มทร.พระนคร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน

ข่าวทั่วไป Thursday August 28, 2008 09:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ส.ค.--โอเค แมส
ดร.สำเริง รักซ้อน อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.พระนคร เปิดเผยว่า ได้ทำการศึกษาวิจัยคิดค้นการผลิต“ปูนซีเมนต์ปอซโซลาน” เป็นการนำเอาวัสดุเหลือทิ้งจากผลพลอยได้ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมมาผลิต เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตโซลาน ในขณะนี้กระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ 1 ตัน จะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ดร.สำเริงจึงศึกษาวิธีการผลิตปูนซีเมนต์ที่ลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าการนำวัสดุที่อยู่ในธรรมชาติที่เรียกว่า “วัสดุปอซโซลาน” (Pozzolanic Material) ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมในประเทศไทย เช่น เถ้าถ่านหิน เถ้าแกลบ และเถ้าปาล์มน้ำมัน มาเป็นตัวประสานในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์จะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เท่าตัว วัสดุปอซโซลานมีสารจำพวกซิลิกา และอลูมินาปนอยู่ เมื่อนำวัสดุดังกล่าวไปเป็นตัวประสานในขั้นตอนการผลิตปูนซีเมนต์ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม สารเหล่านี้จะทำปฏิกิริยาเพิ่มเติมกับปฏิกิริยาไฮเดรชัน ทำให้ปูนซีเมนต์มีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นสามารถรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น 50 เท่า เมื่อนำปูนซีเมนต์ไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นปูนก่อ ปูนฉาบ หรือนำไปแทนที่ปูนซีเมนต์เพื่อผลิตเป็นคอนกรีต นอกจากจะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพของปูนซีเมนต์แล้ว ยังช่วยลดปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และลดพื้นที่การกำจัดทิ้งเถ้าถ่านด้วย อีกทั้งยังมีความทนทาน คงทน และต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ได้ดีกว่าการใช้ปูนซีเมนต์เพียงอย่างเดียว หากมีการพัฒนากระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ให้สามารถนำไปเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อยในชุมชนได้ เชื่อว่าจะสร้างรายได้ให้ชุมชนอีกทางหนึ่ง สำหรับผู้สนใจปูนซีเมนต์ปอร์ตโซลาน สอบถามเพิ่มเติมที่ ดร.สำเริง รักซ้อน โทร .08 - 7945 — 4133
ประสานงาน : ที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ บริษัท โอเค แมส จำกัด คุณธนพร สุขมี (แหม่ม) โทร.0-2618-7780-4 ต่อ 105 / (086) 707-4263 คุณปัจฉิมา พรมวงษ์ (นิก) โทร.0-2618-7781-4 ต่อ 115 / (089) 720-9848

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ