ฮิตาชิเปิดตัวโซลูชั่นค้นหาข้อมูลดิจิตอล แห่งศตวรรษที่ 21

ข่าวทั่วไป Wednesday July 12, 2006 17:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ก.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
ผู้นำด้านสตอเรจได้เข้าสู่ตลาด “Active Archive” พร้อมจัดการกับข้อจำกัดของยุคแรกของโซลูชั่นสตอเรจ โดยสามารถค้นหาข้อมูลได้จากส่วนกลาง ดูแลข้อมูลได้ตามนโยบาย รับรองความถูกต้อง และรักษาข้อมูลเชิงโครงสร้างและไม่เป็นโครงสร้างภายใต้กรอบการจัดการสตอเรจทั่วไป
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น หรือ เอชดีเอส ผู้ให้บริการด้านประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลครบวงจรทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเซอร์วิส หรือ เอโอเอส (Application Optimized Storage?) และเป็นธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT) เดินหน้าเข้าสู่ตลาด “ระบบการค้นหาข้อมูลแบบคล่องตัว” (active archive) ด้วยการเปิดตัว Hitachi Content Archive Platform โซลูชั่นค้นหาข้อมูลดิจิตอล (digital archiving) แห่งศตวรรษที่ 21 เนื่องจากโซลูชั่นสตอเรจที่ระบุตำแหน่งในการค้นหาข้อมูล หรือ CAS (content-addressed storage) ยุคแรกไม่สามารถทำให้เกิดเป็นมาตรฐานเดียวกันในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการรองรับในการปรับขนาดระบบให้ใหญ่ขึ้น และการป้องกันข้อมูลในระดับองค์กร ทำให้บริษัทฮิตาชิตัดสินใจเข้ามาเปลี่ยนแปลงตลาดสตอเรจในส่วนนี้ด้วยโซลูชั่น Active Archive เพื่อใช้แก้ปัญหาที่มีมายาวนาน
“เมื่อบริษัทจำเป็นต้องค้นหาและเรียกใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลัง 10 ปี ดังนั้นระบบเก็บข้อมูลไม่สามารถอยู่นิ่งกับที่ได้แล้ว จำเป็นต้องมีความคล่องตัวเกิดขึ้น ” นายแจ็ค ดอมม์ รองประธานอาวุโส ฝ่ายโซลูชั่นยุทธศาสตร์ และการพัฒนาส่วนกลางบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว และว่า “โซลูชั่น CAS ยุคแรกไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองด้านการจัดการด้านการเก็บสถิติข้อมูลและใช้ข้อกำหนดในการติดต่อกันโดยซอฟต์แวร์หรือ API (Application Programming Interface) ระหว่างแอพพลิเคชั่นเก็บข้อมูลและที่จัดเก็บข้อมูลกลาง โซลูชั่นยุคเก่าให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเนื้อหา ไม่ใช่การเข้าถึงเนื้อหา จึงยากที่จะปรับขนาดของระบบ และโยกย้ายไปใช้เทคโนโลยีอนาคตรุ่นต่างๆ อีกทั้งยังมีโซลูชั่นหลายอย่างที่สร้างระบบจัดเก็บข้อมูลทางธุรกิจที่แตกต่างกัน ทำให้บริษัทต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเมื่อระบบจัดเก็บเหล่านี้เพิ่มจำนวนขึ้นและเมื่อต้องการฟื้นฟูระบบให้รองรับกับเทคโนโลยีอนาคต โดยบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นบริษัทเดียวเท่านั้นที่มีโซลูชั่นที่สนองตอบความต้องการของผู้จัดการด้านข้อมูลสถิติและไอทีได้”
“เหตุผลพื้นฐานสามประการของการมีระบบเก็บข้อมูลก็เพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพของผลตอบแทนการลงทุนที่สูงสุดของโครงการจัดการสตอเรจ ป้องกันพนักงานไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดคดีความ และข้อมูลที่เก็บไว้ถือเป็นพื้นฐานในการสร้างรายได้ให้บริษัท (ตัวอย่างเช่น ระเบียนทางการแพทย์)” นายโรเบิร์ต พาสมอร์ รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์ กล่าว และว่า “ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของข้อมูล นโยบายด้านการจัดการเพื่อควบคุมการดูแลและฟื้นฟูข้อมูล และความสามารถในการค้นหาและเรียกใช้ข้อมูลเมื่อต้องการ”
เมื่อบริษัท ฮิตาชิปรับปรุงสตอเรจเสมือนจริงด้วยการเปิดตัว TagmaStore(R) Universal Storage Platform และบริษัท ฮิตาชิ ก็กำลังปรับปรุงระบบเก็บข้อมูลดิจิตอล ด้วยการเปิดตัว Hitachi Content Archive Platform ซึ่งเป็นโซลูชั่นระบบค้นหาข้อมูลแบบคล่องตัวในการค้นหาข้อมูลที่มีทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยสนับสนุนนโยบายที่เก็บข้อมูลหลายแหล่งทั้งแบบกระจายและรวมศูนย์ เช่น ระบบจัดการอีเมล์ ระบบไฟล์ ฐานข้อมูล แอพพลิเคชั่น และระบบจัดการเนื้อหาหรือเอกสาร โดย Hitachi Content Archive Platform จะทำให้มั่นใจได้ว่าระบบการเก็บข้อมูลของบริษัทจะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การใช้ Hitachi Content Archive Platform จะทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมระบบเก็บข้อมูลต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น การค้นหาจากส่วนกลาง การเก็บรักษาข้อมูลตามนโยบาย การรับรองความถูกต้อง และการป้องกันข้อมูลให้ปลอดภัย
อีเมล์ ภาพทางการแพทย์ของผู้ป่วย หรือข้อมูลด้านบัญชีเป็นข้อมูลสถิติดิจิตอล ที่สำคัญ ซึ่งต้องได้รับการจัดการและดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ และต้องสามารถใช้ดำเนินการทางธุรกิจได้ด้วย หลายบริษัทที่ซื้อโซลูชั่นสตอเรจที่ช่วยในการค้นหาตำแหน่งที่อยู่ของเนื้อหา (CAS) ยุคแรกไปใช้งาน พบว่าพวกเขาไม่สามารถปรับขนาดของระบบให้เพียงพอกับการเพิ่มขึ้นของไฟล์ข้อมูลเหล่านี้ และยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านการค้นหาทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบุตำแหน่งที่ตั้งและ/หรือเรียกใช้ข้อมูลในกรณีที่เกิดการฟ้องร้ององค์กรได้
“Hitachi Content Archive Platform ให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ดูแลไอทีและสตอเรจในด้านการค้นหาข้อมูลให้ทันกับความต้องการ” นายจอห์น เว็บสเตอร์ นักวิเคราะห์อาวุโสและผู้ก่อตั้งบริษัท ดาต้า โมบิลิตี้ กรุ๊ป กล่าว และว่า “ผลประโยชน์เพิ่มเติมของระบบนี้ก็คือช่วยให้ประธานฝ่ายดำเนินงาน (ซีไอโอ) ของบริษัทต่างๆ สามารถควบคุมระบบค้นหาข้อมูลแบบคล่องตัว สำหรับใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะอื่นๆ ด้านธุรกิจได้”
“จากการวิเคราะห์ของเราเกี่ยวกับ Hitachi Content Archive Platform พบว่าการรวมบริการระดับสตอเรจกับบริการเก็บข้อมูลสร้างผลประโยชน์ที่น่าพอใจให้กับลูกค้าได้” นายเดวิด โฟลเยอร์ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ไอทีเซ็นทริกซ์ กล่าว และว่า “ด้วยชุดของบริการที่สมบูรณ์และความสามารถที่รวมแอพพลิเคชั่นทั้งหลายได้โดยง่ายของฮิตาชิ โดยจากกรณีศึกษาในโรงพยาบาลที่มีระบบเก็บข้อมูลขนาด 11 เทราไบต์ บริษัทพบว่าด้วยแนวทางของบริษัท ฮิตาชิทำให้โรงพยาบาลแห่งนี้ประหยัดต้นทุนด้านไอทีได้ 92,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับโซลูชั่นที่ดีที่สุดของเดิม และเพิ่มผลประโยชน์เชิงธุรกิจมากขึ้น 2.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ”
แนวทางมาตรฐานในการเปิดใช้งานร่วมกัน
ขณะที่โซลูชั่น CAS ยุคแรกต้องการ API เฉพาะเพื่อรวมแอพพลิเคชั่นการผลิตเนื้อหาเข้ากับระบบของตัวเอง แต่ Hitachi Content Archive Platform ใช้อินเทอร์เฟซมาตรฐานแบบเปิด เช่น NFS, CIFS, WebDAV และ HTTP เช่นเดียวกับมาตรฐานการจัดการสตอเรจ เช่น SMI-S ซึ่งทำให้บริษัทประหยัดเงินในการพัฒนาและต้นทุนการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับ API เฉพาะ นอกจากนี้ Hitachi Content Archive Platform ยังเก็บไฟล์ในรูปแบบเดิมด้วยชื่อเดิมเพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเรียกใช้ข้อมูลได้ตลอดเวลา
“Hitachi Content Archive Platform เป็นตัวอย่างของแนวทางใหม่และวิธีที่ดีกว่าในการกำหนดพื้นที่ของตลาดเก็บข้อมูล” นายเดฟ เวลแลนเต้ ซีอีโอ บริษัท ไอทีเซ็นทริกซ์ กล่าว และว่า “ก่อนหน้านี้ โซลูชั่นที่มีอยู่ได้ก่อให้เกิดสตอเรจแบบปิดตายหรือยึดตามซอฟต์แวร์เป็นหลักทำให้จำกัดประสิทธิภาพและความสามารถในการปรับขนาดของระบบ แต่บริษัท ฮิตาชิสามารถสร้างระบบพื้นฐานของการเก็บข้อมูลให้เป็นแบบเปิดมากขึ้น สามารถควบคุมได้ดีขึ้น และใช้ประโยชน์ (ติดตั้ง) สินทรัพย์สตอเรจและปรับปรุงผลตอบแทนทางการเงินได้ดีขึ้นมาก”
“เมื่อระบบสตอเรจพื้นฐานล้าสมัย ทุกบริษัทจำเป็นต้องฟื้นฟูระบบเก็บข้อมูลดิจิตอล ให้ทันสมัยเพื่อให้สามารถบรรลุความต้องการด้านธุรกิจให้ได้” นายทอม เทรนเนอร์ นักวิเคราะห์อาวุโสบริษัท อีวาลู เอเตอร์ กรุ๊ป อิงค์. กล่าว และว่า “Hitachi Content Archive Platform ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จะทำให้เป็นเรื่องง่ายในด้านการดูแลรูปแบบไฟล์มาตรฐานและยังทำให้สามารถอัพเกรดและโยกย้ายระบบให้เป็นเทคโนโลยีอนาคตได้โดยง่ายและราบรื่นมากขึ้น”
นอกจากนี้ โซลูชั่น Hitachi Content Archive Platform ยังสนับสนุนระบบการจัดการข้อมูลของบริษัทต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากบริษัท ฮิตาชิได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำหลายแห่งทั้งด้านแอพพลิเคชั่น ระบบแฟ้ม การจัดการเนื้อหาองค์กร และการเก็บฐานข้อมูล ทำให้มั่นใจว่าลูกค้าจะสามารถทำงานข้ามระบบกันได้
ค้นหาข้อมูลได้อย่างทั่วถึง
“แต่เดิมแนวคิดระบบเก็บข้อมูลแบบเก่า ทั้งที่เป็นกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ มักจะถูกจัดเก็บไว้ในตู้เก็บไฟล์ที่แยกกัน” นางสาวลอรา ดูบัวส์ ผู้อำนวยการด้านวิจัย ซอฟต์แวร์สตอเรจ บริษัท ไอดีซี กล่าว และว่า “Hitachi Content Archive Platform เป็นหนึ่งในโซลูชั่นไม่กี่อย่างที่สนับสนุนระบบเก็บเนื้อหาจากแอพพลิเคชั่นที่ต่างกันได้อย่างปลอดภัย ด้วยสถาปัตยกรรมระบบค้นหาข้อมูลแบบคล่องตัว ซึ่งช่วยกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันอย่างทั่วถึงทุกแอพพลิเคชั่น”
ปรับขนาดได้ไม่จำกัด เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพ
Hitachi Content Archive Platform สามารถตอบสนองความต้องการด้านการเก็บ รักษา และค้นหาระเบียนข้อมูลดิจิตอล ที่กำลังเพิ่มจำนวนได้อย่างดีเยี่ยม โดยสามารถปรับขนาดระบบได้มากกว่า 300 เทราไบต์ และสนับสนุนแฟ้มได้มากถึง 350 ล้านไฟล์ต่อระบบเก็บข้อมูลหนึ่งระบบ อีกทั้งยังสามารถขยายระบบและเพิ่มขีดความสามารถของสตอเรจของฮิตาชิที่มีชื่อเสียง อย่าง RAID ในสถาปัตยกรรมเครือข่าย SAN และอะเรย์ของโหนดอิสระ (SAIN) ได้ โดย Hitachi Content Archive Platform มีประสิทธิภาพดีกว่าโซลูชั่น CAS ยุคแรกถึง 5 เท่า
“Hitachi Content Archive Platform เป็นหนึ่งในระบบสตอเรจ เกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล ดิจิตอล ที่น่าทึ่งที่สุดในตลาดปัจจุบันด้วยความสามารถในการปรับขนาด น่าเชื่อถือ และง่ายต่อการจัดการ” นายโทนี อาซาโร นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท เอ็นเตอร์ไพรซ์ สตราทีจี กรุ๊ป (อีเอสจี) กล่าว และว่า “ระบบพื้นฐานของฮิตาชิทำให้บริษัทสามารถขยายระบบค้นหาข้อมูลดิจิตอล ได้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยหนึ่งในแง่มุมที่สำคัญที่สุดของโซลูชั่นฮิตาชิ คือผู้ใช้สามารถเพิ่มขนาดของระบบค้นหาข้อมูลดิจิตอล ได้จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น 100 หรือ 100 ล้านแฟ้ม และสามารถจัดการได้โดยง่ายด้วย บริษัท อีเอสจีเชื่อว่าบริษัท ฮิตาชิอยู่ในตำแหน่งที่ดีมากในการเป็นผู้นำด้านระบบค้นหาข้อมูลดิจิตอล ด้วยโซลูชันชั้นเยี่ยมและด้วยชื่อเสียงที่ดี ตลอดจนความเชื่อถือที่ลูกค้ามีต่อบริษัท การให้การสนับสนุนและบริการระดับโลกที่บริษัทมี”
ลดต้นทุนระบบเก็บข้อมูลด้วยสตอเรจแบบ Virtualization
Hitachi Content Archive Platform พัฒนาบนฐานของยุทธศาสตร์ด้านการจัดเก็บข้อมูลครบวงจรทั้งส่วนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเซอร์วิส หรือเอโอเอส ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ที่ช่วยให้ข้อมูลเก่าในสตอเรจเดิมสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยง่าย และยังสามารถทำงานร่วมกับ Hitachi TagmaStore Universal Storage Platform หรือ Network Storage Controller ซึ่งเป็นชุดควบคุมสตอเรจเสมือนจริงอัจฉริยะได้อย่างดี โดยข้อมูลในระบบค้นหาข้อมูลแบบคล่องตัวสามารถถูกโยกย้ายจากดิสก์จัดเก็บราคาแพงไปไว้ในยังสตอเรจแบบ ATA หรือ SATA ที่ราคาถูกกว่าได้ และยังปรับปรุงประสิทธิภาพของแอพพลิเค- ชั่นโดยรวมให้ดีขึ้นด้วย
และด้วยชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์ และส่วนติดต่อด้านการจัดการ รวมถึงสตอเรจเก็บเนื้อหาที่มี ทำให้ลูกค้าของบริษัทฮิตาชิ จะสามารถตรวจสอบ ทำรายงาน และควบคุมโครงสร้างพื้นฐานสตอเรจแบบชั้นของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ได้ทั้งหมด รวมทั้ง Hitachi Content Archive Platform ซึ่งสามารถจัดการได้จากจุดเดียว และ ลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการ
Hitachi Content Archive Platform
Hitachi Content Archive Platform เป็นโซลูชั่นที่รวมซอฟต์แวร์ที่ผ่านการทดสอบแล้วและระบบสตอเรจเข้าด้วยกัน ดังนี้
Hitachi Content Archiver — Hitachi Content Archiver เป็นส่วนประกอบซอฟต์แวร์ที่ให้ความสามารถในการควบคุมตามนโยบาย การรับรองความถูกต้อง การดูแลและป้องกันของ Hitachi Content Archive Platform โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำงานบนเซิร์ฟเวอร์มาตรฐานของอุตสาหกรรม
Hitachi Content Archive Platform Storage — การกำหนดค่า Hitachi Content Archive Platform ในเบื้องต้นจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Hitachi TagmaStore Workgroup Modular Storage รุ่น WMS100 ซึ่งเป็นระบบสตอเรจแบบ SATA โดย Hitachi WMS100 มีขีดความสามารถสูง สามารถติดตั้งสตอเรจข้อมูลในสภาพแวดล้อมของระบบเก็บข้อมูลแบบคล่องตัวได้โดยง่าย และ WMS100 ยังรองรับความสามารถด้านการปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่ายที่จะอัพเกรด และลงทุนไม่สูงนักเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับภายใต้การดูแลที่น่าเชื่อถือของบริษัท ฮิตาชิ
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกบนวัตกรรมล่าสุดของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในตลาดระบบค้นหาข้อมูลแบบคล่องตัวไปเยี่ยมชมได้ที่ http://www.hds.com/products_services/content_archive_platform
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ มีแหล่งวิจัยและพัฒนาทั่วโลกที่พร้อมพัฒนาโซลูชั่นระบบบริหารการจัดเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ ใช้ได้ง่าย และสามารถรองรับการขยายระบบงานเพื่อให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงสุดและช่วยลดความเสี่ยงของลูกค้า จากการที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ด้วยการเลือกสรรฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการที่ดีที่สุดจากฮิตาชิและพันธมิตร ทำให้บริษัทฯ สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าโดยตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าได้
ด้วยพนักงานประมาณ 2,900 คน บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถผลักดันธุรกิจผ่านทางช่องทางจำหน่ายทั้งทางตรงและอ้อม ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน และส่วนอื่นๆ ในกว่า 170 ประเทศ และภูมิภาคต่างๆ ที่สำคัญลูกค้าของบริษัทฯ กว่า 50% อยู่ใน100 อันดับองค์กรยอดเยี่ยมของนิตยสารฟอร์จูน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชม ได้ที่เว็บไซต์ www.hds.com .
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก คือ HIT/ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว คือ 6501) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำระดับโลก ด้วยจำนวนพนักงานประมาณ 356,000 ราย โดยในปีงบประมาณ 2548 (จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549) บริษัทฯ มียอดขายรวม 9,464 พันล้านเยน (80.9 พันล้านดอลลาร์) บริษัทฯ จัดหาระบบงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการที่หลากหลายให้กับหลายภาคธุรกิจในตลาด ได้แก่ ระบบสารสนเทศ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค บริการด้านการเงินและวัสดุต่างๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของฮิตาชิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com .
Press Contacts:
ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เมรี่ แอนน์ กัลโล(408) 970-4836mary.ann@hds.com
คอร์ แอนด์ พีค ศรีสุพัฒ เสียงเย็น (662) 439- 4600Srisuput@corepeak.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ