิ่ง 11.80 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 4.26 ม. ระดับน้ำทรงตัว (ระดับสูงสุดวัดได้ 10.68 ม. เมื่อวันที่ 12 ส.ค.51)
- สถานีอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย วัดระดับน้ำได้ 11.70 เมตร (ระดับตลิ่ง 12.20 ม.)
ต่ำกว่าตลิ่ง 0.50 ม. มีแนวโน้มลดลง (ระดับสูงสุดวัดได้ 13.60 ม. เมื่อวันที่ 15 ส.ค.51)
- สถานีอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม วัดระดับน้ำได้ 11.94 เมตร (ระดับตลิ่ง 12.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.51 ม. มีแนวโน้มลดลง (ระดับสูงสุดวัดได้ 12.66 ม. เมื่อวันที่ 17 ส.ค.51)
- สถานีอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร วัดระดับน้ำได้ 11.79 เมตร (ระดับตลิ่ง 12.60 ม.)
ต่ำกว่าตลิ่ง 0.81 ม. มีแนวโน้มลดลง (ระดับสูงสุดวัดได้ 12.72 ม. เมื่อวันที่ 17 ส.ค.51)
- สถานีอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี วัดระดับน้ำได้ 13.03 เมตร (ระดับตลิ่ง 16.20 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 3.17 ม. มีแนวโน้มลดลง
6. การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัยของหน่วยงาน
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) ได้ระดมกำลัง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯเขตต่าง ๆ เข้าไปช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ดังนี้
1.1 ประเภทและจำนวนเครื่องจักรกล
- เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และเครื่องมืออุปกรณ์ 12 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 43 ลำ สะพานแบลีย์ ขนาด 15 เมตร รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน
1.2 เจ้าหน้าที่ 60 คน
2) กรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำให้การช่วยเหลือในพื้นที่ประสบอุทกภัย ดังนี้ จังหวัดสกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5 เครื่อง และจังหวัดหนองคาย 17 เครื่อง
7. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ระหว่างวันที่ 19-23 ส.ค.51ดังนี้
เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันเกิดจากฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงขอให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 (ปราจีนบุรี) เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) เขต 10 (ลำปาง) และจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์หนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์
8. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย (กลุ่มงานปฏิบัติการ)
โทรศัพท์ / โทรสาร 0-2241-7450 - 6 สายด่วน 1784

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ