กรุงเทพฯ--26 ส.ค.--พีอาร์ พลัส ทู
อเมริกัน เพาเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานสำรองฉุกเฉิน และระบบควบคุมความเย็น ในเครือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เปิดตัว TradeOff Tools แอพพลิเคชันใหม่ที่สำหรับทำงานบนเว็บ ที่มาพร้อมหน้าจอซึ่งได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายสำหรับใช้ในขั้นตอนแรกเริ่มในการวางคอนเซ็ปต์และพัฒนาการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ โปรแกรม TradeOff Tools ของเอพีซีเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจวางแผนหลักๆ เกี่ยวกับการออกแบบห้องศูนย์ข้อมูลโดยคำนวณจากเครื่องมือย่อยเจ็ดชนิด ภายใต้หลักการอันสมเหตุสมผล โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านดาต้าเซ็นเตอร์จะได้สัมผัสกับประสบการณ์ในการทดลองกับสถานการณ์จำลองหลากหลายรูปแบบที่เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมแบบเสมือนจริง ประสิทธิภาพ การกำหนดระดับการใช้ไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายในการลงทุน และประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญในการออกแบบ เผยเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยในการตรวจสอบและวางแผนการออกแบบโดยรวมของห้องศูนย์ข้อมูลเพื่อสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยผ่านแบบจำลอง
“ลูกค้าจำเป็นต้องตัดสินใจในประเด็นสำคัญหลายๆ เรื่องในระหว่างดำเนินโครงการสร้างห้องศูนย์ข้อมูล และก็ไม่เคยที่จะมีข้อมูลที่จำเป็นซึ่งจะช่วยชี้แนะการตัดสินใจได้เลย” คาร์ล คอตตูลิ รองประธานศูนย์วิทยาศาสตร์ห้องศูนย์ข้อมูลของเอพีซีกล่าว และเสริมต่อว่า “ปัญหาหลายประการของลูกค้าไม่ได้รับการแก้ไขโดยใช้เครื่องมือในการวางเค้าโครงแบบเพราะว่าปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในขั้นแรกๆ ของกระบวนการคัดสรรแนวคิดต่างๆ แต่ด้วยการใช้เครื่องมือ TradeOff Tools ของเอพีซี เมื่อเกิดอุปสรรคขึ้น ผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจเกี่ยวกับห้องศูนย์ข้อมูลก็สามารถที่จะค้นหาเครื่องมือที่จะจัดการกับปัญหาเฉพาะอย่างได้อย่างง่ายดาย ได้รับคำตอบที่รวดเร็ว และดำเนินการสรรหาแนวคิดในการออกแบบต่อไปได้โดยไม่ติดขัด” ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือทั้งเจ็ดชนิดที่ช่วยผู้ใช้ตัดสินใจในการออกแบบห้องศูนย์ข้อมูลสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของเอพีซีที่ http://tools.apc.com โดยรายละเอียดแบบสรุปย่อของเครื่องมือทั้งเจ็ดชนิดนี้ประกอบด้วย
เครื่องคำนวณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เครื่องคำนวณนี้จะแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตำแหน่ง ทำเลของห้องศูนย์ข้อมูล ประสิทธิภาพ และปริมาณในการใช้ไฟฟ้าสามารถส่งผลกระทบต่อระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศและค่าไฟฟ้าได้อย่างไรบ้าง และยังมีความสามารถในการจัดการ โดยจะมีตัวบ่งชี้ทั่วไปที่แสดงว่าให้เห็นว่าปัจจุบันห้องศูนย์ข้อมูล “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” อย่างไรบ้าง และจะสร้างได้ด้วยวิธีการใด
เครื่องคำนวณประสิทธิภาพของพลังงาน
เครื่องคำนวณนี้จะทำหน้าที่ในการวาดโครงร่างภายในดาต้าเซ็นเตอร์ และคำนวณประสิทธิภาพที่ได้ รวมถึงค่าไฟที่ก่อขึ้น โดยวัดจากลักษณะของดาต้าเซ็นเตอร์ จากนั้น ผู้ใช้สามารถที่จะทำความเข้าใจถึงผลกระทบจากการตัดสินใจที่สำคัญๆ แต่ละข้อที่เกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์ ว่าสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างไร
เครื่องคำนวณต้นทุนหรือค่าใชจ่ายในการลงทุน
เครื่องคำนวณนี้จะระบุตัวแปรด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่สำคัญๆ ของห้องศูนย์ข้อมูล และคำนวณต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการลงทุนโดยวัดจากตัวแปรเหล่านั้น ทำให้ผู้ใช้ห้องศูนย์ข้อมูลสามารถตัดสินได้ว่า การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์ข้อมูล ปริมาณของอุปกรณ์ด้านไอที และโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าและการระบายความร้อนสามารถส่งผลกระทบต่อต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการลงทุนโดยรวมได้อย่างไร
เครื่องคำนวณต้นทุนพลังงานในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง
เครื่องคำนวณนี้จะพิจารณาลักษณะโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและด้านไอที และจะคำนวณปริมาณพลังงานที่ประหยัดได้ อันเป็นผลจากการสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถทดสอบผลกระทบของการสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพต่างๆ ในพื้นห้อง และการใช้พลังงานภายในห้องศูนย์ข้อมูล
เครื่องคำนวณขนาดพลังงานที่ต้องใช้
เครื่องคำนวณนี้จะระบุลักษณะพื้นฐานของปริมาณงานด้านไอที และคำนวณแรงดันไฟฟ้าขาเข้าภายในห้องที่จำเป็นต่อการรองรับปริมาณดังกล่าว ทำให้ผู้ใช้สามารถคำนวณได้อย่างคร่าวๆ ว่า จะต้องใช้พลังงานกี่กิโลวัตต์ภายในห้องศูนย์ข้อมูล
โปรแกรมเลือกการควบคุมพลังงาน InRow
โปรแกรมนี้จะสร้างโครงร่างในการระบายความร้อนของตู้แร็คและการระบายความร้อนแบบเป็นแถว ตามความชอบและความต้องการของผู้ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ และตามข้อจำกัดทางกายภาพภายในห้อง เป็นการนำเสนอเค้าโครงการควบคุมการระบายความร้อนแบบเป็นแถว (InRow) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับผู้ใช้
เครื่องคำนวณกระแสไฟฟ้าสลับและกระแสไฟฟ้าตรง
เครื่องคำนวณนี้จะปรียบเทียบสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ ในการแจกจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง จากนั้นจะคำนวณประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรมแต่ละแบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบว่าจะใช้สถาปัตยกรรมแบบใดที่ดีที่สุดสำหรับห้องศูนย์ข้อมูลของตน ศูนย์วิทยาศาสตร์ห้องศูนย์ข้อมูล (DCSC) ของเอพีซีเป็นผู้ออกแบบเครื่องมือ TradeOff Tools ของเอพีซีในครั้งนี้ ทีมวิศวกรและนักวิเคราะห์ของ DCSC วิจัยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในห้องศูนย์ข้อมูล และจะช่วยคิดค้นพัฒนาเครื่องมือในการออกแบบและการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยผู้เชี่ยวชาญด้านดาต้าเซ็นเตอร์ในการบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ สนใจรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอพีซีและเครื่องมือ TradeOff Tools สามารถสอบถามได้ที่หมายเลข 800-877-4080 หรือเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเอพีซีได้ที่ www.apc.com
เกี่ยวกับเอพีซี เอพีซีโดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำธุรกิจและบริการด้านพลังงานสำรองฉุกเฉิน และระบบควบคุมความเย็น นำเสนอผลิตภัณฑ์ชั้นนำต่างๆ ซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นคุ้มครองและป้องกันการเสียหายของข้อมูล รวมทั้งการเสียหายของฮาร์ดแวร์และการหยุดชะงักของระบบงานให้แก่ตลาดอุตสาหกรรม ศูนย์ข้อมูล องค์กร ธุรกิจตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง จนถึงผู้ใช้งานตามบ้าน ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่ง ประสบการณ์ระดับโลกและเครือข่ายทึ่ครอบคลุมมากกว่า ในบริการด้านพลังงานสำรองฉุกเฉินและระบบควบคุมความเย็นของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โซลูชั่นของเอพีซีที่ได้นำเสนอให้กับลูกค้าได้รับการออกแบบและติดตั้งภายใต้การวางแผนอย่างเป็นระบบ ด้วยประสิทธิภาพการบำรุงรักษาตลอดการใช้งานอย่างไร้ที่ติ ด้วยนวัตกรรมอันเหนือชั้นกว่า เอพีซีนับเป็นผู้นำริเริ่มนำเสนอโซลูชั่นสำหรับการบริหารพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเทคโนโลยีด้านการคุ้มครอง และป้องกันการเสียหายของข้อมูล
เอพีซี และ เอ็มจีอี ยูพีเอส ซิสเต็มส์ ได้ผนวกกันเมื่อปี พ.ศ. 2550 เพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจและบริการด้านพลังงานสำรองฉุกเฉิน และระบบควบคุมความเย็นในเครือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยเอพีซี และเอ็มจีอี มียอดจำหน่ายทั่วโลกในปีที่เดียวกัน รวมกันถึง 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (2.4 พันล้านยูโร) และมีพนักงาน 12,000 คนทั่วโลก โซลูชั่นของเอพีซี ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า (UPS) ระบบทำความเย็นภายในตู้แร็ค ผลิตภัณฑ์ตู้แร็ค การบริการออกแบบวางระบบ และซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการภายในห้องศูนย์ข้อมูล รวมถึงเอพีซี InfraStruXure? โซลูชั่นที่ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการด้านอุตสาหกรรมมากที่สุด ตั้งแต่ระบบไฟฟ้า ระบบทำความเย็น และระบบบริหารจัดการห้องศูนย์ข้อมูลไว้ด้วยกัน พนักงานจำนวน 120,000 คน ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ใน 102 ประเทศ มียอดจำหน่ายรวมทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550 สองหมื่นห้าพันล้านเหรียญสหรัฐฯ (17.3 พันล้านยูโร) รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอพีซี สามารถเข้าชมได้ที่ www.apc.com
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
ภิญญลักษณ์ ธนาสินมนตรี
บริษัท พีอาร์ พลัส ทู จำกัด
โทร 02-158-9107-8, แฟ็กซ์ 02-158-9142
www.prplus2.com